โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ทบทวนเอกสารข้อมูลการใช้ประโยชน์จากวัคซีนโควิด19 ในการสนับสนุนการเดินทางระหว่างประเทศ “วัคซีนพาสปอร์ต”
การเดินทางระหว่างประเทศสำหรับผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มให้วัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชนของตนเองและเชื่อว่า วัคซีนโควิด-19 จะสามารถทำให้ สังคมโลกกลับมามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เหมือนเดิมอีกครั้ง การเดินทางระหว่างประเทศเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยวนับเป็น กิจกรรมสำคัญในระบบเศรษฐกิจของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเริ่มการให้วัคซีนแล้ว เอกสารนี้เป็นการทบทวนให้เห็น แนวทางการใช้ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 ในการสนับสนุนการเดินทางระหว่างประเทศ ประเด็นท้าทายของการดำเนิน มาตรการดังกล่าว การดำเนินมาตรการหรือความพยายามของประเทศต่าง ๆ ในเรื่องนี้ และสิ่งที่ทีมวิจัยของโครงการประเมิน เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กำลังดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยนี้ ศัพท์และนิยาม: มีศัพท์สำคัญสองคำที่ใช้สำหรับมาตรการยืนยันว่าบุคคลใด ๆ ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างครบถ้วนซึ่งน่าจะส่งผล ต่อการป้องกันการติดเชื้อหรือป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงตามคุณสมบัติของวัคซีนนั้น ๆ คือ vaccine passport และ vaccine certificate ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยในด้านการใช้งาน
กล่าวคือ vaccine passport นั้นคาดหมายว่าประเทศอื่น ๆ จะให้การยอมรับและปฏิบัติต่อผู้ถือ vaccine passport เหมือน ๆ กัน ขณะที่ vaccine certificate นั้นแต่ละประเทศอาจมีแนวทาง ปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามข้อตกลงของแต่ละหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศนั้น การที่นโยบายนี้เป็นเรื่องใหม่และไม่น่าจะหา ข้อสรุปเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติแบบเดียวกันได้ในหลายประเทศในช่วงเวลาอันสั้น ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าประเทศไทยอาจต้อง เริ่มนโยบายในรูปแบบของ vaccine certificate ไปก่อนอย่างน้อยในขั้นต้น ประเด็นท้าทาย: จนถึงปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังไม่สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มีมาตรการในลักษณะนี้ด้วย ๔ เหตุผลสำคัญ คือ
๑) ด้านวิชาการ ได้แก่ การที่ยังขาดข้อมูลคุณประโยชน์ของวัคซีนในแง่การป้องกันการติดเชื้อ เพราะวัคซีนที่ได้รับการรับรอง ในประเทศต่าง ๆ และองค์การอนามัยโลกต่างแสดงเฉพาะประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงเท่านั้น ประกอบกับการ ที่ยังไม่ทราบว่าวัคซีนออกฤทธิ์ได้นานเพียงใดและอาจเกิดไวรัสกลายพันธุ์ที่วัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ทุกเมื่อ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการแพทย์ทั่วโลกยังไม่สนับสนุนมาตรการดังกล่าว
๒) จริยธรรม เนื่องจากวัคซีนยังขาดแคลนเป็นอย่างมาก ประเทศกำลัง พัฒนาส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนอย่างเพียงพอ การมีมาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคและกลายเป็นปัญหา ทางสังคม เช่น การแก่งแย่งเพื่อให้ตนเองได้รับวัคซีนก่อนคนที่จำเป็นมากกว่าเพราะต้องการประโยชน์ด้านการเดินทางระหว่าง ประเทศ เป็นต้น
๓) ด้านกฏหมายระหว่างประเทศ ซึ่งในข้อตกลงฉบับล่าสุดประเทศต่าง ๆ ต้องไม่จำกัดการเดินทางระหว่าง ประเทศด้วยเหตุว่าบุคคลนั้น ๆ ได้รับวัคซีนหรือไม่ ยกเว้นในกรณีเดียวคือ การรับวัคซีนไข้เหลือง
๔) ด้านเทคนิค ซึ่งยังไม่มี ข้อตกลงเรื่องข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อยืนยันและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การที่มีการใช้วัคซีนหลายชนิด โดยบางชนิด ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบางประเทศ ทำให้ประเทศนั้น ๆ อาจไม่ยอมรับถึงแม้บุคคลนั้นจะได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนแล้วก็ตาม
ดังรายละเอียดเพิ่มเติมในรูปด้านล่าง การดำเนินการในปัจจุบัน: จากการทบทวนข้อมูลหลายแหล่ง ทีมวิจัยพบว่ามีอย่างน้อย ๑๓ ประเทศที่มีระบบ vaccine certificate แล้ว โดยประเทศอิสราเอลเป็นประเทศเดียวที่เริ่มดำเนินมาตรการนี้ภายในประเทศและกำลังเจรจาข้อตกลงกับ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรีซ สำหรับการเดินทางข้ามพรมแดน ขณะเดียวกันมี ๑๐ ประเทศและอีกหนึ่งกลุ่มประเทศที่อยู่ระหว่าง การพิจารณามาตรการนี้ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง สิ่งที่ทีมวิจัยจะทำต่อไป: ทีมวิจัยกำลังดำเนินการร่วมกับทีมวิจัยอีก ๑๐ ประเทศในอาเซียนและจากประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี ใต้ เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันได้ เพื่อใช้ประโยชน์จาก vaccine certificate สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ โดย ให้ความสำคัญทั้งการเดินทางทางอากาศ ทางบกและทางน้ำ ซึ่งจะพัฒนาหลักเกณฑ์โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านการแพทย์และ สาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและจริยธรรม นอกจากนี้ยังรวบรวมรายละเอียดแนวทางปฏิบัติของแต่ละประเทศเพื่อ เผยแพร่อย่างทันสถานการณ์เพราะองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาและวัคซีนโควิด-19 เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้นโยบายของ แต่ละประเทศต้องปรับเปลี่ยนไป ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและเอกชนในการนำไปใช้วางแผนดำเนินการ
- 241 views