หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2559 มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ11 และ 12) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยระบุว่าเกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับใหม่นี้มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประเด็นคือ
1.ใช้หลักเกณฑ์พื้นที่ 6 ระดับ เหมือนกันทุกวิชาชีพ
2.ใช้หลักเกณฑ์อายุราชการ 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ปีที่ 1-3 ปีที่ 4-10 ปีที่ 11 ขึ้นไป เหมือนกันทุกวิชาชีพ
3.เพิ่มกลุ่มสายงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและคุ้มครองผู้บริโภค
4.ช่องว่างค่าตอบแทนระหว่างวิชาชีพลดลง
โดยทั้ง 4 ประเด็นมีหลักการและรายละเอียดดังนี้
หลักการ
หลักการสำคัญในการทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ได้แก่ การสร้างความเป็นธรรมในด้านค่าตอบแทนทั้งภายในวิชาชีพและระหว่างวิชาชีพ รวมทั้งสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ปฏิบัติงานมากและปฏิบัติงานหนักได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทน
ดังนั้นการปรับจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่ไม่ให้เพิ่มสูงเกินความจำเป็นปรับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นแบบอัตราเดียวทุกพื้นที่และทุกหน่วยบริการไปเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน แต่ยังคงให้การจ่ายค่าตอบแทนแบบอัตราเดียวในพื้นที่เฉพาะตามปัจจัยที่กำหนด เช่น มีความห่างไกล ความทุรกันดาร ความเสี่ยงภัย การขาดแคลนกำลังคน และปัจจัยอื่นๆ เพื่อรักษาหลักการความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีกำลังคนด้านสุขภาพให้บริการอย่างเพียงพอและมีคุณภาพให้กับประชาชน
การปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข
1.ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือเทียบเท่า รวมถึงหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน ได้ทบทวนการจัดกลุ่มพื้นที่และระดับความยากง่ายของการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1.พื้นที่ชุมชนเมือง
2.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.1
3.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.2
4.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.3
5.พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม 1
6.พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม 2
1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กำหนดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.โรงพยาบาลในกลุ่ม ก ซึ่งมีความยากลำบากในการบริหารจัดการทรัพยากร
2.โรงพยาบาลในกลุ่ม ข ซึ่งมีความยากลำบากมากในการบริหารจัดการทรัพยากร
1.3 การกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือเทียบเท่า รวมถึงหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชนมีข้อเสนอดังนี้
สำหรับแพทย์และทันตแพทย์ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
20,000 |
30,000 |
ปีที่ 4– ปีที่ 10 |
12,000 |
15,000 |
20,000 |
30,000 |
40,000 |
50,000 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
15,000 |
20,000 |
25,000 |
40,000 |
50,000 |
60,000 |
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1- ปีที่ 3 |
4,000 |
4,000 |
4,500 |
4,500 |
9,000 |
14,000 |
ปีที่ 4- ปีที่ 10 |
5,000 |
5,000 |
5,500 |
5,500 |
10,000 |
15,000 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
6,000 |
6,000 |
6,500 |
6,500 |
11,000 |
16,000 |
สำหรับพยาบาลวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
2,200 |
2,200 |
2,400 |
2,400 |
2,700 |
3,700 |
ปีที่ 4- ปีที่ 10 |
2,800 |
2,800 |
3,000 |
3,000 |
3,200 |
4,200 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
3,000 |
3,000 |
3,200 |
3,200 |
3,700 |
4,700 |
สำหรับสหสาขาวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1- ปีที่ 3 |
2,000 |
2,000 |
2,200 |
2,200 |
2,500 |
3,500 |
ปีที่ 4– ปีที่ 10 |
2,600 |
2,600 |
2,800 |
2,800 |
3,000 |
4,000 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
2,800 |
2,800 |
3,000 |
3,000 |
3,500 |
4,500 |
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานกลุ่มอื่นๆ ที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วย ระดับปริญญาตรี กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
1,500 |
1,500 |
1,700 |
1,700 |
2,000 |
3,000 |
ปีที่ 4- ปีที่ 10 |
2,100 |
2,100 |
2,300 |
2,300 |
2,500 |
3,500 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
2,300 |
2,300 |
2,500 |
2,500 |
3,000 |
4,000 |
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานกลุ่มอื่นๆ ที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วย ระดับต่ำกว่าระดับปริญญาตรี กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พื้นที่ ชุมชน เมือง |
พื้นที่ปกติ |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1 |
พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2 |
||
ระดับ 2.3 |
ระดับ 2.2 |
ระดับ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
ระดับ 2.2 และ 2.1 |
||
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
1,000 |
1,000 |
1,000 |
1,000 |
1,200 |
1,500 |
ปีที่ 4– ปีที่ 10 |
1,200 |
1,200 |
1,200 |
1,200 |
1,500 |
1,800 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
1,500 |
1,500 |
1,500 |
1,500 |
1,800 |
2,000 |
1.4 การกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป หรือเทียบเท่า มีข้อเสนอดังนี้
สำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
แพทย์/ทันตแพทย์ |
เภสัชกร |
||
กลุ่ม ก |
กลุ่ม ข |
กลุ่ม ก |
กลุ่ม ข |
|
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
10,000 |
10,000 |
4,000 |
4,000 |
ปีที่ 4– ปีที่ 10 |
12,000 |
20,000 |
5,000 |
5,000 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
15,000 |
25,000 |
5,500 |
5,500 |
สำหรับพยาบาลวิชาชีพ สหสาขาวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่กลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ คุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วยกำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้
ระยะเวลา |
พยาบาลวิชาชีพ
พยาบาล วิชาชีพ |
สหวิชาชีพ
สหวิชาชีพ |
กลุ่มบริการผู้ป่วยสายงานระดับ |
|
ปริญญาตรีขึ้นไป |
ต่ำกว่าปริญญาตรี |
|||
กลุ่ม ก กลุ่ม ข |
ระดับ ก กลุ่ม ข |
กลุ่ม ก กลุ่ม ข |
ระดับ ก กลุ่ม ข |
|
ปีที่ 1– ปีที่ 3 |
2,200 |
2,000 |
1,500 |
1,000 |
ปีที่ 4– ปีที่ 10 |
2,800 |
2,600 |
2,100 |
1,200 |
ปีที่ 11 ขึ้นไป |
3,000 |
2,800 |
2,300 |
1,500 |
2.การพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ได้กำหนดหลักการสำคัญของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน โดยมีหลักการให้ครอบคุลมงานบริการ (ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค) งานบริหาร และงานวิชาการ โดยค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่จะได้รับต้องผันแปรไปตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ จะมีการกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำ และมีการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว
- 53779 views