หมายเหตุ:ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง พูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สอาดโฉมผ่านรายการ จับชีพจรประเทศไทย ทีเอ็นเอ็น24และ สยามรัฐเผยแพร่มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

ดร.นฤมล สอาดโฉม : สัปดาห์นี้มีประเด็นที่น่าสนใจที่ท่านผู้ชมอาจยังไม่ได้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดแต่ท่านวิชาการประจำรายการของเรา ท่าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง จะมาเล่าให้ฟังค่ะอาจารย์คะ วันนี้มีข่าวสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของนโยบายมาตรการสุขภาพทั่วหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค หรือบัตรทองประเด็นที่นำมาให้ดูคือจะมีการกลับมาเก็บ 30 บาทในวันที่ 1 กันยายน2555

ดร.นฤมล สอาดโฉม : อย่างนี้ต้องเล่าประวัติศาสตร์ที่เริ่มตั้งแต่ปี2545

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ :ประเด็นคืองานนี้ไม่ค่อยเป็นประชานิยมเท่าไหร่ อันดับแรกคือมีความเห็นที่แตกต่างกัน อันดับ 2 คือความเห็นที่แตกต่างกันสะท้อนให้เห็นพื้นฐานของประเทศไทย การทำนโยบายทางด้านสังคมที่จะทำทำในอนาคตว่าจะเดินไปทางไหน

ดร.นฤมล สอาดโฉม :นี่คือเรื่องสำคัญว่า จะมีการเก็บ 30 บาทหรือไม่เก็บ 30 บาท

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : อันนี้คือตัวอย่างที่เราเดินกลับไปกลับมา พยายามดูว่าข้างหน้าเราจะทำอย่างไร

ดร.นฤมล สอาดโฉม :โครงการนี้มีระยะเวลา 10 ปีแล้วไม่ใช่ของใหม่

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ครับ10 ปีเต็ม จากปี 2545 ก็เก็บตามที่มีโครงการ 30 บาทประกันสุขภาพแห่งชาติ แนวคิดตอนนั้นที่ทำคือต้องร่วมจ่าย 2. คืออยากให้เขาเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของฟรี เป็นการเข้าไปซื้อบริการ แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ใช่คนไข้อนาถา เมื่อก่อนคนที่เข้าไปคือยากจน ไม่มีเงิน เขามีทางเลือกน้อย คือเข้าไปก็ต้องเป็นคนไข้อนาถา โรงพยาบาลก็ไม่รับต้องซื้อยาทานเอง หรือไปคลินิกข้างบ้าน ซึ่งต้องจ่ายเงินเอง เพราะฉะนั้น การเก็บ 30 บาท ในช่วงนั้นเทียบกับทางเลือกของเขาก่อนหน้านั้นก็ถูก เขาได้รับการรักษาพยาบาลเต็มที่

ดร.นฤมล สอาดโฉม :ตอนนี้เขาจ่าย 30 บาท ส่วนต่างที่เป็นค่าใช้จ่ายจริงกับโรงพยาบาลล่ะคะอาจารย์

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : รัฐบาลเป็นคนรับ มาจากเงินภาษีครับ แต่อย่าลืมว่าก่อนหน้านั้นรัฐบาลก็จ่ายเงินให้โรงพยาบาลโดยปกติแล้ว

ดร.นฤมล สอาดโฉม : จ่ายอยู่แล้ว เป็นเงินภาษีก้อนนี้ที่ลงไปโรงพยาบาลอยู่แล้ว

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ :ครับถ้าผมจำไม่ผิด ก่อนหน้านั้นเคยจ่ายประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปีพอทำ 30 บาท และดึงอันใหม่มาก็ตกที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาทจ่ายให้เพิ่มขึ้น แต่ทีนี้ 30 บาทที่เกิดขึ้นมันกลายเป็นว่าประชาชนทุกคน เมื่อก่อนนี้อาจารย์อาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่เข้าโรงพยาบาลก็ได้ อาจารย์ไปซื้อยาเอง แต่ตอนนี้30 บาท คือทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบหมด

ดร.นฤมล สอาดโฉม : แสดงว่ามีการเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินรัฐบาลหรือ เงินภาษีออกไปเท่านั้นเองแทนที่จะจ่ายให้โรงพยาบาลโดยตรง แต่จ่ายลงไปที่องกรค์หนึ่งที่เรียกว่า สปสช. แล้ว สปสช.ก็อุดหนุนลงไปที่โรงพยาบาล

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ครับจ่ายจากที่ สปสช. ลงไปตามโรงพยาบาลตามเงื่อนไข ตามการรักษาตามปริมาณการรักษาตามราคาที่ควรจะเป็น

