ความร้อนที่คนไทยเผชิญอยู่ทุกวันนี้อาจยังไม่ร้อนที่สุด รายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมกราคมของหน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของสหภาพยุโรปโคเปอนิคัส (C3S) ที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมกราคม ระบุว่า 8 ปีที่ผ่านมาเป็น 8 ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นตัวกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศที่เข้มข้นขึ้นทำให้อุณหภูมิของโลกเข้าสู่จุดเปลี่ยนที่อันตราย
การวิเคราะห์ของ C3S พบว่า ปี 2022 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดป็นอันดับ 5 นับตั้งแต่เริ่มจดบันทึกสถิติ และยังอธิบายปี 2022 ไว้ว่าเป็น “ปีแห่งสภาพอากาศสุดขั้ว” ซึ่งทำให้เกิดคลื่นคามร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ในยุโรป น้ำท่วมร้ายแรงในปากีสถาน น้ำท่วทใหญ่ในออสเตรเลีย และน้ำแข็งในแอนตาร์กติกหายไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ส่วนปีที่ร้อนที่สุดคือ ปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ตามด้วย 2020, 2019 และ 2017
รายงานยังระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 1.2 องศาเซลเซียส ขณะที่ภายใต้ข้อตกลงปารีส 2015 นานาประเทศเห็นพ้องว่าจะจำกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม หรือถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) บอกว่า หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสภาพอากาศสุดขั้วและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถย้อนกลับได้แล้ว
หากยังนึกไม่ออกว่าแค่อุณหภูมิร้อนขึ้นอีกนิดหน่อยจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง สวิตลานา คราคอฟสกา หัวหน้าคณะผูแทนยูเครนของ IPCC อธิบายว่า “อุณหภูมิร่างกายปกติของคุณคือ 36.6 ตอนนี้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.2 องศาเซลเซียส แล้วเราก็เจ็บป่วยแล้ว แล้วถ้ามันสูงขึ้น 1.5 หรือ 2 องศา ก็ดูความต่างเอาแล้วกัน เราไม่สามารถปล่อยให้มันเกิดขึ้น ความร้อนที่เพิ่มขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ก็มีความหมาย”
นอกจากอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยก่อนที่มนุษญ์จะเริ่มเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ราว 280 ส่วนต่อล้าน แต่โคเปอร์นิคัสระบุว่า เมื่อปี 2022 พุ่งไปที่ 417 ส่วนต่อล้าน เพิ่มจากปี 2021 2.1 ส่วนต่อล้าน ซึ่งสถิติชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศไม่เคยสูงขนาดนี้ในรอบราว 2 ล้านปี
IPCC ระบุว่า หากต้องการรักษาอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เราต้องตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่หากเรายังปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าเดิมและไม่เปลี่ยนแปลงอะไร องค์การสหประชาชาติระบุว่า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 องศาเซลเซียสภายในเวลาไม่ถึง 80 ปี
“อุณหภูมิที่ลดลง บวกกับคลื่นความร้อนที่ไม่เคยมีมาก่อน ความแห้งแล้งและฝนตกชุก และเหตุการณ์น้ำท่วมทั่วโลก ตลอดจนอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ล้วนสอดคล้องกับการที่โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว” ริชาร์ด แอลลัน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยเรดดิงเผยกับ CNN และว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิริยาความร้อนจากก๊าซเรือนกระจกที่เราปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ
ที่น่ากังวลคือ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปี 2022 เป็นปีที่ร้อนเป็นพิเศษทั้งๆ ที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งเกิดขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันและมักจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเย็นลง
แมรีเบธ อาร์โคเดีย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จึงเป็นไปได้ที่หากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งต่อไป อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงกว่าที่เราเคยเจอในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
ความร้อนยังลามไปถึงขั้วโลก โดยผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อต้นเดือนมกราคมระบุว่า อุณหภูมิของกรีนแลนด์สูงที่สุดในรอบ 1,000 ปี ยิ่งเป็นการตอกย้ำผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับอุณหภูมิขิงทวีปแอนตาร์ติกาที่ร้อนที่สุดในรอบ 65 ปีที่อุณหภูมิติดลบ 17.7 องศาเซลเซียสเมื่อปีที่แล้ว การละลายของน้ำแข็งในชั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้นี้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
รายงานว่าด้วยสถานะของสภาพภูมิอากาศปี 2022 ขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) พบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลขยับขึ้นเป็นสงเท่านับตั้งแต่ปี 1993 และเพิ่มขึ้นเกือบ 10 มิลลิเมตรนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 และทุบสถิติในปี 2022 โดยในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 10% นับตั้งแต่เริ่มวัดด้วยดาวเทียมเมื่เกือบ 30 ปีที่แล้ว
เพตเตอรี ตาอาลัส เลขาธิการ WMO เผยว่า “อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แม้ว่ามันยังเพิ่มขึ้นเป็นมิลลิเมตรต่อปี แต่หากนับต่อศตวรรษมันจะเพิ่มราวครึ่งหรือ 1 เมตร และนั่นเป็นภัยคุกคามระยะยาวและสำคัญต่อผู้อยู่อาศัยตามแนวชายฝั่งหลายล้านคนและประเทศที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม”
ทั้งหมดนี้ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวคนไทย แต่มันใกล้ตัวเรามากกว่าที่หลายคนคิด เพราะหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กรุงเทพฯ และเมืองชายฝั่งของไทยทั้งหลายมีสิทธิ์จมบาดาลก่อนใครเพื่อน
ภาพ: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:2015_Hitzewelle_in_Krakau_0164.JPG
- 851 views