จากกรณีกระทรวงสาธารณสุขจะปรับขึ้นอัตราค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐโดยอ้างว่าไม่ได้ปรับขึ้นอัตรามานานและต้นทุนต่างๆที่เพิ่มขึ้น น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวในรายการเจาะข่าวเช้านี้ (ช่วงวิเคราะห์เจาะลึก) ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ว่า ผู้บริโภคได้รับผลกระทบกับการขึ้นราคาค่าบริการต่างๆ มามากแล้ว ส่วนอัตราค่าบริการในโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนในประเทศไทยนั้น หากเทียบกับอาเซียน ถือว่าไม่ได้ถูก หรือหากเทียบกับรายได้ประชากรนั้น พบว่าค่าบริการจะอยู่ในกลุ่มปานกลาง-สูง แต่ประชาชนไม่ทราบค่าบริการที่แท้จริงนั้นต่ำหรือสูง แต่ประชาชนรู้เพียงว่าหากไปโรงพยาบาลเอกชนคงล้มละลาย
ส่วนประกันสังคม บัตร 30 บาท ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ประชาชนสิบล้านคนอยู่ในระบบ จะไม่ได้รับผลกระทบตามที่นพ.ประดิษฐ สินธวรงค์ รมว.สาธารณสุข ระบุนั้น ไม่จริง เพราะกระทรวงสาธารณสุขขึ้นราคาค่าบริการนั้น สมมุติว่ามีเงิน 100 บาทเป็นค่ารักษาพยาบาล 100 บาท เป็นค่ารักษาหรือจ่ายกระทรวง 50 บาท หากกระทรวงขอขึ้นราคาเฉลี่ยร้อยละ 23 คือขอคิดค่าการรักษา 60 บาท จะเหลือเงิน 40 บาท ที่มีผลในการรักษาพยาบาลด้านอื่นๆหากไม่เพิ่งเงิน หรือหากรัฐบาลไม่เพิ่มงบในการรักษาพยาบาลจะมีผลกระทบด้านคุณภาพแต่เมื่อกระทบแล้วผู้บริโภคไม่ได้จ่ายเงินเองแต่ความจริงต้องทุ่มเงิน 20 บาท เพื่อให้ได้รับการบริการเป็นเช่นเดิม และหากประชาชนมีประกันชีวิตก็จะมีการจ่ายเพิ่มเบี้ยประกันด้วย
น.ส.สารีกล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ระบุว่า หากจะทำสิ่งใดที่เป็นมาตรการของผู้บริโภค ต้องรับฟังความเห็นตัวแทนหรือองค์กรอิสระที่คุ้มครองผู้บริโภคแต่ความจริงพบว่าไม่มีหน่วยงานใดมาขอความเห็นเลยหากกระทรวงปรับขึ้นราคาจริง โรงพยาบาลเอกชนต้องปรับราคาตามด้วยแน่นอน
เมื่อถามว่าแต่ใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้ากระทรวงสาธารณสุขจะประกาศใช้ราคาใหม่แต่ตอนนี้รัฐสภากำลังพิจารณาร่างกฎหมายองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 61 นั้น น.ส.สารีกล่าวว่า ไม่มั่นใจว่าจะผ่านหรือไม่ ร่างกฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์ แต่กระทรวงต้องมีหน้าที่ขอความเห็นจากองค์กรว่า จะมีมาตรการปรับขึ้นราคาค่ารักษาพยาบาลองค์กรจะมีความเห็นเช่นใดบ้าง
เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวด้วยว่า กรณีที่กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่าไม่ขึ้นราคามา 10 ปี นั้นไม่ใช่เหตุผล เพราะสอบถามเฉพาะข้าราชการในกระทรวงและอ้างการมีสิทธิขึ้นราคาก็ดำเนินการ หากใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ปัญหาจะลดลง ความเห็นของผู้บริโภคจะนำไปใช้ในการออกนโยบาย
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556
- 1 view