จากกรณีที่เคยมีการเผยแพร่ข้อมูล แนะนำให้ประชาชนทานผัก ผลไม้ สมุนไพร 3 กลุ่ม เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันร่างกาย สู้ไวรัสโควิด-19 ได้มีการตีความและนำเนื้อหาจากข้อมูลดังกล่าวอย่างผิด ๆ ไปแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงได้ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูลจากรายงานการศึกษาวิจัยต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักผลไม้เพื่อการดูแลตัวเองให้แข็งแรงในช่วงโรคระบาด โดยแบ่งพืชผักสมุนไพรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน 2. กลุ่มผักผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง และ 3. กลุ่มที่มีสารสำคัญที่น่าจะมีมีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการวิจัยเบื้องต้น
จากการศึกษาโดยการจำลองการจับกันของไวรัสกับตัวรับในคนโดยใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์(molecular docking) ข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 15/03/25631,2 ได้แนะนำผัก ผลไม้ สมุนไพร 3 กลุ่มที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันร่างกาย สู้ภัยไวรัส โควิด-19 เป็นการดูแลสุขภาพและการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น พืชผักสมุนไพรและผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือที่อุดมไปด้วยวิตามินซีหรือสารต้านอนุมูลอิสระ หรือมีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการลดการติดเชื้อไวรัสได้ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจจากโรค โควิด-19 ได้แก่
- กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน มีพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดที่แม้จะไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 แต่พบว่ามีรายงานว่ามีเกี่ยวกับการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดี ได้แก่ พลูคาว (ผักคาวตอง) เห็ดต่าง ๆ ตรีผลา ขิง ข่า กระเทียม
- กลุ่มผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง
- ผักที่มีวิตามินซีสูง มีรายงานการศึกษาที่พบว่าผัก 10 ชนิดที่มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อไวรัสได้ ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ฟักข้าว คะน้า ยอดสะเดา มะระขี้นก ผักเชียงดา มะรุม ผักแพรว
- ผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง ได้แก่ มะขามป้อม ผลไม้มีสีต่าง ๆ
3. กลุ่มที่มีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากรายงานการศึกษาภาพจำลองโครงสร้าง 3 มิติ (molecular docking) ของสารสำคัญจากสมุนไพรในการจับกับตัวรับไวรัสในทางเดินหายใจ (ช่วยป้องกันไวรัสเข้าเซลล์) และการจับกับโปรตีนที่จำเป็นต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส (ช่วยป้องกันการแบ่งตัวของไวรัส) ได้แก่ พลูคาว (ผักคาวตอง) ผลไม้ตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า) หอมแดง มะรุม หม่อน ขมิ้นชัน กะเพรา ธัญพืช
เมื่อวิเคราะห์สูตรยาทั้ง 2 สิ่งที่เหมือนกันคือ พืชสมุนไพร ได้แก่ กะเทียม หอมแดง ขมิ้นชัน ซึ่งเป็นพืชที่มีน้ำมันระเหยง่ายเป็นองค์ประกอบซึ่งมีสรรพคุณในการต้านไวรัส นอกจากนี้การมีน้ำมันมะพร้าวเป็นกระสายยา พบว่าสารออกฤทธิ์ของน้ำมันมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อไวรัส คือ สาร monolaurin ซึ่งเป็นสาร active metabolite ของกรดลอริก ที่สามารถยับยั้งบริเวณ enveloped ssRNA virus ของ avian influenza virus และ Simean immunodeficiency virus ได้ ซึ่งการศึกษาทั้งในระดับหลอดทดลองโดยทดสอบกับเชื้อไวรัสที่มีโครงสร้างคล้ายกับไวรัสโคโรน่าเท่านั้น ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ดังนั้นจึงให้ข้อสรุปว่า เป็นการแชร์ข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน เพราะสูตรยาทั้ง 2 ชนิด ประกอบด้วยสมุนไพรขมิ้นชัน และกระเทียมที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ปกป้องปอด และหอมแดงซึ่งช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง อาจช่วยให้อาการของผู้ป่วยโควิด-19 ดีขึ้น หรือช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสามารถหายจากโรคได้ไวขึ้น อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถใช้เป็นยารักษาโรค โควิด-19 ได้ เนื่องจากต้องมีข้อมูลการศึกษาวิจัยในคนจำนวนมากเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลการรักษาก่อนเข้าสู่กระบวนการขึ้นทะเบียนเป็นยาต่อไปได้ ดังนั้น วิธีการดังกล่าว เป็นการใช้สมุนไพรในการบรรเทาอาการตัวเองเบื้องต้น ซึ่งเป็นวิธีทางเลือกที่เสริมการรักษาหลักเท่านั้น
ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพรฯ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
อ้างอิง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- 865 views