ไทยแชมป์แม่วัยใสของเอเชีย ลูกเสี่ยงพิการแต่กำเนิด แถมเจอปัญหาดาวน์ซินโดรม ด้านสาววัยทำงานเจอปัญหาไม่วางแผนการมีบุตร ได้รับโฟเลตน้อย ลูกเสี่ยงพิการเช่นกัน จี้ สธ.แจกโฟเลตฟรีแบบต่างประเทศ เผยมะกันแจกโฟเลตช่วยลดเด็กพิการแต่กำเนิดได้ 50-75%
เมื่อเวลา 10.00 น ที่ รร.เดอะสุโกศล พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย)แถลงข่าวเรื่อง “รักไม่พร้อม: จุดเริ่มต้นความพิการแต่กำเนิด” ว่า ปัจจุบันสถานการณ์แม่วัยรุ่น สูงเป็นลำดับหนึ่งของเอเซีย จากสถิติพบแม่อายุน้อยที่สุด 14 ปีมีลูกออกมาเป็นดาวน์ซินโดรม นอกจากนี้ความเสี่ยงของแม่วัยรุ่นยัง เมื่อลูกเกิดมาเด็กน้ำหนักตัวน้อย เสี่ยงต่อโรคหัวใจพิการ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตเสี่ยงดื่มเหล้า สูบบุหรี่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามความพิการแต่กำเนิดมีผลการศึกษาทางวิชาการแล้วว่าสามารถป้องกันได้ ในรายที่จะเป็นพ่อแม่คนต้องเตรียมความพร้อมที่สำคัญคือด้านโภชนการ โดยเฉพาะผู้หญิงควรได้รับโฟเลตตั้งแต่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีมากในผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ เนื้อสัตว์ และตับ แต่พบว่าผู้หญิงไทยรับประทานโฟเลตซึ่งมีในอาหารไม่พอเพราะนิยมอบริโภคอาหารจังก์ฟู้ด จึงพบอาการซีดในแม่ ทารกไม่แข็งแรง มีอาการชักเพิ่มขึ้น ทั้งนี้วัยเจริญพันธ์ของผู้หญิงที่เหมาะสมคือ 25-35 ปี
นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด(ประเทศไทย) กล่าวว่าการป้องกันความพิการแต่กำเนิดหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรรับโฟเลตก่อนตั้งตั้งครรภ์เพราะ 28 วันแรกหลังปฏิสนธิมีความสำคัญมากเพราะเป็นช่วงการสร้างเซลล์สมองของทารก ดังนั้นหากโฟเลตไม่พอความเสี่ยงภาวะพิการจะสูงขึ้น ซึ่งการได้รับโฟเลตอย่างพอเพียงจะช่วยป้องกันเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดได้ 50-70 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้ในสหรัฐอเมริกาได้แจกโฟเลตในเด็กชั้นมัธยมมา 20 ปีแล้วพบวา ปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดลดลงเกือบครึ่ง ขณะที่ประเทศจีนแจกโฟลเลตให้บคู่แต่งงานที่มาจดทะเบียนสมรส รวมทั้งในพม่าและเนปาลแจกโฟเลทให้กับเด็กผู้หญิงในระดับมัธยม รวมทั้งประเทศอินเดียก็สุ่แจกโฟลเลตให้ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เช่นกัน
พญ.พรสวรรค์ กล่าวว่า โฟเลตนั้นมีราคาเพียงเม็ดละ 10 สต. -1 บาทผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ควรรับประทาน สัปดาห์ละ 5 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นไวตามินละลายในน้ำไม่สะสมในตับและไต ขับทางปัสสาวะจากการศึกษาไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามจากการทดลองให้โฟเลตกับเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรมพบว่า จากข้อสังเกตพบว่าอาการทางสมองของเด็กดีขึ้น แต่ยังไม่ได้สรุปเผยแพร่ออกมาเป็นข้อมูลทางวิชาการ
เพื่อป้องกันความพิการแต่กำเนิดหน่วยงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ร่มกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 8 อาทิแห่งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้ความรู้เรื่องการป้องกันความพิการแต่กำเนิด เช่น การให้โฟเลตแก่เด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่ในโรงเรียนมัธยม หรือตรวจคัดกรองในคู่สามีภรรยา เป็พื่อให้เกิดการวางแผนเชิงนโยบายในระดับมหภาค ใน 3 ปีแรก (2554 – 2557) นำร่องใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ความพิการตั้งแต่กำเนิด เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรม การได้ยาระหว่างตั้งครรภ์ โภชนาการไม่เหมาะสม ฯลฯ ปัจจุบันความพิการสามารถเกิดขึ้นได้กว่า 7,000 ชนิด แต่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง และเครือข่ายต่างๆ ได้จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาล และประชาชน 5 กลุ่มโรคที่พบบ่อย คือ 1.อาการดาวน์ 2.หลอดประสาทไม่ปิด 3.โรคปากแหว่งเพดานโหว่ 4.แขนขาพิการแต่กำเนิด และ 5.กล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์
- 8 views