นอนนานตอนกลางวัน เร่ง โรคสมองเสื่อม

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง สบายสมอง Strong & Healtht เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2566 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการนำไปสู่ โรคสมองเสื่อม อยู่ในสังคมสูงวัยแบบสุขภาพดี แข็งแรง ดูแลตนเองได้ไม่เป็นภาระลูกหลาน  

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึง โรคสมองเสื่อม สัมพันธ์กับการนอนนานในช่วงกลางวัน ว่า คนปกติจะงีบหลับกลางวันโดยเฉลี่ย 11 นาที คนที่นอนยาก ตื่นบ่อย ปลุกยาก จะเกี่ยวพันกับ โรคสมองเสื่อม พบว่า เมื่อถึงระดับสมองเสื่อมแล้ว ร่างกายจะงีบหลับกลางวันนานถึง 69 นาทีต่อวัน หากงีบหลับมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงพัฒนาเป็น โรคสมองเสื่อม มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ชายสูงอายุที่งีบหลับกลางวัน 2 ชั่วโมง จะมีสติปัญญาเสื่อมถอยมากกว่าคนที่งีบน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน การดูแลสุขภาพนอนให้ดี ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นประจำ หมั่นออกกำลังกาย จะเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อป้องกัน ภาวะสมองเสื่อม ได้ดี 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ลดเลิกพฤติกรรมนำสู่ "โรคสมองเสื่อม" ..ถึงวัยชรา ต้องเป็นทุกคนไหม?

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org