ดร.นฤมล สอาดโฉม :อันนั้นเกิดขึ้นในปี 2545

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ครับพอปี 2549

ดร.นฤมล สอาดโฉม : มีการปฏิวัติเกิดขึ้น ท่านคงจำได้ วันที่ 19 กันยายน 2549

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ครับหมอมงคล ซึ่งขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านก็บอกว่า เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้มากขึ้นก็ยกเลิก 30 บาท

ดร.นฤมล สอาดโฉม : แสดงว่าแนวคิดของท่าน เป็นรัฐสวัสดิการในเรื่องของการประกันสุขภาพจะไปเก็บเขาทำไม 30 บาท ไหนๆรัฐบาลจะอุดหนุนก็อุดหนุนไปเลยแสดงว่า 2549 จนถึงปัจจุบัน 2555 หรือ 6 ปี นี้ประชาชนไม่ต้องจ่ายเลย

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ไม่จ่ายเลย ทีนี้พอวันที่ 1 กันยายน ก็จะกลับมาเก็บ 30 บาท

ดร.นฤมล สอาดโฉม : จะกลับมาเก็บ โดยแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านวิทยา บุรณศิริ

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : แต่พอกลับมาดูก็จะมีความคิดเห็นกันอย่างที่ว่า

ดร.นฤมล สอาดโฉม : มันก็มีดีเบต อย่างเรื่องค่าเงินเฟ้อ

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : เหมือนกัน ทีนี้เมื่อกลับมาดูส่วนที่เขาคิดเห็นลักษณะรัฐสวัสดิการ เขาก็จะบอกว่านี่เป็นสิ่งที่รัฐจ่ายอยู่แล้ว ชาวบ้านไม่ต้องจ่าย อันที่ 2 เวลาที่ทำเก็บ 30 บาทก็จริง แต่เป็นภาระสำหรับคนจนน่ะ เพราะคนพอมีเงินก็จ่าย 30 บาท คนจนก็จ่าย 30 บาทคนจนก็จ่ายเยอะ กว่าในสัดส่วนอันที่ 3 คือไม่เห็นจะไปพัฒนาระบบอะไรเลย

ดร.นฤมล สอาดโฉม : แสดงว่า 30 บาทนี้เข้าตรงไปโรงพยาบาลเลย

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : วิธีเก็บตอนนี้คือใครเก็บ ใครก็เอาไว้

ดร.นฤมล สอาดโฉม : ไม่ต้องส่งหลวง

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ครับไม่ต้องส่งให้ส่วนกลาง คือสามารถเอาไป บริการได้ แล้วก็มีคนบ่นสถานบริการเล็กๆ เขาต้องมีคนมานั่งเก็บเงิน มันก็เป็นค่าใช้จ่ายครับ ทีนี้คนที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ที่จะเก็บก็กลับมาเห็นตรงกันข้ามว่า ร่วมกันจ่ายน่ะ ซึ่งการร่วมจ่ายทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันต่อระบบเขาไม่ได้ไปเพื่อจะไปรับอย่างเดียวเขาไปเพื่อซื้อบริการด้วย และเป็นเจ้าของระบบด้วย แล้วก็มีคนที่ไปจ่ายก็แสดงว่าดีแคร์ตัวเองว่าไม่ได้อนาถานะ ฉันไปจ่ายน่ะ เพราะว่าก่อนหน้านั้นเวลาเราจะไปอนาถาทีลุง ป้า น้า อา ก็ต้องแบกผลไม้แบกอะไรไป มันก็เกิน 30 บาทเราก็คิดว่าเป็นการร่วมจ่าย ทีนี้จุดที่เป็นคิดดิเคิลคือเขาอ้างว่ามันเป็น การพัฒนาระบบขึ้นมาพอสมควรคือระบบนี้คือ เราเก็บตังค์ไป และระบบ 30 บาท ก็เก็บเงินไปเยอะล่ะเงินที่ไปเขาขอ 2-3 เรื่องที่จะเกิดขึ้นคือ ขอรักษาพยาบาลตอนเที่ยง

ดร.นฤมล สอาดโฉม : เขาขอนี่ใครขอคะ

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : เขาขอคือระบบ ระบบเป็นคนบอกว่าถ้าเก็บ 30 บาทการรักษาต้องทำให้ดีขึ้นที่จริงแล้วเป็นคำขอของท่านนายกฯเอง ถ้าเก็บคราวนี้ต้องให้ชาวบ้านเห็นว่าดีขึ้นจริงๆ คุ้มค่า
ดร.นฤมล สอาดโฉม : 30 บาทที่ฉันจ่ายไปนั้น มันได้อะไรกลับมาจริงๆ

