กพย.หนุนกระทรวงการคลังยกเลิกการให้เบิกกลูโคซามีน ชี้เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่การรอนสิทธิผู้ป่วย

ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศยกเลิกการให้เบิกจ่ายกลูโคซามีนสิทธิรักษาพยาบาลของสวัสดิการข้าราชการนั้น ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี  ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า จากการทำงานของ กพย. ซึ่งเฝ้าระวังระบบยาที่มีผลกระทบต่อประชาชนในมิติต่างๆ ได้ติดตามเรื่องที่มาโดยตลอด ขอสนับสนุนว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง

“เมื่อทบทวนผลการศึกษาวิจัยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่าประสิทธิภาพของยาไม่แน่ชัด ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่คุ้มค่าที่จะใช้ นอกจากนี้ เป็นการทบทวนประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาที่มีความเข้มงวดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา คือหลังการทบทวนของคณะกรรมการวิชาการแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อและกระดูก ได้ทำการศึกษาทบทวนซ้ำตามที่ได้ทำเรื่องขอมา แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานใหม่ใดๆที่จะมาหักล้างข้อมูลที่ได้ทบทวนไว้เดิม” 

ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ระบุว่า การที่ยังคงมีการสั่งใช้ยานี้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ให้ผลการรักษาไม่ชัดเจน อาจก่อผลเสียในการทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคหรือสาเหตุหลักที่ล่าช้า ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องช้าลงก็เป็นได้

“เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของการรอนสิทธิผู้ป่วยแต่อย่างไร แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่างหาก เพราะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพอื่นก็ไม่เคยได้รับยานี้มาก่อน เนื่องจากคณะผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติมองว่ายานี้ไม่ควรได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพราะความไม่ชัดเจนของประสิทธิผลรวมทั้งไม่คุ้มค่าที่จะใช้”

การออกมาประกาศไม่ให้ราชการเบิกจ่ายยานี้นอกจากจะเป็นการส่งสัญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยในระบบราชการแล้ว  ยังจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปที่ควรพึงพิจารณาว่ายานี้ไม่ก่อประโยชน์คุ้มค่า หากนำไปรักษาโรคข้อเสื่อม และขอเน้นว่าผู้ป่วยโรคนี้คงต้องมองหาการรักษาที่ถูกวิธีแทนที่จะหวังว่ากินยานี้แล้วจะได้ผล ผศ.ดร.นิยดากล่าว

ทางด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมองว่า ถือเป็นความก้าวหน้าของกรมบัญชีกลาง ที่ยืนยันไม่ให้เบิกกลูโคซามิน เพราะการตัดสินใจในเรื่องที่ผูกพันกับงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศต้องตั้งอยู่บนข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจน ที่ผ่านมา รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการใช้ยานี้ไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาทต่อปี และทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมกับระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

“การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการสนับสนุนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพของรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรดาผู้ป่วย-ผู้บริโภคถูกแพทย์พาณิชย์ ที่หากินร่วมกับ บรรษัทยาข้ามชาติปั่นหัว ทำให้เชื่อว่า ยาดีต้องราคาแพงและแอบจ่ายยาฟุ่มเฟือยให้กับผู้ป่วยมาตลอด  จนเหมือนกับเราเสพติดยาทั้งที่เป็นผลร้ายกับผู้ป่วยเอง แต่เป็นการทำกำไรบนชีวิตประชาชน”

บ�7�<��s�n�คถูกแพทย์พาณิชย์ ที่หากินร่วมกับ บรรษัทยาข้ามชาติปั่นหัว ทำให้เชื่อว่า ยาดีต้องราคาแพงและแอบจ่ายยาฟุ่มเฟือยให้กับผู้ป่วยมาตลอด  จนเหมือนกับเราเสพติดยาทั้งที่เป็นผลร้ายกับผู้ป่วยเอง แต่เป็นการทำกำไรบนชีวิตประชาชน