ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

“พิพัฒน์”  เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท 1 ต.ค. นี้ บอกวันนี้ของขึ้นราคา ลูกจ้างอยู่ไม่รอด ต้องขึ้นค่าจ้าง ส่วนประชุมบอร์ดฯ วันนี้ไร้เงาผู้แทนนายจ้าง ให้โอกาสอีกครั้งลงมติใหม่ 20 ก.ย. ชี้ครั้งหน้าหากนายจ้างไม่เข้าร่วมประชุม พร้อมเคาะเพิ่มค่าจ้างทันที

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน  ที่กระทรวงแรงงาน มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ่าง หรือไตรภาคี) ครั้งที่ 8 เพื่อพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขี้นต่ำ โดยมีนายไพโรจน์ โชตสิกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ที่ประชุมในเวลา 13.30 น. ซึ่งมีวาระการพิจารณาสำคัญคือการปรับเพิ่มค้าจ้างขั้นต่ำ  400 บาท เป็นรอบที่ 3 ของปี 2567 ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาประชุม กรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐ เข้าร่วมครบทั้ง 10 คน ในขณะที่ฝ่ายนายจ้างนั้นไม่เข้าร่วมแม้แต่คนเดียว ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ ประธานที่ประชุมได้มีการนัดหมายประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 20 กันยายนนี้ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 82  โดยใช้เวลาพูดคุยกันราว 30 นาที 

นายไพโรจน์ กล่าวว่า วันนี้ไม่เรียกว่าการประชุมล่ม แค่ไม่ครบองค์ประชุม เลยแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ปัจจุบัน มีกิจการประเภทไหนบ้างที่มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเกิน 400 บาท ถ้ามีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใครจะได้ประโยชน์ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคพบว่า จะมีแรงงานไทยได้ประโยชน์ประมาณ 3 ล้านคน แรงงานต่างด้วยประมาณ 1 ล้านคน นอกจากนี้ยังดูกิจการไซต์แอล หรือลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม การจะสามารถปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพิ่มได้หรือไม่ก็ต้องรอดูในวันที่  20 ก.ย.นี้อีกครั้ง ซึ่งจะมีมติ แม้ว่าฝ่ายนายจ้างจะไม่เข้าร่วมประชุมอีก แต่สามารถใช้มติ 2 ใน 3 หรือ 10 คน ในการลงมติได้ ว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ที่ไหนได้ 400 บาท ที่ไหนได้ไม่ถึง 

ด้านนายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า เหตุผลที่ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันนี้ (16 ก.ย.) เป็นเพราะติดภารกิจ และได้แจ้งต่อที่ประชุมไปแล้ว การประชุมก็ว่ากันไป จะเคาะค่าจ้าง ได้หรือไม่ได้ก็แล้วแต่และไม่รู้ว่าปลัดกระทรวงแรงงานแต่ว่าอย่างไรเพราะส่วนตัวก็ได้แจ้งไปแล้ว ว่าตนติดธุระ

วันเดียวกัน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าว ถึงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ในวันที่ 1 ต.ค.2567 ว่า ตนได้ตอบในสภา วันที่รัฐบาลน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว อย่างไรก็ตาม ได้รับรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง หรือไตรภาคี) นั้น กรรมการฯ ฝ่ายนายจ่างติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมในวันนี้ได้ ดังนั้น ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง จะมีการทำหนังสือเชิญประชุมอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ย.นี้

 

“ขอความกรุณากรรมการฝ่ายนายจ้างทั้ง 5 ท่าน ถึงอย่างไร ท่านก็ควรจะเข้ามาใช้สิทธิของท่านในฐานะที่เป็นกรรมการไตรภาคี เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายลูกจ้างมาครบ ฝ่ายรัฐมาครบ ขาดก็แต่ท่าน ถ้าหากท่านไม่มา ทางปลัดกระทรวงแรงงานคงมีมาตรการในการเดินหน้าในการประชุม เพราะด้วยระเบียบและกฎเกณฑ์การประชุมซึ่งมีอยู่แล้ว แต่ดีที่สุด ผมอยากจะเชิญกรรมการฝ่ายนายจ้างขอให้เข้ามาหารือในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.ที่กระทรวงแรงงาน” นายพิพัฒน์ กล่าว 

เมื่อถามว่า นายจ้างไม่มา จะเป็นการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียน จากสภาหอการค่า สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าจังหวัดเกือบทุกจังหวัด ทำหนังสือร้องเรียนมาว่า เขายังไม่พร้อมจะให้ขึ้นค่าจ้าง  อย่างไรก็ตาม การจะพร้อม หรือไม่พร้อม ตนอยากให้มองใน 2 มิติ วันนี้เครื่องใช้ไม้สอย อุปโภค บริโภค ขึ้นราคาไปล่วงหน้าแล้ว หากรัฐบาลยังไม่ประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก คิดว่า ผู้ใช้แรงงานคงรับไม่ไหว ซึ่งยอมรับว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยขณะนี้ไม่ค่อยดี ยังไม่ได้ฟื้นตัว ก็หวังว่า

หลังจากนี้ จากการที่น.ส.แพทองธาร นายกฯ เข้ามาบริหารประเทศ ก็น่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแจกเงินให้ผู้ด้อยโอกาส หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12 ล้านกว่าคน และผู้พิการอีกราวๆ 2 ล้านคนเศษๆ รวมๆ ประมาณ 14.5ล้านคน งบประมาณ 1.45 แสนล้านบาท เมื่อเงินก้อนนี้เข้าสู่ระบบก็น่าจะทำให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจดีขึ้น