สื่อหลายฉบับได้แผยแพร่ประโยคคำพูดของแพทย์ Hugo Pizzi ผ่านรายการวิทยุ Radio Con Vos กล่าวว่า “บุคคลที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 หากได้รับการฉีดวัคซีนจนหายดีแล้ว พวกเจาจะแอนติบอดีที่เสถียร อีกทั้งสามรถสร้างแอนติบอดี้ได้ มีผลการศึกษาจำนวนมากที่สนับสนุนแนวทางนี้ และยังคงมีภูมิคุ้มกันถาวร ไม่ต้องทนรับความทุกข์ทรมานจากโรคนี้อีกต่อไป”
หลักจากนั้นมีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาชี้แจงคำพูดของเขาที่พูดถึง "ภูมิคุ้มกันถาวร" และ "โดยอนุมานจากการศึกษาที่มีอยู่ว่าสามารถกลายเป็นภูมิคุ้มกันถาวรได้” แต่ในความเป็นจริงแล้วเรารู้ได้อย่างไรเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่วัคซีนสร้างขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เคยเป็นโรคนี้และได้รับวัคซีนแล้ว และภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานแค่ไหนหลังจากฉีดวัคซีน
กระนั้น การแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้ได้ทิ้งข้อเท็จจริงที่แน่นอนไว้บ้างแล้ว แต่ยังมีคำถามอีกมากที่ต้องการคำตอบ เป็นที่ทราบทั่วกันว่าวัคซีนไวรัสโคโรน่าทั้งหมดสร้างการตอบสนองภูมิคุ้มกันในคน ทั่วโลกมีการตั้งข้อสังเกตว่าการฉีดวัคซีน 2 โด๊ส ให้การป้องกันที่สูงมากต่ออาการเจ็บป่วยร้ายแรง การรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ทราบว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน และจำเป็นต้องให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับการฉีดวัคซีนในปัจจุบันหรือไม่ “ระยะเวลาของภูมิคุ้มกันจนถึงขณะนี้ได้รับการประเมินเชิงประจักษ์ในระยะเวลาที่จำกัด มีการศึกษาที่ติดตามผลเป็นเวลา 6 เดือนทั้งในช่วงเวลาของการติดเชื้อตามธรรมชาติและในกรณีของการฉีดวัคซีน ” Chequeado Víctor Romanowski รองประธานสมาคมไวรัสวิทยาแห่งอาร์เจนตินาอธิบาย
มีการศึกษาหลายชิ้นที่มีการประมาณการว่า การตอบสนองของภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนจะคงอยู่นานเท่าใด แต่สิ่งเหล่านี้เป็นการคาดคะเนหรือการศึกษาที่แม่นยำโดยใช้เวลาติดตามผลสั้น ๆ เมื่อดูการศึกษาในการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของไวรัสโคโรน่า ผู้เชี่ยวชาญตั้งสมมติฐานว่าภูมิคุ้มกันป้องกันของวัคซีนจะมีอายุอย่างน้อย 6-8 เดือน แต่ในขณะเดียวกันการศึกษาอาจเป็นกำลังใจ แต่ก็ไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันจากวัคซีน "การคาดการณ์โดยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้วยข้อมูลการทดลอง และไม่มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบในเวลาที่นานขึ้น แม้ว่าไม่มีข้อมูลเหล่านี้นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าภูมิคุ้มกันวัคซีนจะมีอายุสั้น เราไม่สามารถยืนยันในแง่ลบได้แต่ก็ไม่สามารถยืนยันด้วยแง่บวกได้” Romanowski อธิบาย
ในทางกลับกัน Jorge Geffner ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Buenos Aires (UBA) และนักวิจัยที่ Conice tอธิบายกับ Chequeado ว่าเมื่อบุคคลได้รับการฉีดวัคซีน ระดับของแอนติบอดีจะลดลงในช่วงหลายเดือน ถึงแม้ว่าแอนติบอดีเหล่านี้จะหายไป แต่ก็ยังคงมีระดับการป้องกันในเซลล์หน่วยความจำ B ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในไขกระดูก
“แต่เราไม่รู้ว่ามันปกป้องหน่วยความจำนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หากยังคงปกป้องคุณด้วยประสิทธิภาพ 90% ได้จะดีมาก แต่ถ้าประสิทธิภาพอยู่ที่ 20% นั้นคงไม่ดีนัก และเรายังไม่มีข้อมูลนั้น” Geffner กล่าว
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งในการทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกับลักษณะที่ปรากฏของสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง Geffner ตั้งข้อสังเกตว่า ในปัจจุบันสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ แพร่องค์ประกอบของความซับซ้อนอย่างมีนัยสำคัญ สายพันธุ์อัลฟ่า (ตรวจพบในสหราชอาณาจักร) สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า แต่ไม่สามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้ สายพันธุ์แกมมา (มาเนาส์ บราซิล) สามารถหลบเลี่ยงเพียงเล็กน้อย และเดลต้า (อินเดีย) สามารถหลบเลี่ยงได้มาก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องห้ามเข้าประเทศ" ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
