แทบไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันเมืองไทยยังพบปัญหาการเข้าไม่ถึงระบบบริการสาธารณสุข กระทั่งมีผู้ตกเป็นเหยื่อ "หมอเถื่อน" มากมาย
อย่างที่เกิดขึ้นใน จ.ตาก มีกลุ่มคนแอบอ้างว่าได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขออกตรวจสุขภาพนักศึกษาในวิทยาลัยการอาชีพ จ.ตาก โดยคิดค่าหัวคนละ 100 บาท จากจำนวนนักศึกษากว่า 1,600 คน โดยใช้เช็มฉีดยาเพียงแท่งเดียวเจาะเลือดนักศึกษาทุกคน เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ จนนักศึกษาผวากลัวจะติดเชื้อเอชไอวี ตามติดๆ มาด้วยข่าวร้ายที่เกิดกับ "น้องกระแต" อาทิตยา เอี่ยมใหญ่ สาวพริตตี้ วัย 33 ปี หลังจากใช้บริการหอมเถื่อนฉีดสารเสริมสะโพก!!
พิษภัยจาก "หมอเถื่อน" เหล่านี้ น.ต.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธบิดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า สถานการณืที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นแพทย์ไปทำการรักษาพยาบาลกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการตระเวนไปตามหมู่บ้านหรือจะมีสถานที่นั้น หากมองย้อนหลังไป 10 ปี จะมีจำนวนตัวเลขที่มากขึ้นอย่างน่าตกใจ และสถานการณ์ก็จะมีแนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย จึงอยากขอความร่วมมือจากประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสเพื่อเข้าไปตรวจสอบ ตลอดจนผุ้ที่ได้รับผลกระทบจาก "หมอเถื่อน" อยากขอให้มาร้องเรียนจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
"ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารนั้นรวดเร็วมาก ผิดจากสมัยก่อน ประกับกับภาวะการเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชนมีมากขึ้นขณะที่แพทย์ผู้ให้การรักษาไม่ทั่วถึงหรืออาจไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยต้องเสาะแสวงหาช่องทางที่จะหาทางดูแลรักษา เมื่อมีช่องโหว่ตรงนี้ขึ้นมาก็จะทำให้หมอเถื่อน หมอเร่ เกิดขึ้นมา อย่างโรคมะเร็งหรือโครที่รักษาไม่ได้แล้ว" น.ต.บุญเรือง ยกตัวอย่าง
หากมองย้อนไปเมื่อปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขสามารถจับกุม "หมอเถื่อน" ได้กว่า 10 ราย แต่ปีนี้จับได้มากกว่า 30 รายแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งพบปัญหาเรื่องทำแท้งมากที่สุด รองมาก็เรื่องการเสริมความงาม นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลักลอบขายยาลดความอ้วน วิตามินที่เสริมสร้างให้ผิวขาว ผ่านทางอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ขณะที่ "หมอเถื่อน" ในภูมิภาคอื่นๆ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ อย่า โรคมะเร็ง, เบาหวาน, เนื้องอกต่างๆ ฯลฯ รวมไปถึงการรักษาตามความเชื่อท้องถิ่นการทรงเจ้าเข้าผีด้วย
สถานการณ์หอมเร่ในจังหวัดก็เพิ่มมากขึ้น มีทั้งหมอรักษาฟัน ทำฟันปลอม, หมอรักษาตา ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปสุ่มเตรวจสอบผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต ผู้ที่ใช้สารหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการอนุญาต หรือการรับรองจาก อย. ก็จะดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายทันที โดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย่าง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 16 กับ 24 มีโทษดำเนินการกับผู้ที่ดำเนินการเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาต มีอัตราโทษปรับ 6 หมื่นบาท และจำคุก 3 ปี ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ระวังโทษทั้งจำทั้งปรับ
น.ต.บุญเรือง ยอมรับว่า ในเรื่องกฎหมายหากเทียบกับต่างประเทศนั้น ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะมีการฟ้องร้องกันค่อนข้างรุนแรงทั้งที่เป็นคดีอาญาและมีบทโทษรุนแรงเหมือนกัน จึงอยากสร้างความตระหนักและความเข้าใจกับประชาชนให้มากขึ้น อย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ ต้องมีความเข้าใจและรู้ถึงวิธีการตรวจสอบด้วย
"ทุกวันนี้สังคมบ้านเราเป็นสังคมไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารมีการกระจายไปแบบรวดเร็ว มีการโฆษณาชวนเชื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนหมู่มาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ต้องการรักษาโรค และเสริมความงาม ยิ่งมีการโฆษณาทุกวัน ยิ่งเพิ่มความมั่นใจในทางที่ผิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อในที่สุด" น.ต.บุญเรือง กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: นสพ.คมชัดลึก วันที่ 24 ตุลาคม 2555
- 39 views