สปสช. เปิดข้อมูลเบิกจ่ายกรณีโควิด-19 ช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย. 64 ยอดรวมค่าบริการกว่า 3 หมื่นล้านบาท พร้อมเผย 10 อันดับ รพ.ร่วมให้บริการกรณีโควิด-19 ในระบบบัตรทอง ดูแลประชาชนมากที่สุด   

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้รับมอบภารกิจสำคัญจากรัฐบาล ในการเตรียมพร้อมงบประมาณและจัดสรรเงินเพื่อดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อโควิด-19 ทั้งการบริการคัดกรอง ป้องกันและรักษาพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมา สปสช.ได้โอนงบประมาณให้กับหน่วยบริการจำนวน 1,942 แห่ง ที่ได้ร่วมให้บริการที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อโควิด-19 กับประชาชนในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 เพิ่มเติมจำนวน 31,332 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.บริการคัดกรองเชื้อโควิด-19 2.บริการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 3.บริการที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation : HI) 4.บริการที่ให้บริการวิกฤตฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 หรือ UCEP COVID-19 และ 5.หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาล

“จากความร่วมมือของหน่วยบริการทุกแห่ง ทั้งหน่วยบริการภาครัฐและเอกชน ทำให้การดูแลประชาชนในบริการโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึงแม้ในยามที่เกิดวิกฤต ซึ่งต้องขอขอบคุณ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะยังคงดำเนินต่อไป รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่อาจเกิดขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

 ทั้งนี้หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการประชาชนกรณีโควิด-19 ที่มียอดการเบิกจ่ายค่าบริการรวมสูดสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จำนวน 480,550,759 บาท 2.รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง จำนวน 463,082,776 บาท 3.รพ.มหาราชนครราชสีมา จำนวน 415,152,261 บาท 4.รพ.อุดรธานี จำนวน364,950,844 บาท 5.รพ.สมุทรปราการ จำนวน 333,245,726 บาท 6.เวิลด์เมดิคอล จำนวน 300,802,138 บาท 7.รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จำนวน 275,887,246 บาท 8.รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต จำนวน 273,049,274 บาท 9.รพ.ชลบุรี จำนวน 265,984,136 บาท และ 10.รพ.ปิยะเวท จำนวน 258,882,757 บาท  

เมื่อแยกข้อมูลประเภทบริการ บริการคัดกรองเชื้อโควิด-19 รวมเบิกจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 5,436.25 ล้านบาท โดยหน่วยบริการที่เบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.มหาราชนครราชสีมา จำนวน 160,557,550 บาท 2.รพ.นครพิงค์ จำนวน 115,921,075 บาท 3.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี จำนวน 106,389,780 บาท 4.รพ.หนองคายวัฒนา จำนวน 70,709,940 บาท 5.รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ จำนวน 66,610,050 บาท 6.รพ.สระแก้ว จำนวน 66,394,910.00 บาท 7.รพ.สมุทรปราการ จำนวน 61,491,120 บาท 8.รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 61,491,120 บาท 9.รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จำนวน 57,951,216 บาท และ 10.รพ.บุรีรัมย์ จำนวน 56,754,150 บาท

บริการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 รวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 16,988.32 ล้านบาท  หน่วยบริการที่เบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.อุดรธานี จำนวน 327,941,723 บาท 2.รพ.สมุทรปราการ จำนวน 268,445,109 บาท  3.รพ.มหาราชนครราชสีมา จำนวน 252,539,571 บาท 4.รพ.ชลบุรี จำนวน 241,796,399 บาท 5.รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จำนวน 238,284,181.68 บาท  6.รพ.พระปกเกล้า จำนวน 185,658,873 บาท 7.รพ.ระยอง จำนวน 177,454,568 บาท 8.รพ.สิชล จำนวน  166,994,980 บาท 9.รพ.เจ้าพระยายมราช จำนวน 143,508,853 บาท และ10.รพ.ระแงะ จำนวน 134,384,818 บาท

บริการที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation : HI) รวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 892.90 ล้านบาท หน่วยบริการที่เบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.พบพระ จำนวน 31,901,170 บาท 2.รพ.ดำเนินสะดวก จำนวน  27,599,030 บาท 3.รพ.ธัญบุรี จำนวน 24,863,010 บาท 4.รพ.กระทุ่มแบน จำนวน 23,379,110 บาท 5.รพ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 21,742,450 บาท 6.รพ.กบินทร์บุรี จำนวน 17,030,610 บาท 7.รพ.โป่งน้ำร้อน จำนวน 16,734,390 บาท 8.รพ.วชิระภูเก็ต จำนวน 14,915,586 บาท 9.รพ.ถลาง จำนวน 14,473,550 บาท 10.รพ.ท่าสองยาง จำนวน 11,755,090 บาท

บริการที่ให้บริการวิกฤตฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 หรือ UCEP COVID-19 รวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 7,917.06 ล้านบาท หน่วยบริการที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง จำนวน 461,893,586 บาท 2.รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จำนวน 461,847,304 บาท 3.รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต จำนวน 261,531,454 บาท 4.รพ.เวิลด์เมดิคอล จำนวน 260,654,798 บาท 5.รพ.ปิยะเวท จำนวน 225,993,474 บาท 6.รพ.ธนบุรี-ชุมพร จำนวน 205,520,046 บาท 7.รพ.การุญเวช ปทุมธานี จำนวน 198,418,752 บาท 8.รพ.ราชพฤกษ์ ขอนแก่น จำนวน 197,455,052 บาท 9.รพ.ศิครินทร์หาดใหญ่ จำนวน 179,881,649 บาท 10.รพ.พระราม 2 จำนวน 170,048,519 บาท

นอกจากนี้ยังมีหน่วยบริการที่ร่วมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาล รวมเบิกจ่ายค่าบริการทั้งสิ้นจำนวน 97.79 ล้านบาท หน่วยบริการที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.สถาบันโรคผิวหนัง จำนวน  1,860,360 บาท 2.รพ.แพทย์รังสิต จำนวน 1,597,920 บาท 3.รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จำนวน 1,131,560 บาท 4.รพ.ปิยะเวท จำนวน 995,480 บาท 5.รพ.จุฬารัตน์ระยอง จำนวน 814,000 บาท 6.รพ.จุฬาภรณ์ จำนวน 805,760 บาท 7.รพ.ขอนแก่น จำนวน 788,000 บาท 8.รพ.สมุทรปราการ จำนวน 596,280 บาท 9.รพ.พญาไทศรีราชา จำนวน 594,360 บาท 10.รพ.สมุทรสาคร จำนวน 594,160 บาท

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org