ในส่วนของเขา นักภูมิคุ้มกันวิทยา Otto Pritsch จากสถาบัน Pasteur ใน Montevideo ประกาศผ่านช่องทางการขององค์การอนามัยแพนอเมริกัน (PAHO) ว่า “เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าวัคซีนจะปกป้องเราได้นานแค่ไหน มีข้อมูลเชิงบวกมากเกี่ยวกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนเหล่านี้ ชนิดของแอนติบอดีที่ต่อต้านไวรัสหรือ T lymphocytes ที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อซึ่งได้สร้างภูมิคุ้มกันแสดงระยะเวลา 8 เดือนขึ้นไปหรื่อมากว่า ทำให้คิดว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ภูมิคุ้มกันถึง 1 ปี”
“ปัจจุบัน การวิจัยยังคงกำหนดระยะเวลาของภูมิคุ้มกัน (การป้องกัน) ที่สร้างขึ้นหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้การประเมินการป้องกันของวัคซีนเหล่านี้กับใหม่สายพันธุ์ SARS-CoV-2 เราก็จะได้คำตอบนี้พร้อมคำถามอื่น ๆ เนื่องจากมีการศึกษาเพิ่มเติมจากในประชากรที่ได้วัคซีน ซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนประจำปีหรือในช่วงเวลาต่าง ๆ " PAHO อธิบายบนเว็บไซต์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการปรึกษาโดย Chequeado เห็นด้วยว่ามีการศึกษาที่น่าสนใจ แต่ระยะเวลายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากต้องใช้เวลามากขึ้นกว่านี้ในการศึกษาทดลองภูมิคุ้มกันของวัคซีน
เมื่อนำมาพิจาณณาควบคู่กับความรู้เรื่องภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจากคนที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว ในผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาโดยวารสาร Nature นักวิจัย ระบุเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีที่มีอายุการใช้งานยาวนานในไขกระดูกของผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 และในการศึกษาที่ตีอื่น ๆ (งานวิจัยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ) เปิดเผยว่าการฉีดวัคซีนจะเพิ่มแอมพลิจูดการทำให้เป็นกลางตามธรรมชาติของเชื้อ SARS-CoV-2 หนึ่งปีหลังการติดเชื้อ
Eloísa Arana นักชีวเคมีและอณูชีวิทยา ปริญญาเอก จาก Conicet เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา อธิบายว่า "สามารถสันนิษฐานได้ว่าการติดเชื้อแล้วหายเองตามธรรมชาติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ยืนยาวกว่าการรับวัคซีนเพียงตัวเดียว เพราะการติดเชื้อตามธรรมชาติมักเป็น 'แผลเป็นที่สำคัญ' สำหรับระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าวัคซีน"
“ระดับของแอนติบอดีที่วัดได้ในผู้ที่ได้รับวัคซีนหลังจากมีการติดเชื้อนั้นสูงมาก สูงกว่าคนที่ได้รับวัคซีนเพียงอย่างเดียวมาก ตอนนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังคงปรากฏให้เห็นและไม่สามารถคาดเดาได้” Arana กล่าว
ในระดับท้องถิ่น สิ่งนี้ถูกเปิดเผยโดยการศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจากมูลนิธิ Leloir โดยหัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล Andrea Gamarnik และ Geffner ก็เข้าร่วมด้วย ผลการศึกษาเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่วัคซีน Sputnik V (สปุตนิก วี) ระบุว่า “ปริมาณแอนติบอดีในผู้ที่ติดเชื้อก่อนหน้านี้ที่ได้รับวัคซีนสปุตนิก วี ครั้งเดียวนั้นสูงกว่าอาสาสมัครที่ไม่มีการติดเชื้อครั้งก่อนซึ่งได้รับกำหนดการฉีดวัคซีนถึง 4.6 เท่า จำนวน 2 โดส”
เช่นเดียวกันกับ การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Córdoba ซึ่ง Pizzi ได้เข้าร่วมด้วย แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มบุคคลที่ติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีนและด้วยวัคซีนสปุตนิกครั้งแรก และครั้งที่สอง จากมุมมองของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อาศัยสารน้ำ และโดยเฉพาะสำหรับการผลิตแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติเป็นกลางในการต่อต้านเชื้อไวรัส” ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการให้วัคซีนเข็มที่สองแก่ผู้ที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อไวรัสมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลสรุปเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกัน “ขณะนี้เราไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันจะคงอยู่ได้นานถึง 1 ปี 2 ปี หรือมากกว่านั้น ถ้าคุณติดเชื้อแล้วเข้ารับการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องสังเกตมันอย่างต่อเนื่อง” Geffner ชี้แจง
แหล่งที่มา chequeado
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
- 4573 views