องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ ออกประกาศคนหายป่วยโควิด-19 กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ-ไม่ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำ พร้อมแนะนำให้ปฏิบัติตนตาม แนววิถีชีวิตใหม่เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

ประกาศร่วม องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ เรื่อง การกลับเข้าสู่สังคมของผู้ป่วยโควิด 19 หลังครบกําหนดรักษาหรือกักตัว เพื่อให้มีการปฏิบัติในแนวทางเดียวกันในการกลับเข้าสู่สังคมของผู้ป่วยโควิด 19 หลังครบกําหนดการรักษาหรือกักตัว องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ 5 องค์กร ได้เรียนชี้แจงแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกท่าน เพื่อความเข้าใจที่ ถูกต้อง และช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 ตลอดจนสังคมส่วนรวม ไต้กลับเข้าสู่การดํารงชีวิตอย่างปกติโดยเร็ว ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 แล้ว บัดนี้มีการปรับลดระยะเวลากักตัวตามข้อมูลปัจจุบันโดยกรมการแพทย์ องค์กรวิชาชีพฯ จึงขอประกาศแก้ไขคําแนะนําให้ สอดคล้องกัน ดังนี้

1. ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล หรืออยู่พักรักษาตัวที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ หลังจากมีอาการหรือหลังจากการตรวจ FT-PCR ได้ผลบวก ที่กําหนดไว้เป็นเวลา 10 วัน ในกรณีไม่มีอาการหรืออาการน้อย และ 20 วัน ในกรณีมีอาการรุนแรงหรือ ภูมิคุ้มกันต่ํา ถือว่าเป็นระยะเวลากักตัว เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ผู้ติดเชื้อจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่จัดขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

2. ข้อมูลจากการศึกษาอย่างกว้างขวางบ่งชี้ว่า ระยะเวลาการกักตัวหลังจากมีอาการหรือหลังจากการตรวจ RT-PCR ได้ ผลบวก เพียง 10 วันก็เพียงพอหากอาการไม่รุนแรงหรือไม่ใช่ผู้ติดเชื้อภูมิคุ้มกันต่ํา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันต่ํา ให้กัก ตัว 20 วัน ซึ่งในกรณีหลัง ผู้ติดเชื้อมักจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในห้องแยกในโรงพยาบาลนานกว่านั้น ดังนั้นเมื่อได้รับ อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ทั้งหมดจึงจัดเป็นผู้ที่พ้นระยะเวลาการแพร่เชื้อแล้ว ไม่ต้องกักตัวต่ออีก ตามแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อ โควิต-19 ในประเทศไทย

3. การศึกษาในต่างประเทศ และในประเทศไทย พบว่า เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาหรือกักตัวตามระยะเวลาดังกล่าวแล้ว กลับไปอยู่ที่บ้านและใช้ชีวิตทางสังคมตามปกติ ไม่ปรากฏว่ามีการติดเชื้อในบุคคลรอบข้างหรือการระบาดของโรคที่มีต้นตอมา จากผู้ติดเชื้อเหล่านี้เลย

4. การตรวจ RT-PCR จากการป้ายจมูกหรือใช้น้ําลายเป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ สามารถตรวจพบได้ในผู้ที่เพิ่ง จะมีการติดเชื้อ ไปจนกระทั่งอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากผู้ติดเชื้อหายจากโรคแล้ว เมื่อทําการเพาะเชื้อ (culture) ซึ่งเป็นการ ตรวจว่ายังมีตัวเชื้อที่แบ่งตัวและก่อโรคได้หรือไม่ พบว่าผู้ติดเชื้อมีอาการหรือได้รับการตรวจพบว่าติดเชื้อมานานเกินกว่า 10 วัน จะเพาะเชื้อไม่ขึ้น แม้ว่าจะยังตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้ออยู่ จึงมีการใช้คําว่า สิ่งที่ตรวจพบคือ “ซากเชื้อ” ซึ่งไม่สามารถทํา อันตรายได้ ดังนั้น การตรวจ RT-PCR ซ้ํา เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับการวินิจฉัยแล้วหรือพ้นระยะแพร่เชื้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงไม่มี ประโยชน์ใด ๆ และองค์กรทางการแพทย์ทั่วโลกก็แนะนําว่าไม่ต้องทํา เช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในแนวทางการรักษาโควิด-19 ของ กระทรวงสาธารณสุข

5. การตรวจหาโปรตีนของไวรัส ที่เรียกกันทั่วไปว่า ATK (Antigen Test Kit) เหมาะสําหรับการตรวจคัดกรองผู้ที่มีประวัติ สัมผัสโรคและมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโควิด-19 ไม่ใช้ในการตรวจเพื่อยืนยันว่าผู้ติดเชื้อนั้นหายจากโรคหรือไม่มีเชื้อแล้ว

 

ทาง แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มีคำแนะนำร่วมกันว่า

1. เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาหรือกักตัวหลังจากมีอาการหรือหลังจากการตรวจ RT-PCR ได้ผลบวก ครบ 14 วัน หรือ 21 วันกรณีมีอาการรุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำอย่างมาก (เช่น ได้รับยากดภูมิขนาดสูง) และได้รับอนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ผู้นั้นจะไม่มี การแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น จึงไม่จำเป็นต้องกักตัวต่อ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยแนะนำให้ปฏิบัติตนตาม แนววิถีชีวิตใหม่เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

2. ไม่ต้องทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นภาระทั้งด้านเวลาและการเงินของ บุคคล/หน่วยงาน และเป็นอุปสรรคต่อการกลับไปใช้ชีวิตทางสังคมตลอดจนการประกอบอาชีพอย่างปกติ องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนในสังคม ปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อที่หายจากโรคแล้ว ด้วยความเข้าใจที่ ถูกต้อง มีเมตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจ กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org