หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญฯ จุฬาฯ เผยขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อว่าติดไวรัสชนิดอะไร ทั้งโควิด19 ไข้หวัดใหญ่ เหตุการรักษาไม่แตกต่างกัน เป็นการรักษาตามอาการ ขณะที่ RSV ก็เช่นกันไม่มีความจำเป็น เพราะไม่มียาจำเพาะ เว้นกลุ่มเปราะบาง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโควิด-9 กับจุดสมดุลของทุกฝ่าย ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan กรณี “โรคทางเดินหายใจที่เป็นอยู่ขณะนี้ จำเป็นต้องตรวจให้รู้ว่า เกิดจากเชื้อไวรัสใดหรือไม่” โดยระบุว่า
ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่มีความจำเป็น การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสใด เราจะตรวจหาไวรัสที่มียาต้านไวรัสและรักษาได้ เช่นไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง หรือผู้สูงอายุที่ต้องการการรักษาจำเพาะ ไวรัสที่เหลืออีกจำนวนมาก ไม่มีความจำเป็น เพราะการรักษาไม่แตกต่างกัน เป็นการรักษาตามอาการ แบบประคับประคอง รอเวลา ให้ภูมิต้านทานเรากำจัดไวรัสให้หมดไป
ถึงแม้ RSV ก็ไม่มีความจำเป็น เพราะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้นในกลุ่มเปราะบางที่อาจจะใช้ monoclonal antibody RSV ไม่มีเหตุผลในการให้ยา Montelukast ในการป้องกันแทรกซ้อนแต่อย่างใด
การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสตัวใด มีความจำเป็นในการศึกษาวิจัย ให้รู้ว่าขณะนี้มีไวรัสอะไรกำลังระบาดอยู่ อย่างการทำงานวิจัยของศูนย์ แล้วใช้ผลงานวิจัยข้อมูลทั้งหมดเผยแพร่ เพื่อวางมาตรการในการป้องกัน และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไปในภาพรวม
การตรวจให้รู้ว่าเป็นไวรัสใด สายพันธุ์อะไร มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จะเกิดค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็นในการรักษา เช่นตรวจรู้ว่าเป็น parainfluenza การรักษาก็เหมือนเดิม
- 675 views