กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2560-2564 สำหรับเป็นกรอบในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชนอย่างทั่วถึงซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

2.การเพิ่มขีดความสามารถของของระบบป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระบบส่งต่อผู้ป่วย คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อตอบโต้ปัญหาสุขภาพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

3.การลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

และ 4.การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ขอบคุณภาพจากหอการค้าไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

1.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานบริการและด่านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1.2 เพิ่มความสามารถในการจัดบริการสุขภาพที่หลากหลายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1.3 พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสุขภาพและเพิ่มอัตรากำลังของสถานบริการและด่านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1.4 พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการด้านสุขภาพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถของของระบบป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระบบส่งต่อผู้ป่วย คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อตอบโต้ปัญหาสุขภาพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

2.1 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ตลอดจนระบบส่งต่อในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

2.2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวัง คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

3.1 พัฒนาระบบประกันสุขภาพประชากรต่างด้าวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

3.2 สร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินงานสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

3.3 พัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

4.1 พัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบด้านสาธารณสุข และกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนให้เอื้อต่อการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

4.2 ปรับบทบาท ภารกิจ โครงสร้างของสถานบริการและด่านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2560-2564 สู่การปฏิบัติ ดังนี้

การสื่อสารแผนยุทธศาสตร์สุขภาพเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารสำคัญของแผนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่จะเกิดขึ้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

จัดวางระบบการกำกับ ติดตามประเมินผล ร่วมกับแผนงานปกติ

จัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาด้านสาธารณสุข ในจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกำกับการดำเนินงาน ติดตามประเมินผล เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

เรียบเรียงจาก

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี :กระทรวงสาธารณสุข, 2559, หน้า 29-59.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาสาธารณสุขเขตเศรษฐกิจพิเศษ

แนวโน้มของโรคและความเจ็บป่วยใน ‘เขตเศรษฐกิจพิเศษ’

‘กำลังคนสุขภาพ’ ศักยภาพและความพร้อมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