คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตอบคำถามวัคซีนโควิดในคลับเฮาส์ เผยบูสเตอร์โดส บุคลากรด่านหน้าเลือกได้แอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์ ขณะเดียวกันศิริราช สั่งจอง “โมเดอร์นา” ผ่านสภากาชาดไทยแล้ว   

เมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 16 ก.ค.2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตอบคำถามประเด็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านคลับเฮาส์ (ClubHouse) Q&A : คณบดีศิริราช เรื่องวัคซีน COVID-19 และประเด็นต่างๆ โดยเป็นการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคลากรทางการแพทย์ และนักศึกษาได้เข้าใจร่วมกัน และอยากเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกัน

โดยเนื้อหาใจความหลัก ดังนี้

 

00 ตอบคำถามแพทย์ศิริราช “บูสเตอร์ โดส” ทุกคนเลือกได้เท่าเทียม จะฉีดแอสตร้าฯหรือไฟเซอร์

- Pfizer 1.5 ล้านโดสนั้น เดิมจะถูกกระจายให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง แต่ในที่สุดมีการประชุมเสนอให้แบ่งมาให้ บุคลากรด่านหน้า คาดว่ามาแน่ในช่วงปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค ส่ง google form มาให้กรอก ซึ่งคณบดีส่งเป็นยอดตัวเลขคร่าวๆ ของทั้งสามโรงพยาบาล ว่า ฉีดซิโนแวค (SV ) ไปแล้วจำนวนกี่คน แต่ยังไม่ให้ลงชื่อติดเสาร์อาทิตย์ รอให้วันทำการแล้วสำรวจให้แน่ชัดอีกครั้ง

- วันนี้ที่ประชุม EOC และ ศบค ประกาศให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า มีสิทธิ์เลือกเข็มสามระหว่างแอสตร้าเซนเนก้า (AZ) และไฟเซอร์ (PZ) โดยไม่มีการบังคับ ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ และมีการสำรวจภายในระบบให้ลงชื่อได้ แล้วจะรวบรวมส่งยอดที่แท้จริงอีกครั้ง

**สรุปคือ ประเด็น “บูสเตอร์ โดส” มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนในศิริราช ว่า จะไม่ให้เลือกชนิดวัคซีน จึงย้ำว่าเปิดโอกาสให้แพทย์ทุกคนเลือกได้เท่าเทียมกัน บางคนอยากฉีดแอสตร้าฯ บางคนอยากฉีดไฟเซอร์ ก็เลือกได้ตามความเหมาะสม มีคนเลือกแอสตร้าฯ มาแล้วบางส่วนเช่นกัน

****************************

00 ในอนาคตการจะสั่งวัคซีนซิโนแวคอีกหรือไม่นั่น จำเป็นต้องดูสัดส่วนว่า ปัจจุบันใช้วัคซีน SV-SV อีกหรือไม่ ถ้าน้อยลงสัดส่วนก็น้อยลง

มีคำถามว่า : จากนี้นโยบายวัคซีนของประเทศจะมุ่งเน้นไปทางวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นหลักใช่หรือไม่ และแอสตร้า ไฟเซอร์ จะเป็นอย่างไร  ขณะเดียวกันก็มีคำถามในทำนองว่า  “ในฐานะคณบดีศิริราช เห็นพ้องว่า วัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่ดีอย่าง Sinovac ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ อาจารย์เห็นพ้องกับพวกเราว่า ไม่ควรจะสั่งวัคซีนชนิดนี้เข้ามาอีกหรือไม่” และมีการโค้ดคำตอบอาจารย์ประสิทธิ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ไม่ควรนำเข้าซิโนแวคนั้น

 

- คนที่ได้ AZ AZ PZ PZ เชื่อว่าเพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ควรจะให้ priority กับบุคลากรที่ได้ SV SV กลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 7 โรค

