“หมอธีระวัฒน์” เผยการประเมินความรุนแรงของเชื้อโควิด-19 ไม่ใช่ดูแค่สายพันธุ์อย่างเดียว แต่มีหลายปัจจัยต้องพิจารณา
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*************************
การประเมินโรคใดโรคหนึ่ง เช่น โควิด-19 ต้องพิจารณาประกอบทั้งตัวเชื้อ ตัวคน ปัจจัยส่งเสริมที่เอื้ออำนวยให้มีการแพร่กระจาย และทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าธรรมดา ไม่ใช่ดูแต่สายพันธ์ อย่างเดียว อาทิ
⁃ ผู้ชายมีความเสี่ยงการติดเชื้อและเกิดความรุนแรงมากกว่าผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอันเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมน
⁃ ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมองจะเป็นสมองเสื่อมหรือเป็นสมองเสื่อมแล้วเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าและอาการรุนแรงกว่าและเมื่อหายแล้วภาวะสมองเสื่อมจะเลวร้ายลง
มาก
⁃ ผู้ที่มีความผิดปกติทางหัวใจ และพบมี soluble ACE2 มากจะสุ่มเสี่ยงสูงกว่า
โคโรนาไวรัสมีวิวัฒนาการ มาเนิ่นนานด้วยการผันแปรของรหัสพันธุกรรมแต่ละท่อน ซึ่งมีหน้าที่จำเพาะในการเกาะติดที่เซลล์ในการกดการต่อสู้ของร่างกายเพื่อเอื้ออำนวยให้ไวรัสสามารถอยู่ได้ในเซลล์และเพิ่มปริมาณได้ ในขณะเดียวกันเข้าไปควบคุมเซลล์เจ้าบ้านให้เอื้ออำนวยพลังงานให้กับไวรัสโดยไม่สามารถขจัดไวรัสออกจากเซลล์ได้ (incomplete autophagy) และในขณะเดียวกันรบกวนการใช้พลังงานในเซลล์จนกระทั่งเกิดภาวะพลังงานล้มเหลว (bioenergetic failure) นอกจากนั้นมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนโดยผ่านทาง เอนไซม์ และที่สำคัญก็คือมีท่อนรหัสพันธุกรรมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างการอักเสบ ที่รุนแรงเกินควร ผ่านระบบ innate และโยงใยไปถึงการที่มีเลือดข้น เส้นเลือดตันเส้นเลือดอักเสบ อวัยวะหลายส่วนเสียหาย
ส่วนสำคัญที่ไม่สามารถอธิบายจากรหัสพันธุกรรมของไวรัสเท่านั้นเป็นกลไกเหนือยีน (epigenetics) และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งแห่งที่ ที่ไวรัสสามารถอยู่ได้โดยบรรพบุรุษของโคโรนา จะอยู่ในลำไส้ และค่อยๆปรับเปลี่ยนมาอยู่ในระบบทางเดินหายใจจนกระทั่งถึงถุงลมและพัฒนาเข้าเลือดรวมกระทั่งถึงเม็ดเลือดขาว ทั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สู้กับระบบปกป้องไวรัสของร่างกายของเนื้อเยื่อนั้นๆ คือ ZAP หรือ Zinc finger antiviral protein และ APOBEC3G ที่มีประสิทธิภาพมาก ในปอด เม็ดเลือดขาว
นอกจากนั้นถ้ามีการผันแปรของรหัสพันธุกรรม และจะโยงใยไปกับการแพร่การเพิ่มจำนวน ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการผันแปรนั้นส่งผลถึง เซลล์ที่ติดเชื้อ และ มีผลต่อกลไกต่อสู้ของร่างกาย ที่เรียกว่า functional mutation
การที่จะติดตาม ลักษณะของโรคโควิด-19 อยู่ที่การติดตามการแสดงออกของโรค จากที่เป็นแบบมาตรฐานทางระบบทางเดินหายใจกลายเป็นความผิดปกติของลำไส้ของตา ผิวหนัง และสมอง ทั้งนี้โดยที่ไม่มีหรือแทบจะไม่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจเลย
และการที่มีการแสดงของโรคที่แต่เดิม เกิดในเด็ก มีผื่นที่ผิวหนังที่ริมฝีปาก ลิ้นสากเป็นตุ่ม ตาแดง หัวใจและเสันเลือดหัวใจผิดปกตื และในระยะหลังกลับพบในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ขึ้นไป โดยไม่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ และการที่ไวรัสสามารถรุกล้ำในสตรีตั้งครรภ์เข้าไปในเด็กทารกโดยผ่านแนวป้องกันไวรัสทั้ง ผนังชั้นนอกและชั้นในของรก ผ่านสายสะดือเข้าเลือดเด็กทารกและผ่านผนังเส้นเลือดในสมองเข้าสมองและมีความผิดปกติของเด็กที่เกิดมา ลักษณะเช่นนี้ไม่พบในระยะแรกที่มีการระบาด
การเฝ้าระวังการผันแปรของการแสดงอาการของโรค เป็นเครื่องชี้บ่ง ถึงความสามารถของไวรัสในการปรับตัวเปลี่ยนที่เปลี่ยนตำแหน่งและสู้กับระบบป้องกันภัยของร่างกาย ได้
ภาพจาก FB : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
ทั้งนี้ ไม่ได้กำหนดจากการที่จำแนกว่าจะเป็นสายพันธุ์ G V S A B C S L จะเป็นสายพันธุ์อะไรสามารถป้องกันได้ใส่หน้ากากป้องกันใบหน้าล้างมือทานอาหารสุก คงระยะห่าง ทำความสะอาดพื้นผิวสาธารณะ ระวังการเดินทางได้รถโดยสารสาธารณะ
ประเทศไทยมีทุกอย่างที่กล่าวตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม และรอดพ้นจากการระบาดอย่างรุนแรงไม่ใช่เพราะไวรัสไม่ร้ายแรง แต่รอดจากวินัยความร่วมมือกันของประชาชน ทุกหมู่เหล่า
ถ้าจะทำการจำแนกสายพันธุ์ต้องตอบให้ได้ว่า “ทำไปทำไม”
ถ้าทำไปเพื่อดูการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรมจนทำให้ ตรวจ หาเชื้อไม่เจอ หรือเพื่อดูเป้าหมายของวัคซีน ว่าจะได้ผล หรือกลับทำให้คนฉีดวัคซีนกลับเกิดผลแทรกซ้อนมากกว่าประโยชน์ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สรุป ไม่ควรดู หรือ มโน อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการติดตามโรค และติดตามเชื้อ
ภาพจาก FB : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
- 586 views