มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น “นักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข” โดยกำหนดการจัดอบรมในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 28 เมษายน 2567 ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้- 6 พ.ย. 66
นักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (นบส.ส.) Mini Master of Management in Health (Mini M.M. in Health) รุ่นที่ 38 วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 28 เมษายน 2567 ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (นบส.ส.) (Mini Master of Management in Health: Mini M.M. in Health) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ดําเนินการจัดหลักสูตรนี้ไปแล้วถึง 40 รุ่น โดยมุ่งพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น อําาเภอ จังหวัดและ ประเทศ ให้มีภาวะผู้นําา และมีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขยุคใหม่เพื่อให้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีภาวะผู้นําในการบริหารจัดการงานสาธารณสุขยุคใหม่
2. สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน กำกับ ติดตาม และประเมินโครงการหรือ แผนงานด้านสาธารณสุข
3. มีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขระดับสูง
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ด้านแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์การปฏิบัติงาน ด้านสาธารณสุข หรือที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี
ระยะเวลาการศึกษา
ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธ.ค. 66 - วันที่ 3 ธ.ค. 66
ครั้งที่ 2 วันที่ 5 ม.ค. 67 - วันที่ 6 ม.ค. 67
ครั้งที่ 3 วันที่ 2 ก.พ. 67 - วันที่ 4 ก.พ. 67
ครั้งที่ 4 วันที่ 2 มี.ค. 67 - วันที่ 3 มี.ค. 67 ครั้งที่ 5 วันที่ 27 เม.ย. 67 - วันที่ 28 เม.ย. 67
สถานที่จัดอบรม
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ค่าลงทะเบียน
23,000 บาท
**กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม* *
โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น 10 หมวดรายวิชา (Module) ได้แก่
1. เวชศาสตร์ป้องกันกับการประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพ (Applied Preventive Medicine for Health System)
2. ระบาดวิทยาเพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุข (Epidemiology for Public Health Solutions)
3. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการบริหารจัดการ ทรัพยากร สาหรับผู้บริหารสาธารณสุข (Health Economics and Resource Management for Health Administrator)
4. สุขภาพระหว่างประเทศและการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ (International Health and Health Policy Advocacy)
5. การวิจัยและการนําผลการวิจัยไปใช้ (Health Research and Research Utilization)
6. ภาวะผู้นําและทักษะของการจัดการสมัยใหม่ (Leadership and Modern Management Skills)
7. การพัฒนาคุณภาพและการบริหารความเสี่ยงในระบบสุขภาพ (Quality Development and Risk Management for Health System)
8. การบริหารการเงิน-การคลังในสถานบริการสุขภาพ (Health Financing Management)
9. การจัดทำและบริหารโครงการแบบมืออาชีพ (Professional Project Management)
10. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข (Information Technology for Health Executives)
ข้อมูลเพิ่มเติม คุณจารุวรรณ ฉัตรแก้ว มือถือ: 089-6603234 ไลน์: jum_charuwan อีเมล: charuwan.cha@mahidol.ac.th
- 911 views