นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.สาธารณสุข) วุฒิสภา ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุด ถึง “นายกรัฐมนตรี” เรื่องขอให้ยับยั้งการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2564

​โดยหนังสือฉบับนี้ ได้ระบุไว้ว่า.....

ด้วยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับ การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งคณะกรรมาธิการให้มีการดําเนินการพิจารณาศึกษาและติดตามการดําเนินการดังกล่าวมาอย่าง ต่อเนื่อง พบว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนด เร่งรัดให้มีการถ่ายโอน รพ.สต. สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไป อบจ. สําหรับ รพ.สต. ที่ยื่นความประสงค์ จํานวน ๓,๐๓๖ แห่ง ซึ่งจากการประเมินของ อบจ. ที่ยื่นขอรับการโอนถ่ายจํานวน ๔๙ แห่ง โดยมี

หลักเกณฑ์ก้าหนดให้โอนถ่ายอย่างน้อยอําเภอละ 2 แห่งสําหรับ อบจ. ผ่านที่เกณฑ์ประเมินระดับดี อําเภอละ ๒ แห่งสําหรับ อบจ.ที่ผ่านเกณฑ์ดีมาก และทุกแห่งสําหรับ อบจ. ที่ผ่านเกณฑ์ดีเลิศ โดยกําหนดให้วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นวันสุดท้ายในการยื่นเอกสาร สําหรับ รพ.สต. ที่ไม่ประสงค์ ถ่ายโอน เพื่อให้ทันการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖) นั้น คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข พิจารณาเห็นว่า การรวบรัดการดําเนินการดังกล่าว อาจสร้างปัญหาต่อระบบสาธารณสุขในอนาคตด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

1. บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะถ่ายโอนยังไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอ ในการตัดสินใจ และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่ได้พิจารณาประชุมในเรื่องนี้

2. พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ กําหนดให้มีแผนและขั้นตอน แต่การถ่ายโอนไป อบจ. ครั้งนี้เป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากในการถ่ายโอนที่ผ่านมา ๕๓ แห่ง ก่อนรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นการถ่ายโอน รพ.สต. ไปองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) และเทศบาลเท่านั้น จึงไม่มีแผนและขั้นตอนการถ่ายโอนไป อบจ. ให้บุคลากรด้านสาธารณสุขรับทราบแต่อย่างใด

3. หลังจากปี ๒๕๕๒ มีพระราชบัญญัติออกมาใช้บังคับอีกหลายฉบับทั้งพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔๕ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพ ปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๒๒ มีการเปลี่ยนแปลงและแนวคิดด้านกระจายอํานาจหลายประการแตกต่างจากแนวคิด ปี ๒๕๔๒ จึงต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทุกฉบับโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ

4. ระบบสาธารณสุขและเครือข่ายสาธารณสุขในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมทั้งระบบสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ ในพระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๒๒ มีลักษณะเป็นพวงบริการและมีระบบส่งต่อผู้ป่วยไประหว่างเครือข่าย ไม่ได้มีลักษณะ Stand alone เหมือนบริการสาธารณะอื่น

5. ระบบสาธารณสุขมีการวางรากฐานและการพัฒนาเป็นขั้นตอนมาอย่างยาวนาน ร่วม ๑๐๐ ปี ทั้งสาธารณสุขมูลฐาน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สุขศาลา สถานีอนามัย รพ.สต. และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) จนสร้างระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่งเป็นประโยชน์ ต่อประชาชน เคยขึ้นถึงอันดับ 6 ของโลกมาแล้ว

6. การจัดสรรงบอุดหนุนจากท้องถิ่นมาสมทบเป็นสิ่งที่ดี ทําให้ รพ.สต. ได้งบประมาณ เข้ามาเติมในระบบ แต่ควรคํานึงถึงระยะยาวว่า อาจเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินหรือไม่ เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพียง ๘ ปี ท้องถิ่นให้งบอุดหนุนเพิ่มมากถึง ๒๒๖ ล้านบาท สําหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนเพียง ๕๑ แห่ง

7. การถ่ายโอน รพ.สต. เป็นนโยบายสาธารณะที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประชาชน จึงสมควรดําเนินการอย่างรอบคอบเป็นขั้นตอน ผ่านการวิจัยและทดลองไปตามลําดับขั้น

8. การกระจายอํานาจเป็นหลักการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและทําให้มีส่วนร่วม แต่การกระจายอํานาจมีหลายวิธี ไม่ใช่เพียงการถ่ายโอนเท่านั้น เช่น ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖ด ที่กําหนดให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อําเภอ (พชอ.) และการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตําบล (พชต.) หรือการปฏิรูปประเทศตาม ยุทธศาสตร์ชาติที่ทดลองให้มีเขตสุขภาพในพื้นที่นําร่องใน ๔ เขตภูมิภาค กระจายทั่วประเทศ ประชาชน ได้รับประโยชน์ และอยู่ในระหว่างดําเนินการของกระทรวงสาธารณสุขในขณะนี้

9. นโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง สมควรทําประชามติหรือ สอบถามประชาชนโดยตรงว่า เห็นด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่มีการดําเนินการในขณะนี้

๑๐. ระบบสุขภาพปฐมภูมิมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วในการควบคุมการระบาดของ โรค Coid-๑๙ และในอนาคตอาจมีการระบาดของโรคระบาดใหม่ที่อาจมีความรุนแรงกว่าเดิม ต้องอาศัยเครือข่ายของระบบสาธารณสุขที่จะต้องทํางานประสานกันเหมือนปัจจุบัน ซึ่งไม่ควรแยกจากกัน เพราะอาจสร้างปัญหาเหมือนกรุงเทพมหานครดังที่ผ่านมา

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมาธิการจึงขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาจัดให้มี คณะกรรมการศึกษากรณีดังกล่าวให้รอบคอบ ก่อนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งจะเป็นการดําเนินการอย่างรวบรัดจนทําให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในลักษณะที่ยากต่อ การแก้ไขต่อไป

 

 

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org