เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศข้อบังคับ หลักเกณฑ์ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พร้อมระบุข้อกำหนดกลุ่มโรคที่สามารถตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้นได้

เมื่อวันที่ 4 ส.ค. นายริซกี สาร๊ะ รักษาการโฆษกสภาการสาธารณสุขชุมชน กล่าวว่า ขณะนี้เป็นข่าวดีของหมออนามัย และนักสสาธารณสุข เนื่องจากราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยข้อจำกัดการบำบัดโรคเบื้องต้น 2563 และข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินและบำบัดโรคเบื้องต้น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัว พศ.2563 และข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนเกี่ยวกับการตรวจประเมินอาการเจ็บป่วยและการช่วยเหลือเพื่อการส่งต่อ พศ. 2563

แฟ้มภาพ

“ต้องขอขอบพระคุณคณะทำงานกฎหมายของสภาการสาธารณสุขชุมชน นิติกร ของกองกฏหมายสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มาร่วมด้วยช่วยกัน  ต้องขอขอบพระคุณท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุข นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลการดำเนินงานปรับปรุงกฏหมายรองเป็นอย่างดี และขอบพระคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะสมาชิกสภาทุกท่านที่ได้ร่วมกันผลักดันเรื่องนี้” นายริซกี กล่าว

สำหรับระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยข้อจำกัดในการบำบัดโรคเบื้องต้น พ.ศ. 2563 โดยเนื้อหาสาระระบุถึงผู้ที่มีสิทธิทำการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนตามระเบียบนี้ ต้องเป็นผู้ที่ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และใบอนุญาตไม่หมดอายุ รวมทั้ง ต้องไม่เป็นผู้ถูกลงโทษพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนจะต้องกระท าการบำบัดโรคเบื้องต้น ตามข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข เป็นต้น

ส่วนข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินและบำบัดโรคเบื้องต้น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัว พศ.2563 เนื้อหาสาระส่วนหนึ่ง ระบุให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนให้กระทำการตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น ดังนี้

-ไข้ตัวร้อน

-ไข้ และมีผื่นหรือจุด

-ปวดท้อง

-ท้องผูก

-ท้องเดิน

-คลื่นไส้อาเจียน

-โรคขาดสารอาหาร

-อาหารเป็นพิษ

-โรคหวัด

-โรคผิวหนัง

-แผลในช่องปาก

-การชะล้างบาดแผล

-การให้น้ำเกลือผู้ป่วยอาเจียนจากการสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย

-ภาวะช็อกจากการสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย

-การทำคลอดปกติในภาวะฉุกเฉิน

-กระดูกหัก

-ข้อเคล็ด

-ข้อเคลื่อน

-ไฟไหม้

-น้ำร้อนลวก

-การช่วยฟื้นคืนชีพ

-เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส และในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนสามารถวางแผนครอบครัวได้ คือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว และการให้ยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย เป็นต้น

ส่วนข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนเกี่ยวกับการตรวจประเมินอาการเจ็บป่วยและการช่วยเหลือเพื่อการส่งต่อ พศ. 2563