ศบค.เผยแผนกระจายวัคซีนโควิด19 ล็อตแรก 2 แสนโดส แบ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรวม 13 จังหวัดกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย ผู้ที่มีโรคประจำตัว และประชาชนทั่วไปและแรงงาน
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 23 ก.พ. 2564 ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล COVID-19 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า สำหรับแผนกระจายวัคซีนโควิด19 โดยท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สธ. ได้มอบหมายให้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอแผนต่อที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยหลักต้องเป็นไปตามนโยบายให้ทุกคนในประเทศไทยต้องได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการป่วยและตาย เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายในการรับวัคซีนจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 กำหนด 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่อยู่ด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน 2.บุคคลที่มีโรคประจำตัว คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 3.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องการควบคุมโรคโควิด19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
ส่วนกลุ่มเป้าหมายระยะที่ 2 จะเป็นกลุ่มเป้าหมายระที่ 1 และมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆที่นอกหนือจากด่านหน้า ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา ผู้ที่เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบินลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ ประชาชนทั่วไป นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ
โดยแผนการจัดหาวัคซีนโควิดประเทศไทยปี 2564 แบ่งออกเป็น วัคซีนซิโนแวค จำนวน 2 ล้านโดสเดือน ก.พ.-เม.ย.2564 วัคซีนแอสตราเซเนกา 6 ล้านโดส เดือน มิ.ย.-ส.ค.2564 และวัคซีนแอสตราฯ อีก 35 ล้านโดส เดือนก.ย.-ธ.ค.64 โดยวัคซีนล็อตแรกของซิโนแวคจำนวน 2 แสนโดส ในเดือน มี.ค.2564 จะกระจายให้กลุ่มเป้าหมายทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย ผู้ที่มีโรคประจำตัว และประชาชนทั่วไปและแรงงาน โดยจะลงไปใน 13 จังหวัด แบ่งเป็น 1 พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่1.สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 8,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 46,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 10,000 โดส
นอกนั้นอีก 8 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุม ได้แก่
2. กทม.(ฝั่งตะวันตก) 66,000 โดส แบ่งเป็นแบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 12,400 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,600 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 47,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 5,000 โดส
3.ปทุมธานี 8,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 3,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 1,000 โดส
4.นนทบุรี 6,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 2,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 1,000 โดส
5.สมุทรปราการ 6,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 2,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 1,000 โดส
6.ตาก(อ.แม่สอด) 5,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 3,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 0 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 0 โดส
7.นครปฐม 3,500 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 2,500 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 0 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 0 โดส
8.สมุทรสงคราม 2,000 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 1,500 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 0 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 0 โดส
9.ราชบุรี 2,500 โดส แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าจำนวน 2,000 โดส เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 0 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงานจำนวน 0 โดส
นอกจากนี้ ยังมี 4 พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม คือ 10.ชลบุรี 4,700 โดส 11.ภูเก็ต 4,000 โดส 12.สุราษฎร์ธานี(อ.เกาะสมุย) 2,500 โดส และ13. เชียงใหม่ 3,500 โดส โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาในพื้นที่นี้ว่า กลุ่มเป้าหมายไหนจะได้รับวัคซีนสัดส่วนเท่าไหร่
“ รายละเอียดจำนวนโรงพยาบาลแระยะเวลาในการให้บริการวัคซีนจากรพ.รัฐและเอกชนประมาณ 1,000 แห่ง โดยระยะที่ 1 รณรงค์เดือนมี.ค.-พ.ค. 2564 นาน 3 เดือนจำนวน 2 ล้านโดส และระยะที่ 2 เดือนมิ.ย.-ธ.ค.2564 ยาว 7 เดือน จำนวน 61 ล้านโดส รวม 63 ล้านโดส โดยการวางแผนการให้วัคซีนสัปดาห์แรกจัดบริการใน 50 โรงพยาบาลเริ่มจาก 100-200 โดสต่อวัน และระยะต่อไปจะขยายการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
- 12 views