- ศบค.อนุมัติการใช้วัคซีนสลับชนิด เพื่อป้องกันสายพันธุ์เดลตา ที่กำลังระบาด โดยต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด และมีงานวิจัยมาจากของทางจุฬาฯ และจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขออธิบายว่า ซิโนแวค (SV) กระตุ้น humoral immunity ได้ดีแต่น้อยมากที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพึ่งเซลล์ หรือ Cell-mediated Immunity (CMI) ในขณะที่ Vaccine vector mRNA กระตุ้นได้ดีทั้งคู่ มีการทดลองสนับสนุนผลของการใช้ SV AZ แล้วเพิ่มขึ้นดี น่าจะเป็นทางที่เหมาะสม ส่วนคนที่ฉีดแอสตร้าฯ เข็มแรกไม่ต้องเปลี่ยน ก็เป็นแอสตร้าเข็มสองต่อไป

- ตอนนี้ AZ เราผลิตแต่ไม่ใช่เจ้าของ กำลังเจรจาต่อรอง

- PZ ดีกว่า ต้องไปดูข้อมูลย้อนหลังจะรู้ว่า ช่วงที่มีการสั่งวัคซีนตอนนั้น ไม่ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามา จากนั้นเริ่มมีการสังเกตและเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกันให้ข้อคิดเห็น การสั่งวัคซ๊นมันเป็นการสั่งล่วงหน้า การสั่งวัคซีนไม่ใช่ว่า สั่งวันนี้แล้วเดือนหน้ามา ต้องสั่งล่วงหน้า จุดถ้าจะถามผม วิเคราะห์ย้อนหลัง จุดที่ควรจะสั่งวัคซีนควรสั่งตอน phase 3 ปีที่แล้ว ประเทศอื่นๆเริ่มสั่ง แต่ประเทศไทย คุมได้เ ก็เลยไม่มีใครคิดว่าต้องติดต่อกับวัคซีนเอาไว้ก่อน จนกระทั่งพอเริ่มเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้นมีการสั่งวัคซีน จึงต้องรอ

- ตอนนี้ COVAX ก็สั่ง ซิโนแวค และมีซิโนฟาร์ม เพราะเมื่อสั่งแล้วได้เร็ว ส่วนตัวเห็นว่า ซิโนแวค อาจไม่ต้องสั่งจำนวนมาก  แต่เรายังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ นอกจากไวรัล เวกเตอร์ มีการติดต่อทั้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน  sputnik V

- นอกจากวัคซีน mRNA อยากให้เปิดใจมอง other platforms อาทิ protein sub unit เช่น NOVAVAX อันนี้คือสิ่งที่เรารอคอย

****สรุป คือ ความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ มองว่า ต่อไปอาจไม่ต้องสั่งวัคซีนซิโนแวคเข้ามาอีกจำนวนมาก เพราะต้องดูปริมาณการใช้จริง สัดส่วนการใช้ SV กับ SV และ SV กับAZ มีอีกเท่าไหร่ ต้องอยู่ที่กรมควบคุมโรคพิจารณาสัดส่วนดังกล่าว และมีวัคซีนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกในอนาคต

(ข่าวเพิ่มเติม : เปิดคำอธิบาย “หมอประสิทธิ์” เผยข้อเท็จจริงกรณีวัคซีน “ซิโนแวค”)

*****************************

00 ศิริราชจองวัคซีนโมเดอร์นา ผ่านสภากาชาดไทย จ่ายแล้ว 26 ล้านบาท

- ศิริราช ได้จ่าย 26 ล้านบาท เพื่อจองวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ผ่านสภากาชาดไทย ไป 20,000 โดส อาจจะมาเดือนตุลาคม ซึ่งยังไม่แน่ใจว่ามาช่วงนั้นหรือไม่ แต่จ่ายเงินไปแล้ว

- second generation vaccine กำลังติดต่อไว้แต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เสียโอกาส อย่างน้อย 120 ล้านโดส

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org