Hfocus -ในช่วงที่ประเทศเกิดภาวะวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นด้วยภัยธรรมชาติ อย่างกรณีเหตุการณ์สึนามิ มหาอุทกภัยปี 2554 หรือแม้แต่วิกฤตสถานการณ์ทางการเมืองที่มีการชุมนุม หรือปะทะกันอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนคือการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บของผู้คน การเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ซึ่งนับสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
ตลอดระยะเวลาร่วม 10 วัน ที่ได้ลงพื้นที่ร่วมหน่วยกับแพทย์อาสาของเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ได้มองเห็นปัญหาการจัดการด้านยาในช่วงภาวะวิกฤต ทั้งปัญหายาขาดแคลน และยาล้นเกินความจำเป็น ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการขาดวางแผนและการจัดการที่ดี รวมไปถึงการขาดสนันสนุนด้านยาและเวชภัณฑ์จากภาครัฐ ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้น
"ยาที่จ่ายให้กับผู้ป่วยในศูนย์แพทย์อาสาพื้นที่ชุมนุม ทั้งที่ศูนย์ราชการและสนามม้านางเลิ้งส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับจากการบริจาค และจากโรงพยาบาลชุมชนที่ส่งทีมแพทย์เข้าช่วย" ดร.นิยดา เริ่มเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นและบอกต่อว่า ยาที่ได้มาขึ้นอยู่กับผู้บริจาคว่าจะนำยาอะไรมามอบให้ บางครั้งทำให้ยาที่รับมาไม่ตรงกับความต้องการใช้ในพื้นที่ หรือมีจำนวนมากเกินไป อย่างยาพาราเซตามอนที่มีคนนำมาบริจาคจำนวนมากและเกิดปัญหายาล้น ขณะที่ยาที่จำเป็นต้องใช้กลับไม่เพียพอ กลายเป็นปัญหาที่ต้องจัดการ
ดร.นิยดา กล่าวว่า การชุมนุมทางการเมืองถือเป็นเหตุการณ์ที่คาดการณ์ได้ จึงสามารถจัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลไว้ล่วงหน้าได้ รวมถึงการเตรียมความพร้อมยาและเวชภัณฑ์จำเป็นที่ต้องใช้ อย่างกรณีการประกาศเตรียมใช้แก๊สน้ำตาของฝ่ายรัฐเพื่อผลักดันผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีสารเคมีประกอบที่ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเตรียมยาเพื่อปฐมพยาบาล เน้นที่ตาและผิวหนังเบื้องต้นให้เพียงพอ ส่วนในรายที่อาการรุนแรงจึงส่งต่อรักษายังโรงพยาบาลใกล้เคียง
เช่นเดียวกับวันที่ 9 ธ.ค. ที่ทางกลุ่มผู้ชุมนุมมีการเดินเท้าระยะทางไกลเพื่ิอมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล ที่มีการประกาศข่าวล่วงหน้า ซึ่งทีมแพทย์ต้องมีการประเมินสถาณการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมดูแลผู้่วยเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยจากภาวะเหนื่อย ขาดน้ำ หรือเป็นลมจำนวนมาก จึงต้องเตรียมจำพวกยาดมและเกลือแร่จำนวนมากเพื่อให้เพียพอ รวมถึงยาจำพวกรักษาความดัน เป็นต้น
"ในวันที่มีการใช้แก๊สน้ำตา ยอมรับว่ายาที่จำเป็นต้องใช้เพือลดการระคายเคืองตานั้นไม่เพียงพอ ต่างจากวันที่เดินเท้าระยะไกล ที่มีการเตรียมความพร้อมมากกว่า มีการการดูแลผู้ชุมนุมที่ร่วมเดินขบวนอย่างทั่วถึง ด้วยยุทธวิธีให้หน่วยอาสาเดินเท้าร่วมขบวนเพื่อกระจายยา" ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา กล่าว
ดร.นิยดา กล่าวว่า ในการตั้งศูนย์รักษาพยาบาลกรณีชุมนุมทางการเมืองนั้น แนวทางที่ถูกต้องคือต้องจัดตั้งศูนย์อยู่ภายในพื้นที่การชุมนุมหรือต้องใกล้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงบริการ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนี้ ทางกลุ่มแพทย์อาสาไม่เพียงแต่ตังศูนย์ในพื้นที่ชุมนุมเท่านั้น แต่มีการปรับย้ายศูนย์ไปกับการเคลื่อนย้ายพื้นที่ชุมนุมด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์ราชการ สนามม้านางเลิ้ง และถนนราชดำเนิน ต่างจากหน่วยแพทย์ของภาครัฐที่ไม่รู้ตั้งอยู่จุดไหน ทำให้แต่ละวันมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก
ทั้งนี้สำหรับภาวะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามศูนย์แพทย์อาสา ส่วนใหญ่จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอจากภาวะความเครียด ทำให้ต้องการยาเพื่อรักษาอาการเหล่านี้ ส่วนอาการท้องร่วงนั้นพบน้อยมาก เพราะมีการดูแลด้านอาหารการกินที่ดี รวมถึงสุขอนามัย
อย่างไรก็ตามการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องมนุษยธรรม ไม่ว่าผู้ป่วยผู้บาดเจ็บจะอยู่ฝ่ายใดต้องดูแล ซึ่งที่ผ่านมาไม่แต่เฉพาะผู้ชุมนุมเท่านั้นที่เข้ารับบริการภายจากศูนย์แพทย์อาสา แม้แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐอย่างตำรวจเราก็ดูแลเช่นกัน ซึ่งภาครัฐเองที่ดูแลประชาชนทั้งประเทศ ในกรณีเกิดการชุมนุมก็มีหน้าที่สนับสนุนการรักษาพยาบาลดูแลผู้ชุมนุม ถึงจะเป็นการต่อต้านรัฐบาลก็ตาม แม้จะไม่ส่งทีมแพทย์ลงพื้นที่ก็ควรสนันสนุนยาและเวชภัณฑ์ ไม่ใช่ปล่อยให้วิ่งหาหรือระดมสนับสนุนกันเอง
"ข่วงที่ผ่านมาเรามีการระดมความช่วยเหลือด้านยาผ่านทางเฟสบุ๊ค หากยารายการใดขาด ไม่เพียงพอก็จะมีการประสานเพื่อขอความช่วยเหลือก่อน นอกจากยาแล้วยังลมีการระดมกำลังด้านการรักษาพยาบาล เพื่อให้หมุนเวียนช่วยเหลือกัน" ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา กล่าว และว่า ต้องยอมรับว่าการประสานงานของทางภาครัฐค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะก่อนวันที่ 4 ธ.ค. ได้ประสานไปยังหน่วยงายที่เกี่ยวข้องเพื่อขอร่วมลงพื้นที่ยังศูนย์รักษาพยาบาลผู้ชุมนุม แต่ผ่านไป 2 วันก็เงียบหาย จึงลงพื้นที่เองจนพบคนในเครือข่ายวิชาชีพที่รู้จักกัน และได้เข้าร่วมดูสุขภาพผู้ชุมนุม
ดร.นิยดา กล่าวว่า นอกจากการเตรียมความพร้อมระบบรักษาพยาบาลกรณีการชุมนุม แล้ว กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่รุนแรง เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ต้องมีการจัดทำระบบความพร้อมไว้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการจัดทำระบบรองรับไว้แล้ว แต่มองว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งเห็นได้จากกรณีน้ำท่วมปี 2554 ที่พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต่างช่วยเหลือกันเอง เพราะการดูแลจากภาครัฐที่ไม่ทั่วถึง