ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ เผยข้อดีการตรวจเลือดหาโควิด-19 “Proactive surveillance” เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสังคม เป็นการตรวจเชิงรุก และใช้ได้แม้แต่คนที่มีอาการแล้ว
เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ศ. นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊กธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ว่า
Proactive surveillance ด้วยการตรวจเลือด ในกรณีของ โควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสังคม เป็นการตรวจเชิงรุก และใช้ได้แม้แต่คนที่มีอาการแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าเกิดจากเชื้ออื่นหรือเกิดจากโควิด-19 หรือไม่ การตรวจเชิงรุก คือ สุ่มตรวจในคนที่ไม่มีอาการ และเป็นกลุ่มที่สามารถแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นั่นคือ คนหนุ่มสาวในวัยทำงานและมีกิจกรรมทั้งที่ทำงานและนอกที่ทำงาน ทั้งนี้สามารถกำหนดกลุ่มใดที่ควรจะต้องตรวจตามลำดับความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อและความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปให้กลุ่มที่อ่อนแอและจะเกิดโรครุนแรง
การตรวจเชิงรุกเช่นนี้สามารถทำได้โดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ปริมาณน้อยซึ่งสามารถระบุได้ว่ามีการติดเชื้อแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เป็นการตรวจหาหลักฐานทั้งสามแบบคือการตรวจ IgG IgM และ ภูมื neutralizing anyibody (NT) ซึ่งต้องตรวจทั้งสามชนิดเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อจะได้รับเชื้อในช่วงเวลาแตกต่างกัน ดังนั้นต้องตรวจทั้งสามตัว และถ้าผลเลือดเป็นบวกแสดงว่า”มีการติดเชื้อ” ก็ต้องพิสูจน์ว่า”ยังปล่อยเชื้อได้หรือไม่” ด้วยการแยงจมูกและลำคอและทำการตรวจ RT PCR ซึ่งต้องตรวจมากกว่าหนึ่งครั้งและอาจจะต้องมากถึงสองถึงสามครั้งในช่วงเวลาเจ็ดถึง 14 วันแต่ในทางกลับกันถ้าผลเลือดเป็นลบในการเจาะครั้งแรก ต้องการ การ “ยืนยันชัดเจน” ต้องตรวจเลือดซ้ำเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5-7 ทั้งนี้เนื่องจากอาจจะมีการติดเชื้อก่อนหน้าวันที่เจาะเลือดไม่กี่วัน ถ้าครั้งที่สองผลเลือดเป็นลบ จะสร้างความมั่นใจว่าไม่ได้ติดเชื้อ
“ในคนที่มีภูมิNT ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสได้ก็ตาม ยังคงต้องระวังว่ายังปล่อยเชื้อได้เนื่องจากในผู้ป่วย 100 รายที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยอาการน้อย ปานกลางและ รุนแรงแม้ในช่วงแรกที่มีภูมิNT ในระดับสูงมากแล้วก็ตาม. แต่ก็ยังปรากฏว่าสามารถปล่อยเชื้อไวรัสในปริมาณสูงได้ตลอด การตรวจเลือดทั้งสามชนิดตรวจที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โดยส่งจากโรงพยาบาลที่รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,000 บาทต่อการตรวจหนึ่งคน”
ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติที่สามารถใช้ได้ทั้งประเทศไทย สามารถใช้การตรวจเลือดจากปลายนิ้วและทำการตรวจด้วยวิธี rapid test ซึ่งทราบผลได้ภายใน 2 นาที ราคาประมาณ 200 บาท แต่ข้อสำคัญชุดตรวจดังกล่าวต้องพิสูจน์ยืนยันแล้วว่ามีความไวสูงสุดคือคนที่มีการติดเชื้อจะต้องได้ผลบวกทุกราย แต่อาจมีบางรายที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 แต่มีผลบวกตามไปด้วย
ดังนั้น ถ้าได้ผลบวกจำเป็นต้องได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการของศูนย์โรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยต่อและการตรวจแบบrapid test จะเป็นการตรวจคัดกรองที่ดีที่สุดเนื่องจากราคาถูกและทราบผลได้ทันที เช่นชุดตรวจของบริษัทไบยา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2191 views