เมื่อเร็วๆ นี้สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาและแนวทางบริการที่เป็นมิตรแก่แรงงานต่างด้าว ผู้ติดตามและเหยื่อการค้ามนุษย์ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนแวนชั่น ถ. วิภาวดีรังสิต กทม. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมกว่า 100 คน

นายภาคภูมิ แสวงคำ เจ้าที่วิชาการ มูลนิธิรักษ์ไทยนำเสนอว่า สังคมมีมายาคติต่อแรงงานข้ามชาติ ที่นำไปสู่บริการที่ไม่เป็นมิตรได้ เช่น มีความคิดว่าแรงานข้ามชาติแย่งงานคนไทย ก่อปัญหาความมั่นคง สร้างความสกปรก นำโรคระบาดคนไทย ขณะที่ประเทศไทยได้ให้สิทธิพื้นฐานแก่ประชากรข้ามชาติหลายเรื่อง คือ สิทธิอาศัยชั่วคราว สิทธิประกอบอาชีพที่กฎหมายกำหนด สิทธิด้านสาธารณสุข เป็นหน้าที่แรงงานไปตรวจสุขภาพและซื้อประกันสุขภาพก่อนทำงานสิทธิการศึกษาพื้นฐานสำหรับเด็กทุกชาติ สิทธิการเดินทางภายในจังหวัด ยกเว้นไปต่างจังหวัดเพื่อสันทนาการหรือกับนายจ้าง

นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อ 12 กันยายน 2557 ข้อ 3.2 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือ การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ และได้กล่าวตอนจัดงานครบรอบ 40 ปีก่อตั้งอาเซียนว่า จะคุ้มครองแรงงานทุกชาติเท่าเทียมกัน จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง (N0 one Leave behind)

คำประกาศและข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ป่วย ของหลายสภาวิชาชีพด้านสุขภาพเมื่อปี2541 ระบุว่า

ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับบริการจากผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ, เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย

นอกจากนี้ ยังมีประกาศกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติครม. 23 กุมภาพันธ์ 2559 คือให้บุตรของคนต่างด้าวอายุไม่เกิน 15 ปี มารายงานตัวทำทะเบียนประวัติและมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยตามสิทธิของบิดามารดาที่ตรวจสัญชาติและจดทะเบียน หากเด็กอายุ 15 ปีก็ขออนุญาตทำงานได้

นิยามบริการที่เป็นมิตร (Friendly services definitions) ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ต้องมีหน้าตายิ้มทั้งวัน คือ

(1)ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และ(2) เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายความว่า “ไม่ต้องปฏิบัติเหนือกว่าคนไทย แต่ใช้มาตรฐานบริการเท่าเทียมคนไทย เช่น ค่าจ้างเท่ากันทั้งแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย

ลักษณะสำคัญ คือต้องเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมแต่ละชาติ โดยเฉพาะความคิด-ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร, มิติชายหญิง การมีครอบครัวและบุตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตัดสินแบบเหมารวม

ตัวอย่างโครงการสถานพยาบาลที่เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติในประชาคมยุโรป เช่น

– จัดหน่วยบริการแก่แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย และกลุ่มชาติพันธุ์

– บริการล่ามแปลภาษา จัดทำข่าวสารแรงงาน และบริการฝึกอบรมในภาษาและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เช่น อนามัยเจริญพันธุ์แม่และเด็ก

– อบรมสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมแก่บุคคลในสถานพยาบาล

รูปแบบการบริการที่เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติ ที่องค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทสนับสนุนหรือเสนอแนะร่วมดำเนินงานกับองค์กรภาครัฐ และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เช่น

บริการล่ามแปลภาษา

จัดทำสื่อต่างๆเผยแพร่-รณรงค์ในภาษาแรงงานข้ามชาติ เช่น ป้ายโปสเตอร์-แผ่นพับการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ การส่งเสริมป้องกันโรค

จัดระบบอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) .ornhomuj

จัดระบบเฝ้าระวังโรค/ค้นหาผู้ป่วย-กลุ่มเสี่ยงที่เข้าไม่ถึงสถานพยาบาล

พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน (CBO-Community base organization)

การอภิปราย เรื่อง “การจัดระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับประชากรต่างด้าว” โดยผู้แทนโรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก และผู้แทนสำนักงานสาธารณสุข (สสจ.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เสนอแนวทาง-รูปแบบดำเนินการในระดับพื้นที่ ประกอบด้วยหลากหลายโครงการ ดังนี้

(1) จัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายระดับจังหวัด เพื่อร่วมมือกับทุกฝ่ายในการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เตรียมคนรองรับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่และมีบริการล่าม การนำส่งผู้ป่วยให้ถึงหมอ รวมทั้งแจ้งความดำเนินคดีที่เกี่ยวข้อง

(2) จัดตั้งศูนย์พึ่งได้ บริการไร้รอยต่อ โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยบริการและฝ่ายนโยบาย นักกฎหมายให้คำปรึกษา-รอรับผู้ป่วย/ผู้เดือดร้อน และประสานการส่งต่อกลับไปประเทศต้นทาง

(3) จัดบริการดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน โดยส่งต่อองค์กรพัฒนาเอกชนที่อยู่ในพื้นที่ จัดประชุมทีมสหวิชาชีพกรณีศึกษาการดูแลกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อเข้าใจปัญหา-ข้อจำกัดที่ต้องหนุนช่วยกัน โดยทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งฝ่ายความมั่นคง และสาธารณสุข

(4) จัดทำบันข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างหน่วยบริการทั้งโรงพยาบาล คลินิกและศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อหนุนช่วยบริการส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรค เช่น ช่วยเหลือเด็กสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

(5) จัดทำคู่มือดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติเป็น 3 ภาษาและพัฒนาระบบบริการส่งต่อ ทำให้เครือข่ายนำผู้ป่วยข้ามชาติมาส่งโรงพยาบาลมากขึ้นกว่าแรงงานข้ามชาติเดินทางมาเอง

(6) จัดประชุมทวิภาคีไทย-เมียนมา ระหว่างโรงพยาบาลที่จ.ตากแม่สอด กับที่เมียววดี เพื่อประสานความร่วมมือตามแนวชายแดน ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และป้องกันโรคระบาด ณ ประเทศต้นทาง

(7) สาธารณสุขจังหวัดจัดรวมงบประมาณประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวในระดับจังหวัด

เพื่อตกลงแบ่งสรรค่าใช้จ่ายและกระจายภาระระหว่างหน่วยบริการทุกระดับในพื้นที่ ป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่องของหน่วยบริการบางแห่ง

(8) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้ออกแบบใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพแรงงานข้ามชาติเท่านั้น เพื่อป้องกันนายจ้างรับจ้างปลอมใบรับรองแพทย์ และปลอมบัตรอนุญาตทำงาน โดยประชาสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติควรมาติดต่อตรวจสุขภาพเอง อย่าไว้ใจคนอื่นที่อาจทำให้ต้องสูญเสียเงินและใช้ใบรับรองไม่ได้

(ขอบคุณที่มา บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน)