(แปลจากบทความ Thailand's health care success overshadowed by a Democratic crisis) โดย ภาคภูมิ แสงกนกกุล เผยแพร่ เว็บไซต์ประชาไท
วิกฤตประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบันกลับสวนทางกับความสำเร็จของศตวรรษนี้ นั่นคือนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความสำเร็จนี้ยังเป็นบทเรียนสำคัญของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ความคิดเรื่องการต่อต้านประชานิยมซึ่งเป็นค่านิยมของสังคมไทย
ในปี 2001 (พ.ศ. 2544) รัฐบาลได้ออกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่ครอบคลุมประกันสุขภาพให้ประชาชนทุกคน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน นโยบาย 30 บาทของไทยเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งยวด
ในปี 2001 ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมดไร้ประกันสุขภาพ แต่ในปี 2014 (พ.ศ. 2557) ร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยประกันสุขภาพชองรัฐบาล 3 กลุ่มคือ ประกันสังคม ประกันสุขภาพราชการ และ นโยบาย 30 บาท ผลสำเร็จของนโยบาย 30 บาทส่งผลดีต่อคนจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงการรักษาและการลดอัตราการตายของทารก การรักษาพยาบาลราคาแพง เช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัด การผ่าตัดเปิดหัวใจและการฟอกไต ก็ยังรวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ด้วยเช่นกัน
ทำไมนโยบายที่มีความทะเยอทะยานสูงเช่นกรณีนี้จึงสามารถสำเร็จได้ในประเทศรายได้ปานกลางอย่างไทย ซ้ำร้ายเป็นสังคมที่แตกแยก มีความไม่แน่นอนทางการเมือง ?
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเริ่มต้นจากนักการเมืองประชานิยมอย่าง ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2000 (พ.ศ. 2543) พรรคไทยรักไทยและทักษิณเสนอนโยบาย 30 บาทเป็นจุดขายสำคัญเขตชนบท หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งปี 2001 โดยถล่มทลายไทยรักไทยก็ดำเนินการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน
โดยบังเอิญการพัฒนาของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในช่วงเวลาไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่สุดของการเมืองไทยร่วมสมัย ในช่วง 2001-15 (พ.ศ. 2544-2558), มีรัฐบาลทั้งหมด 9 ชุด การเลือกตั้งทั่วไป 6 ครั้ง (รวมถึงครั้งล่าสุดที่โมฆะ) และรัฐประหาร 2 ครั้ง ความวุ่นวายทางการเมืองนี้ ได้แบ่งแยกสังคมไทยระหว่างกลุ่มทักษิณและกลุ่มต่อต้านทักษิณ (หรืออีกในแง่หนึ่งคือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนิยมกับกลุ่มต่อต้านเจ้า) นอกจากนี้ผลตอบรับต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านอกจากนี้ยังส่งผลต่อการแบ่งขั้วเช่นกัน โดยเป็นที่นิยมในคนยากจน แต่กลับถูกชนชั้นกลางตราว่าเป็นนโยบายประชานิยม
หลังจากการรัฐประหาร พฤษภาคม 2014 (พ.ศ.2557), รัฐบาลทหารได้อ้างว่าเป้าหมายของพวกเขาคือการป้องกันไม่ให้นโยบายประชานิยมที่อาจเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจไทยและการบั่นทอน 'ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน' พวกเขาหยุดนโยบายต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้านโดยอ้างว่ามันเป็นนโยบายประชานิยม อนาคตของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็อยู่ในอาการหมิ่นเหม่เช่นกัน ในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลทหารได้พูดเป็นนัยถึงแผนการปฏิรูประบบโดยให้ผู้ป่วยรับผิดชอบร่วมจ่ายค่ารักษามากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อสิงหาคม 2014 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะยังคงมีอยู่
แต่ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่ถ่ายทอดประจำทางทีวีช่วงไพรม์ไทม์ ประยุทธ์กลับเสนอวิธีปฏิรูปที่เป็นปัญหา เขาเสนอว่านโยบาย 30 บาทไม่ควรครอบคลุมพวกคนรวย เพื่อคนจนจะได้มีงบประมาณรักษามากขึ้น แต่ทว่าข้อเสนอดังกล่าวกลับบิดเบือนความหมายของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ผูกติดกับค่านิยมประชาธิปไตย ปรัชญาพื้นฐานของการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า คือการให้สิทธิประชาชนทุกคนที่จะได้รับการรักษาโดยไม่คำนึงถึงระดับรายได้ของพวกเขาหรือสถานะทางสังคมที่อยู่อาศัย มันเป็นความจริงว่าคนจนเป็นกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดของนโยบายสาธารณะนี้ แต่โดยหลักการนโยบายนี้เพื่อประชากรทุกคน และเหตุผลที่นโยบายนี้ประสบความสำเร็จก็เพราะมันไม่ได้แบ่งแยกคนจน แต่รวมพวกเขาไว้ในนโยบายสาธารณะ
จริงหรือที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็น 'ประชานิยม' ?
การที่เรียกนักการเมือง หรือเรียกนโยบายว่า 'ประชานิยม' มันหมายถึงว่า การให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่จำเป็นเช่นนี้ นักการเมืองเห็นแก่ตัวกว่าการรับใช้ชุมชน บริหารนโยบายด้วยสัญชาตญาณมากกว่าเหตุผล และเป็นนโยบายที่สิ้นเปลืองมากกว่าที่จะยั่งยืน ? ไม่ๆๆ เพราะการติดป้ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างเสื่อมเสียว่า 'ประชานิยม' ช่วยให้บางกลุ่มได้รับประโยชน์จากวาทกรรมต่อต้านประชานิยม
ตั้งแต่รัฐประหาร 2014 เริ่มต้นรัฐบาลทหารเป็นกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่อต้านประชานิยม แม้ว่าทิศทางนโยบายและการใช้จ่ายของรัฐบาลทหารก็ไม่ได้แตกต่างกันมากจากยุคยิ่งลักษณ์ มาตรการต่อต้านประชานิยมต่างๆ เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อใช้กำจัดกลุ่มการเมืองต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยแนวคิดเรื่องคนดีปกครองบ้านเมืองและเสรีประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับเมืองไทยนั้นแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำ และเป็นเรื่องง่ายในการสร้างกระบวนการต่อต้านการเลือกตั้งทั่วไป
ในขณะที่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ต่อต้านประชานิยมยังคงอยู่ในการเมืองไทย, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเสนอมิติการเมืองที่เปลี่ยนไป ในขณะที่นโยบาย ‘ประชานิยม' นี้อาจไม่ยั่งยืนหรือสิ้นเปลือง แต่มันได้สร้างค่านิยมพื้นฐานขึ้นมาใหม่ว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณสุข และรัฐมีหน้าที่ประกันสิทธิเหล่านี้
แนวคิดของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีพื้นฐานที่นำไปสู่ค่านิยมประชาธิปไตย ในเมื่อคนไทยทั่วไปมีประสบการณ์แล้วในการเรียกร้องสิทธิของตนต่อสุขภาพในฐานะค่านิยมสากลแล้ว ทำไมจะไม่สามารถขยายไปสู่สิทธิทางการเมืองของพวกเขาได้ ? ดังนั้น การต่อต้านประชานิยมจึงเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงวิธีการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน
- 1636 views