เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ห้องประชุม โรงไฟฟ้าจะนะ อ.จะนะ จ.สงขลา เครือข่ายแพทย์ชนบทจังหวัดสงขลา จัดสัมมนาเรื่อง "การทำพีฟอร์พีอย่างไร ไม่ให้มีความเสี่ยงต่อการทุจริต โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์" มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน หัวหน้าฝ่ายบริหาร เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและเครือข่ายแพทย์ชนบทจาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล พัทลุง และตรัง) เข้าร่วมกว่า 300 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจการตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และการใช้ค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือ "พีโฟร์พี (P4P)"
ขณะเดียวกันครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างออกแถลงการณ์ ว่า เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็นมาตรการเพื่อการคงอยู่ของบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพในชนบท ภาระงานจะมากหรือน้อยก็ต้องมีบุคลากรให้เพียงพอ เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ส่วนพีฟอร์พีมีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้บุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่เน้นเชิงปริมาณเป็นหลัก เหมาะกับพื้นที่มีคนพอมากเกินงาน แต่ไม่เหมาะกับโรงพยาบาลชุมชนที่ยังมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร และจะเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานที่ทำด้วยใจ เป็นการทำงานเพื่อเงิน ดังนั้น "พีโฟร์พี" เป็นเครื่องมือที่มีวัตุประสงค์แตกต่างกัน ไม่ใช่สิ่งที่จะทดแทนกันได้
"จึงขอเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขใช้ระบบ '1 กระทรวง 2 ระบบ' กล่าวคือ- โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปใช้ระบบ พีฟอร์พี ส่วนโรงพยาบาลชุมชนใช้ระบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินงบประมาณให้เพียงพอ หากโรงพยาบาลใดที่ทดลองทำ พีโฟร์พีเพิ่มเติมก็ให้เป็นความสมัครใจ"
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 3 พฤษภาคม 2556
- 1 view