เพียงไม่กี่อึดใจ สังคมไทยจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมือง หลังจากเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในแวดวงการบริการสาธารณสุขเกรงว่าหลังเปิดประชาคมอาเซียน ต่างชาติอาจแย่งชิงรับบริการสุขภาพคนไทย อีกทั้งบุคลากรทางด้านสารณสุขก็ขาดแคลน!!
นพ.ภูษิต ประคองสาย ผอ.สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กล่าวในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2555 ว่า ปัจจุบันไทยให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน 65 ล้านคน แต่หากมีประชาคมอาเซียนจะต้องเตรียมพร้อมการบริการให้แก่คนถึง 575 ล้านคน ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหามาก หากไม่มีความพร้อมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะประเด็นข้อตกลงที่มีการหารือถึงการอนุญาตให้กลุ่มประเทศสมาชิกสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการได้สูงสุดร้อยละ 70 ของบริการภาพรวม ซึ่งรวมถึงบริการสาธารณสุขด้วย ตรงนี้ต้องระวัง เพราะจะส่งผลกระทบต่อคนไทยอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันมีการควบคุมไว้ไม่ให้ต่างชาติลงทุนในประเทศเกินร้อยละ 50 จากบริการทั้งหมด แต่ก็มีพวกนอมินีใช้ชื่อคนไทยแทน และเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อใดจะยิ่งลำบาก เพราะยังไม่มีกฏหมายรองรับ
นพ.ภูษิต บอกด้วยว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต คือปัจจุบันโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ทั้งโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช ก็มีการยกระดับขึ้นอยากให้โรงเรียนแพทย์เหล่านี้คำนึงถึงปรัชญาเดิมที่ตั้งขึ้นเพื่อคนไทย แม้จะยกระดับเป็นเมดิคัล ฮับแต่ขอให้ยึดประชาชนคนไทยเป็นหลักด้วย ไม่เช่นนั้นต้องมีการแยกหน่วยออกไป นอกจากนี้ การเปิดเมดิคัล ฮับ สำหรับแรงงานต่างด้าวและชาวต่างชาติ อาจส่งผลกระทบต่อคนชั้นกลาง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครื ซึ่งจะหาโรงพยาบาลเข้ารักษาตัวยาก ฉะนั้นกระทรวงสาธารณสุขต้องทำงานในเชิงรุก ต้องมีการวางแผนการผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ ไม่ใช่วางแผนสำหรับคนไทยเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาการดึงบุคลากรทางการแพทย์ไปทำงานที่ปประเทศมาเลเซียซึ่งมีการจ่ายค่าจ้างที่แพงกว่าประเทศไทยเท่าตัว ซึ่งประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับ ผศ.จริยา วิทยะศุภร ผอ.โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มองว่า ขณะนี้ไทยถือว่ายังขาดแคลนพยาบ่าลเป็นอย่างมาก แม้โรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งจะมีการผลิตพยาบาลเพิ่มอบ่างต่อเนื่องก็ตาม โดยปัจจุบันอัตราส่วนของพยาบาลกับผู้ป่วยอยู่ที่ 1 ต่อ 600 ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน ขณะที่สหรัฐอเมริกา ปและมาเลยเซีย อยู่ที่ 1 ต่อ 200 ซึ่งอย่างน้อยไทยควรมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 500 แต่ยังทำไม่ได้ หากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อาจจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนพยาบาล
ขณะที่ พญ.ภาวนา อังคสิทธิ์ รองผอ.สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า เรื่องปัญหาพยาบาลขาดแคลนนั้น กระทรวงสาธารณสุขกำลังหาทางแก้ไขอยู่แต่การไหลออกของพยาบาลวิชาชีพเป็นเรื่องที่กังวลกันมากกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากจากสถิติที่มีอยู่พยาบาลไทยจะไปทำงานทางแถบยุโรปมากกว่าทางแถบเอเชีย
"ปัจจุบันประเทศที่ผลิตพยาบาลส่งออกไปมาที่สุดในโลกคือฟิลิปปินส์ เชื่อว่าหลังเปิดประชาคมอาเซียนพยาบาลฟิลิปปินส์จะกระจายไปทั่ว ตรงนี้ต้องยอมรับว่าเขาได้เปรียบพยาบาลไทยเรื่องการสื่อสาร เรื่องภาษา หลายๆ ประเทศน่าจะจ้างเขามากกว่า ขณะที่พยาบาลไทยได้เรื่องทักษะและบริการ" พญ.ภาวนา กล่าว
ด้าน น.ต. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรรัตน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมีภารกิจในการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมของระบบสนับสนุนบริการสุขภาพของประเทศไทยพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ 8 ข้อ ด้วยกันคือ 1.การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้าบริการการค้าและการลงทุน 2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองทางสังคม 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ 4.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5.การพัฒนากฏหมายกฏและระเบียบ 6. การสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน 7.การเสริมสร้างความมั่นคง 8.การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสของอาเซียน
"ตอนนี้เรามีการเตรียมความพร้อมรองรับการเข้ามาของคนรอบๆ ประเทศเชื่อว่าโรงพยาบาลที่อยู่ตามแนวชายแดน และช่องผ่านแดนทุกที่สามารถรองรับการเปิดประตูอาเซียนได้ แต่ที่มีความพร้อมมากที่สุดตอนนี้คือทางภาคใต้ แต่ที่มีความพร้อมมากที่สุดตอนนี้คือทางภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.สงขลา มีศักยภาพเป็นเมืองรักบริการสุขภาพ เมืองชายแดนเพื่อการลงทุน เมื่อท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสของอาเซียนมีประชากรรวม 602 ล้านคน เมื่อมีการจัดตั้งเออีซีแล้ว บริการทางการแพทย์จะมีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการการรักษาพยาบาลของอาเซียนได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 1 มกราคม 2556
- 8 views