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ :อันแรก เปิดตอนเที่ยง อันที่ 2 คือวิธีทำเปลี่ยนล่ะ คือใช้บัตรประชาชนแทน บัตรทองไม่ต้องใช้ ไม่ต้องใช้หลายบัตร อันที่ 3 ที่น่าสนใจคือ เรื่องวิธีการเปลี่ยนโหมดบริการสมมุติ อาจารย์อยู่ร้อยเอ็ด มารับจ้างอยู่ในกรุงเทพฯ อาจารย์ก็ลงทะเบียนว่าเข้าโรงพยาบาล

ดร.นฤมล สอาดโฉม : โรงพยาบาล โน่น นี่ นั่น พอเข้ากรุงเทพฯเขาบอกว่าโอ้...

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : พอเข้ากรุงเทพฯเขาบอกว่าเปลี่ยนได้สามารถเปลี่ยนได้ 2 ครั้งต่อปีตอนนี้สามารถเปลี่ยนได้ 4 ครั้งต่อปี จะไปรักษาที่ไหนก็ได้
ดร.นฤมล สอาดโฉม : มีความเป็นอิสระมากขึ้น

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ตอนนี้ที่ทำแล้วคือ ทำเรื่องเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ไหนสามารถเข้าโรงพยาบาลเอกชนได้

ดร.นฤมล สอาดโฉม :แสดงว่า 30 บาทที่เก็บไปนี้ จะเป็นการบริการที่ดีขึ้น ถ้าส่วนตัวเห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะมันเป็นแนวทางการแก้ปัญหา

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ :ครับมันมีคนเข้าไปรักษาพยาบาล เพื่อเข้าไปเอายา เข้าไปทุกวัน เข้าไปรบกวนหมอ พอสมควร แต่เนื่องจากเป็นสิทธิของเขา

ดร.นฤมล สอาดโฉม : แล้วเราก็ปฏิเสธสิทธินั้นไม่ได้

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ :30 บาทนี้คือราคาเมื่อ 10 ปีก่อน มาถึงวันนี้เป็นมูลค่าเก่าก็ 20 บาท

ดร.นฤมล สอาดโฉม : ราคาก๋วยเตี๋ยวมันก็ขึ้น แล้วอาจารย์ เขายังเก็บ 30 บาทใช่ไหมคะอาจารย์เขายังไม่เก็บตามราคาก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นไป

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : เพื่อแก้ปัญหา เขาขอยกเว้นไว้ 21 กรณีเป็น 6 กลุ่ม ถ้าคนไข้รักษาบ่อยๆอาทิ ป่วยเรื้อรัง อายุเกิน 60 ปีอายุต่ำกว่า 12 ปี นักเรียน ไม่เก็บเงิน และอาชีพที่เกี่ยวกับราชการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภิกษุ สามเณรทหารผ่านศึก ผู้บริจาคโลหิตจำนวนมากไม่ต้องจ่าย

ดร.นฤมล สอาดโฉม :ยกเว้นไว้ 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 6 คือ .

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : กลุ่มที่ 6 พิสดารมาก บอกว่าถ้าคุณไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องจ่าย

ดร.นฤมล สอาดโฉม : ตามใจรัฐไม่ง้อ คุณไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องจ่าย

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : ทีนี้ก็มาดูที่ไม่ค่อยเป็นประชานิคม เพราะว่าที่ไม่เคยจ่าย 30 บาท ต้องจ่าย30 บาท คนก็คิดว่านโยบายมันกลับด้าน แต่เขาพยายามบอกว่า นี่เป็น30 บาทยุคใหม่ เขาให้มากกว่าเดิมเขาเพิ่มคุณภาพให้ เข้าถึงง่ายขึ้นแต่ขอให้ร่วมจ่าย

ดร.นฤมล สอาดโฉม : หวังว่าท่านผู้ชมพอจะได้รับความรู้ไป ไม่มากก็น้อยก็อาจจะสับสนกันนิดหนึ่งตรงนี้ที่ผ่านมา เดี๋ยวเก็บบ้าง ไม่เก็บบ้าง

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ : หลายฝ่ายก็คิดกันไป คิดกันมา

ดร.นฤมล สอาดโฉม : อย่างไรก็แล้วแต่ หากเรื่องนี้เกิดขึ้น ในวันที่ 1 กันยายน 2555 ท่านที่เข้ารับบริการจะต้องเสียค่าบริการ 30 บาทสำหรับทุกโรค

ที่มา : นสพ.สยามรัฐ วันที่ 3 ก.ย. 2555