"หมอเมธี" โพสต์เฟซบุ๊กดุลยพินิจขององค์คณะตุลาการศาลปกครอง ถึงประเด็นการกำหนดผู้ป่วย 16 กลุ่มอาการรับยาที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ โดยผู้ช่วยเลขาฯแพทยสภาเผยถึงกระบวนการก่อนสั่งยาโดยแพทย์ ต้องมีกระบวนการคิดเพื่อวินิจฉัยโรค ตามด้วยซักประวัติ ตรวจร่างกาย สั่งการตรวจที่จำเป็น
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2567 รศ.(พิเศษ)นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา และผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับ กระบวนการคิดก่อนสั่งยาของแพทย์ โดยระบุว่า ดุลพินิจขององค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด 5 ท่าน แต่ละวิชาชีพ แต่ละองค์กรมีหน้าที่บทบาทต่างกันไป ส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน ก่อนสั่งยา แพทย์ต้องมีกระบวนการคิดเพื่อวินิจฉัยโรค (Diagnosis) หรืออย่างน้อยก็ต้องวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis) ก่อนเสมอ .....แพทย์ จึง"ต้อง" ซักประวัติ ตรวจร่างกาย สั่งการตรวจที่จำเป็น
...แพทย์จะ "ไม่สั่งยา" โดยไม่พยายามวินิจฉัยโรคก่อน...
กระบวนการคิดก่อนสั่งยาของแพทย์... ต้องผ่านการเรียนหลักสูตรแพทย์"อย่างน้อย 6 ปี " ขึ้นไป ..และอาจถึง 11 ปี สำหรับผู้เชี่ยวชาญบางสาขา....ที่สำคัญต้องสอบผ่านการทดสอบความรู้ระดับชาติ และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาก่อน .... การอ่านคู่มือเพียงหนึ่งเล่มไม่สามารถทดแทนกระบวนการฝึกสอนที่ให้ได้มาซึ่งกรอบความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยโรคได้
.......แพทย์ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องผ่านการฝึกจริง (Practice) ---(ไม่ใช่การอ่าน) -- ต้องรับมือและแก้ปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนจากการสั่งยาของตนได้เอง---- ทั้งหมดนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี ตลอดหลักสูตร แพทยศาสตร์ ก่อนจะไปสั่งยาให้ผู้ป่วยทั่วประเทศได้
การสั่งยาโดย
(1) ไม่มีการวินิจฉัยโรค หรือวินิจฉัยแยกโรค ... เป็นไปได้หรือ??
(2) ไม่พยายามวินิจฉัยแยกโรค โดยปราศจากเหตุอันสมควร.. เป็นการประกอบวิชาชีพที่นอกจากจะผิดจริยธรรมแล้ว ยังผิดมาตรฐานอย่างร้ายแรง ...ส่งผลอันตรายถึงชึวิตของประชาชนทั่วประเทศ ... ไม่มีประเทศใดในโลกอนุญาตให้ทำแบบนี้
โรคร้ายแรงแทบทุกโรค ล้วนเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อย แทบทั้งสิ้น
ความปลอดภัยต่อชีวิตและอนามัยของประชาชนต้องมาก่อน นโยบายอื่นใดเสมอ
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- “หมอสมศักดิ์” เผยอีกมุมกับ 16 อาการรับยา “ร้านยาชุมชนอบอุ่น” ช่วยอำนวยความสะดวกปชช.ได้
- สปสช.ย้ำปชช.เจ็บป่วยเล็กน้อยยังรับยา ร้านยาใกล้บ้าน ได้ ส่วนศาลปกครองรับฟ้องขอไม่ก้าวล่วง
- 2644 views