เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 ปลัด สธ. ลงนามออกคำสั่ง สำนักงานปลัด สธ. เรื่อง “แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อบริหารจัดการการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข”
ด้วยสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการดําเนินงานการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานการกระจายอํานาจด้านสาธารณสุข สามารถขับเคลื่อน ไปได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานฯ มีด้วยกัน 17 ราย ดังนี้
1. นายสุระ วิเศษศักดิ์ ประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. นายณรงค์ สายวงศ์ รองประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
3. นายธงชัย กีรติหัตถยากร รองประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ
4. นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข
5. อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการ
6. อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรรมการ
7. อธิบดีกรมอนามัย กรรมการ
8. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
9. ผู้อํานวยการกองกฎหมาย กรรมการ
10. ผู้อํานวยการกองบริหารการสาธารณสุข กรรมการ
11. ผู้อํานวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล กรรมการ
12. ผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรรมการ
13. ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กรรมการ
14. ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กรรมการ
15. ประธานชมรมผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล กรรมการ
16. นพ.ภูวเดช สุระโครต ผู้ช่วยปลัด สธ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
17. ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นกรรมการและเลขานุการ
สำหรับคณะกรรมการประสานงานฯ มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
1. รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในการบริหารจัดการด้านภารกิจ บุคลากร และงบประมาณในการดําเนินงานการกระจายอํานาจด้านสาธารณสุข และจัดทําข้อเสนอเพื่อการแก้ไข
2. จัดทําข้อเสนอในการวางระบบการติดตามและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งมาตรฐานและคุณภาพของบริการสาธารณสุข สําหรับภารกิจที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. จัดทําข้อเสนอในการปรับแก้ ใช้บังคับ ในกฎ ระเบียบ กฎหมายในส่วนที่เป็น อํานาจของกระทรวงสาธารณสุข
4. จัดทําข้อเสนอเพื่อการเตรียมความพร้อมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับ การกระจายอํานาจด้านสาธารณสุข
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดมุมมอง: ข้อดีข้อเสียถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ท้องถิ่น
มีผลแล้ว! ประกาศถ่ายโอนภารกิจ "รพ.สต." ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด พร้อมแนวทางดำเนินการ
คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ อนุมัติ ถ่ายโอนรพ.สต. 108 แห่ง ให้ อบจ. จ.ศรีสะเกษ เป็นที่แรก
- 210 views