มติชน - กทม.เซ็งกำจัดลูกน้ำยุงล้มเหลว ชี้บ้านมีรั้วไม่ร่วมมือ 'หมอประเสริฐ'เตือนปีนี้ระวังไข้หวัดใหญ่รุนแรง เฝ้าระวังไข้เลือดออก ไอกรน คอตีบ โรคหัด ไข้สมองอักเสบ ไข้หวัดนก กลับมาระบาดอีก
หลังจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่าสาเหตุที่ประเทศไทยพบปัญหายุงชุกชุมเพราะเป็นช่วงรอยต่อจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน โดยส่วนใหญ่เป็นยุงรำคาญ ที่สามารถก่อโรคไข้สมองอักเสบได้นั้น
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ปัญหานี้ สธ.ไม่ได้นิ่งนอนใจ และต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า ยุงรำคาญจัดเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบเจอี หรือ Japanese encephalitis (JE) ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้วตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายคนกังวลว่าจะมีโอกาสเกิดไข้สมองอักเสบได้หรือไม่ ขอชี้แจงว่าข้อเท็จจริงย่อมมีโอกาส เนื่องจากไข้สมองอักเสบเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 7 สาเหตุเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน จึงเป็นเหตุให้ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้สมองอักเสบประมาณปีละ 400-700 ราย และมีผู้เสียชีวิต ปีละ 20 รายประมาณปีละ 400-700 ราย และมีผู้เสียชีวิต ปีละ 20 ราย
"ไข้สมองอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่จากยุงรำคาญอย่างเดียว ในการป้องกันต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยกรมควบคุมโรคได้ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) รณรงค์ให้ความรู้ครอบครัว นำเด็กเล็กไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ โดยสามารถไปฉีดได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านไม่เสียค่าใช้จ่าย" นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า นักระบาดวิทยากังวลว่าไข้สมองอักเสบอาจกลับมาพบมากขึ้นอีก หากยังไม่มีระบบการเฝ้าระวังที่ดีพอ ในการเฝ้าระวังต้องป้องกันทั้งยุงรำคาญและยุงลาย โดยเฉพาะยุงลายที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก จะเร่งรณรงค์ในช่วงหน้าร้อนก่อนเข้าสู่ฤดูฝน เนื่องจากยุงลายจะชอบน้ำใสที่อยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง ต่างจากยุงรำคาญที่อยู่ในท่อระบายน้ำสกปรก โดยทั้งหมดต้องรณรงค์ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ
ที่สถาบันบำราศนราดูร ศ.เกียรติคุณ นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค สธ. กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557 เรื่อง "สุขภาพไทย สุขภาพอาเซียน" ว่า ในปี 2557 โรคที่ต้องกังวลคือโรคเก่าที่กลับมา ทั้งไข้2557 โรคที่ต้องกังวลคือโรคเก่าที่กลับมา ทั้งไข้เลือดออก ไอกรน คอตีบ โรคหัด ไข้สมองอักเสบ รวมถึงไข้หวัดนก ทั้งหมดต้องอยู่ที่การเฝ้าระวัง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบเฝ้าระวังโรคที่ดี ช่วงนี้จะพบเชื้อไข้หวัดใหญ่มากขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์อ่อนแอลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก
น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงว่า ในการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.สำนักอนามัยได้รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกว่า ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก แต่ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินการส่วนใหญ่หลังได้รับรายงานการพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลเอกชน หากผู้ป่วยที่บ้านมีฐานะหรือบ้านมีรั้วจะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เข้ากำจัดหรือควบคุมยุงลายในบริเวณบ้าน สำนักอนามัยจึงแก้ปัญหาด้วยการส่งไปรษณียบัตรแจ้งเบอร์โทร.ติดต่อกลับไว้
"ที่ผ่านมาสำนักอนามัย กทม.ได้ใช้มาตรการ 5 ป.เป็นมาตรการป้องกันการเกิดโรค ได้แก่ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ ในสถานที่ 5 ร. ซึ่งเป็นแหล่งเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อ ประกอบด้วย โรงเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน โรงทาน ซึ่งสำนักอนามัย ได้ดำเนินมาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีมาตรการป้องกันล่วงหน้าด้วยการเน้นควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยง ส่วนมาตรการระยะการระบาดโรคไข้เลือดออก เน้นควบคุมโรคเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยรายแรกภายใน 24 ชั่วโมง จัดทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เข้าดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข และ อาสาสมัครลงพื้นที่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย และสำนักงานเขตพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่" น.ส.ตรีดาวกล่าว
ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 5 มี.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--
- 20 views