WHO - กรมอนามัย มอบรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดี SEAR (South-East Asia Region – ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) ให้ 4 องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น ที่ช่วย ปชช.ในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัส แวนค้าแกรนด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมี นพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน พร้อมด้วย Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย รวมถึงผู้บริหาร บุคลากรจากกรมอนามัย และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เข้าร่วมงาน มอบรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดี SEAR (South-East Asia Region – ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) 4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี และเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการอบรม เรื่อง การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสุขภาพดี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567

นพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยได้ขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการเมืองสุขภาพดี โดยการขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองสุขภาพดี เพื่อผลลัพธ์นำไปสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ชุมชนสามารถจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สถานประกอบกิจการได้มาตรฐาน ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้รับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มวัย รวมถึงเกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ โดยในปี 2567

กรมอนามัยได้มีการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการเมืองสุขภาพดีเข้าสู่การยกระดับเป็นเมืองสุขภาวะในระดับสากล ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีเมืองที่ได้รับรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดี (SEAR: South-East Asia Region – ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) จำนวน 4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี และเทศบาลตำบลคลองชะอุ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี  

“ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดีต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาเมืองและขับเคลื่อนสู่เมืองสุขภาพดี และเป็นเครื่องมือในการจัดทำนโยบาย แผนงาน โครงการ ทั้งยังสามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน นำมาซึ่งมาตรการในการจัดการและป้องกันปัญหาที่มีประสิทธิภาพ กรมอนามัย ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษา พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จึงได้จัดอบรม เรื่อง การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสุขภาพดี เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานพัฒนาเมืองสุขภาพดีของประเทศไทยและต่อยอดการดำเนินงานสู่เครือข่ายเมืองสุขภาวะในระดับสากล” นพ.ธิติ กล่าว

 

สำหรับความสำเร็จทั้ง 4 พื้นที่ 1. เทศบาลเมืองบ้านสวน จ.ชลบุรี ได้ดำเนินการเสริมสร้างการให้บริการสุขภาพแก่ผู้เปราะบางผ่านนโยบายต่างๆ เช่น โครงการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาชุมชนหลายโครงการรรวมถึงการจัดการขยะการส่งเสริมหลักการพึ่งพาตนเอง และการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน

2. คลองชะอุ่น จ.สุราษฎร์ธานี เทศบาลตำบลลองชะอันจัดการกองทุนความมั่นคงด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการการดูแลระยะยาวเพื่อให้ได้รับบริการสุขภาพที่เหมาะสม มีการจัดหารถสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาสเพื่อให้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ นอกจากนี้ยังมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เช่น ทางลาดและห้องน้ำพิเศษ นอกจากการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพและการตรวจสุขภาพแล้ว เทศบาลตำบลคลองชะอุ่นยังส่งเสริมการพัฒนาชุมชนผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุที่ครอบคลมบทเรียนด้านสุขภาพ กิจกรรมสันทนาการ การพัฒนาวิชาชีพ และโอกาสในการเป็นอาสาสมัคร

3. เทศบาลเมืองสะเดา จ.สงขลา เทศบาลเมืองสะเดาได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุได้จัดกิจกรรมตามความสนใจหลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาชุมชน มีการฝึกอบรมผู้นำชุมชน นอกจากนี้ยังมีการจัดเวิร์กช็อปเพื่อให้ผู้คนได้มารวมตัว แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งกองทุนความมันคงด้านสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดาเพื่อส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุข

4. กรุงเทพมหานคร ภายใต้เป้าหมายการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่สนับสนุนสุขภาพ กรุงเทพมหานครได้พัฒนายุทธศาสตร์ย่อย 1.5 ของแผนเมืองสุขภาพดีโดยการพัฒนาสนามกีฬาใหม่ 1,034 แห่งและปรับปรุงศูนย์กีฬาที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการขยายสิ่งอำนวยความสะดวก การขยายเวลาทำการ และการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตที่ดีในทุกกลุ่มอายุ เน้นการรู้เท่าทันสุขภาพโดยการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการมีสุขภาพที่ดีผ่านความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงกองส่งเสริมสุขภาพ และกองควบคุมโรค หน่วยงานเหล่านี้เผยแพร่ข้อมูลผ่านสือสังคมออนไลน์ ศูนย์บริการส่าธารณสุข และเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเชิงรุกสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมือง