เตือนภัย บุหรี่ไฟฟ้า ตัวการทำร้ายหัวใจ ความดัน ก่อมะเร็ง ชี้ โฆษณาชวนเชิญทำวัยรุ่นเชื่อผิดๆ ว่าไม่อันตราย แถมขายเกลื่อนโซเชี่ยล จี้ควบคุม เอาผิดนำเข้าผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่แพทยสมาคมแห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการแถลงข่าวเรื่อง “เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง” จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่ อการควบคุมยาสูบ(ศจย.)มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสั งคมไทยปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย ผศ.ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผย สถานการณ์บริโภคยาสูบไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนอายุ 13-18 ปี ว่า ปัจจุบันยาสูบไฟฟ้ามี 3 ประเภท คือ บุหรี่ไฟฟ้า บารากุไฟฟ้า และซิการ์ไฟฟ้า โดยผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ ายมาก เพราะมีช่องทางการจำหน่ายที่ แพร่หลายทั้งในห้างสรรพสินค้า การจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะ social network ที่วัยรุ่นนิยม เช่น เฟซบุ็ค ไลน์ อินสตาแกรม ซึ่งเฉพาะโปรแกรมสนทนา ไลน์ มีผู้ขายกว่า 1,300 ไอดี และยังมีการโฆษณาชวนเชื่ อจำนวนมากผ่านช่องทางเหล่านี้ โดยทำเป็นคลิปวีดีโอ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ าไม่ใช่สินค้าอันตรายด้วย จากการศึกษาสถานการณ์ ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบ “แปลงร่าง” จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 13-18 ปี 2,426 ราย พบว่า เยาวชน 78% รู้จักบารากุไฟฟ้าเป็นอย่างดี 44% สูบบารากุไฟฟ้า และ 12% สูบบุหรี่ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน 42% ก็สูบบุหรี่ธรรมดาด้วย โดย 32% รู้จักบารากุไฟฟ้าจาก social network 67% ซื้อบารากุไฟฟ้าด้วยตัวเอง และ18% ซื้อจากช่องทาง social network เหตุผลของนักสูบเยาวชนส่วนใหญ่ 83% มาจากความเชื่อผิดๆ และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ หลอกลวง คือ เห็นว่าเป็นสิ่งน่าสนใจแปลกใหม่ เชื่อว่าสูบง่ายกว่าบุหรี่ ปลอดภัย ลองได้ไม่เสพติด
ภก.คฑา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันถือว่าน่าเป็นห่วงอย่ างมาก เพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลว่าบุ หรี่ไฟฟ้าปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ ทั่วไป โดยยกตัวอย่างว่า บุหรี่ปกติมีสารพิษกว่า 6,000 ชนิด แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีแค่นิโคติน แต่การศึกษาพบว่า ในบุหรี่ไฟฟ้า จะมีปริมาณนิโคตินที่เข้มข้นสู งกว่าใบยาสูบทั่วไป และไม่สามารถควบคุมปริมาณนิโคติ นได้ ซึ่งอันตรายคือ นิโคตินจะทำให้อัตราการเต้นหั วใจสูง และอาจส่งผลต่อความดันโลหิต และเมื่อมีการเผาไหม้ สารโพรไพลีน ไกลคอล (propylene glycol) ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า จะเกิดสารตกค้างที่อาจก่อให้เกิ ดมะเร็งได้ และจากงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ยังพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ต่ำและงานวิจัยไม่ชัดเจน เพราะกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป อีกทั้งยังพบว่า แม้จะหยุดสูบบุหรี่ธรรมดาได้ แต่ผู้สูบกลับต้องการบุหรี่ไฟฟ้ าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หมายถึงทำให้ติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า งานวิจัยต่างๆ ชี้ให้เห็นชัดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ ปลอดภัยต่อสุขภาพเช่นเดียวกับบุ หรี่ธรรมดา ซึ่งพบสารก่อมะเร็งหลายๆ ชนิด เช่น ไดเอธิลีนไกลคอล ตะกั่ว แมงกานีส สังกะสี ปรอท สารหนู แคดเมียม ในปริมาณที่สามารถส่งผลเสียต่ อร่างกายได้หากใช้อย่างต่อเนื่ อง ซึ่งงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริ กา ยังชี้ชัดว่า บุหรี่ไฟฟ้า ไปทำให้ ลดสมรรถภาพปอดและการหายใจได้ เหมือนบุหรี่ทั่วไป และทำให้เซลล์ของมนุษย์เกิ ดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ กรรมและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ แม้ได้สัมผัสควันบุหรี่ไฟฟ้าเพี ยงแค่ 5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ ควันของบุหรี่ไฟฟ้ายั งสามารถเกาะที่พื้นผิววัสดุต่ างๆ รวมทั้งผิวหนังของมนุษย์ แล้วเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องกั บสารพิษหรือมลพิษชนิดอื่นๆ ในอากาศจนเกิดเป็นสารก่อมะเร็ งได้ในที่สุด หมายถึงบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภั ยแต่งานวิจัยยังไม่มากพอ
คุณเศรณีย์ จุฬาเสรีกุล กลุ่มพัฒนาภารกิจกฎหมาย สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวว่า การขายบุหรี่ไฟฟ้ าในประเทศไทยเข้าข่ายเป็นความผิ ดตามกฎหมายหลายฉบับ กรมควบคุมโรค จึงได้ประสานความร่วมมือกับ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภค กรมสรรพสามิต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมกระบวนการนำเข้ ามาในราชอาณาจักร และการแพร่หลายของบุหรี่ไฟฟ้ าทางอ้อม คือ 1.ฐานนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุ ลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 2. ฐานช่วยซ่อนเร้น จําหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไวโดยประการใด ซึ่งรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้ เสียค่าภาษี หรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังมิได้ผ่านศุลกากร หรือโดยหลีกเลี่ยงอากร ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ 3. ฐานประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยไม่ได้จดทะเบียน การประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 มาตรา 27 กรณีที่เป็นการจำหน่ายทางเว็บไซต์ และ 4) ฐานขายสินค้าที่ควบคุ มฉลากโดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่ฉลากไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริ โภค พ.ศ.2522 มาตรา 30 , 31 แต่ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังหาทางออกร่วมกันในการแก้ ไขกฎหมาย ให้ครอบคลุมบุหรี่ไฟฟ้าในทุกมิ ติต่อไป
รศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าบางชนิดที่ผลิตหรื อจำหน่าย โดยมีลักษณะรูปร่างเลียนแบบบุ หรี่ ยังถือเป็นการกระทำความผิด ตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 คือ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อขาย หรือเพื่อจ่ายแจก เป็นการทั่วไป หรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรู ปลักษณะทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประเภทบุหรี่ซิกาแรต หรือบุหรี่ซิการ์ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- 43 views