ผู้ป่วยโรคตา แฮบปี้จากการ ปฏิรูประบบบริการของกระทรวงสาธารณสุขทำให้ผู้ป่วยไม่ต้อง เดินทางไกล รักษาในเขตบริการ สุขภาพใกล้บ้าน รวดเร็ว ไม่ต้องรอ ผ่าตัดนานมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลใน กทม. ขณะนี้เปิดให้บริการทั้ง 12 เขต บริการสุขภาพ หวังลดความพิการทางสายตาคนไทย

ผลสำรวจของสมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยในปี 2559-2550 พบว่าคนไทยมีปัญหาตาบอด ร้อยละ 0.59 พบในเพศชายร้อยละ 1.03 มากกว่าเพศหญิงซึ่งพบร้อยละ 0.29 ส่วนสายตาเลือนราง พบร้อยละ 1.57 ในเพศหญิงร้อยละ 1.93 มากกว่าเพศชายซึ่งพบร้อยละ 0.93 ความพิการสายตาทุกประเภทจะ เพิ่มขึ้นตามอายุ และเพิ่มในอัตราสูง เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป

ขณะนี้โรคตาที่เป็นปัญหา สาธารณสุขในบ้านเราพบ 5 กลุ่มโรค ได้แก่ 1) ภาวะตาบอดจากโรคต้อกระจก (Blinding Cataract) ตามนโยบายการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์ที่ดีได้มาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลใน กทม.และโรงเรียนแพทย์รวมทั้งลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดต้อกระจกโดย มีเป้าหมายที่จะลด ความชุกของตาบอดน้อยกว่าร้อยละ 0.5

กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนให้มี มีศูนย์โรคตา (Excellence Eye Center) ในเขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขตครอบคลุมทั่วประเทศ เปิดให้บริการประชาชนในโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)

          เขต 1 โรงพยาบาลลำปาง จ.ลำปาง,  โรงพยาบาลเชียงรายประชา-  นุเคราะห์ จ.เชียงราย   เขต 2 โรงพยาบาลพุทธชินราช   จ.พิษณุโลก

          เขต 3 โรงพยาบาลสวรรค์ประรักษ์

          จ.นครสวรรค์

          เขต 4 โรงพยาบาลสระบุรี จ.สระบุรี

          เขต 5 ราชบุรี จ.ราชบุรี

          เขต 6 โรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี

          เขต 7 โรงพยาบาลขอนแก่น

          จ.ขอนแก่น

          เขต 8 โรงพยาบาลอุดรธานี

          จ.อุดรธานี

          เขต 9 มหาราชนครราชสีมา

          จ.นครราชสีมา

          เขต 10 อุบลราชธานี

          จ.อุบลราชธานี

          เขต 11 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

          จ.สุราษฎร์ธานี

          เขต 12 โรงพยาบาลหาดใหญ่

          จ.สงขลา, โรงพยาบาลยะลา  จ.ยะลา

ในช่วงปี 2556 - 2557  มีเป้าหมาย ลดการตาบอดสาเหตุจากต้อกระจก และเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทุกหน่วยบริการจะมีการจัดบริการ ที่เชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ (รพ.สต. และ อสม.)จนถึงระดับทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ (ศูนย์เชี่ยวชาญ)ด้วยการ เพิ่มการคัดกรองวัดสายตาในผู้ป่วย อายุ 60 ปีขึ้นไป หากพบปัญหาให้ ส่งต่อเข้ารับการผ่าตัดตาต้อกระจก หรือเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพของตนภายใน 30 วัน

ในช่วงปี 2558 - 2560  กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าเพิ่มศักยภาพสถานบริการในการตรวจสภาพปัญหาโรคตา ในกลุ่มอื่นๆ ให้ครอบคลุมให้  รพศ. ในเขตบริการสุขภาพไม่น้อยกว่า 1 แห่ง ตรวจรักษาโรคจอประสาทตาผิดปกติ ในเด็กคลอดก่อนกำหนดได้ จะเห็นว่า การปฏิรูประบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้ นโยบายของนายแพทย์ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เพิ่มมาตรการเชิงรุกให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว รักษาโรงพยาบาล ใกล้บ้าน ลดความพิการทางสายตา ป้องกันตาบอด นับเป็นการทำงาน ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของประชาชน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ส.ค. 2556--