โรคระบาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกิดขึ้นไม่น้อยกว่าไทย ในประวัติศาสตร์การระบาดของอหิวาตกโรค เกิดการระบาดหลายครั้งในภูมิภาค โดยเฉพาะในปี 2504 นับจากอินโดนีเซียและแพร่กระจายไปทั่วเอเชียเข้าไปยังลาวในปี 2512 อย่างไรก็ตาม มีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคครั้งแรกในลาวเมื่อปี 2496
ย้อนกลับไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อหิวาตกโรคเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับความช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศในการมุ่งขจัดอหิวาตกโรคให้พ้นจากประเทศแถบอาเซียน ในช่วงปลายทศวรรษ 2533 จากสมมุติฐานด้านการพัฒนาประเทศส่งผลต่อการลดลงของโรคระบาดนำไปสู่ข้อเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปทางเศรษฐกิจรวมถึงการออกใบอนุญาตธุรกิจที่รวดเร็วนำไปสู่การเพิ่มจำนวนของภาคเอกชน ผู้ประกอบการ การเกษตรเพื่อยังชีพก่อให้เกิดการจ้างงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ (HDI)ในลาวจัดอยู่ลำดับที่ 130 จากทั้งหมด177
อหิวาตกโรคระบาดใหญ่ครั้งล่าสุดในลาว
จากปี 2536 ถึง 2540 ลาวมีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคในแต่ละปี และตั้งแต่ปี 2542 ลาวรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคเป็นจำนวนมาก นับเป็นการระบาดครั้งใหญ่ครั้งล่าสุด ทำให้มีผู้ป่วย 10,120 รายและเสียชีวิต 453 ราย (อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย 4.4%) และในปี 2543 มีผู้ป่วย 12,440 ราย และเสียชีวิต 520 (4.2%) นับจากนั้นตั้งแต่ปี 2544 อุบัติการณ์ของอหิวาตกโรคในลาวค่อยๆลดลงอย่างมากเช่นเดียวกับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย
มาตรการช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก
ภายหลังจากการระบาดของอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ในลาวเมื่อปี 2542 การต่อสู้กับอหิวาตกโรคกลายเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ในเดือนสิงหาคม 2543 มีการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาเฉพาะด้านแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการลดอุบัติการณ์ลง 50% และการลดลงของอัตราการเสียชีวิตจาก 5% เป็น 2% ในปี 2544 แผนปฏิบัติการใหม่ได้ดำเนินการในสามแขวง ได้แก่ สุวรรณเขต หลวงพระบาง และหัวพัน ในปี 2545 ขยายออกไปอีกสามแขวง ได้แก่ คำม่วน จำปาสัก และ อัตตะปือ ผลจากมาตรการเชิงรุก ทำให้ในปี 2545 นั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เบื้องต้น การเข้าถึงในพื้นที่ชนบทห่างไกลเป็นไปได้มากขึ้น แม้จะยังมีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกในแขวงเซกอง ในพื้นที่จังหวัดท่าแตง และ Lamarn อยู่บ้าง
จากรายงานการประเมินความเสี่ยงด้านสังคมและเศรษฐกิจของลาวที่ส่งผลต่อการระบาดของ อหิวาตกโรคพบว่าในปี 2549 การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลที่เหมาะสมยังสะท้อนความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทในลาวอยู่ค่อนข้างมาก ความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลกในช่วงปี 2550-2551 จึงมีทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุกในเขตที่ได้รับผลกระทบการจัดการทางคลินิกและการควบคุมการติดเชื้อ สุขศึกษา และส่งเสริมให้มีน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัย
ภาพจาก ANN (Asia news network)
อ้างอิง
WORLD HEALTH ORGANIZATION. Global Task Force on Cholera Control, CHOLERA COUNTRY PROFILE: LAOS.
- 396 views