สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเผยปัญหารพ.สนาม มีเตียงว่าง แต่ส่วนหนึ่งไม่ยอมพัก เหตุปฏิเสธไม่พักรพ.สนาม อยากอยู่รพ. หรือฮอสพิเทล ขณะที่หมอรามาฯ เตรียมพร้อมทุกฝ่ายหากสถานการณ์ระบาดรุนแรงขึ้นเรามีแผนถัดไป คือ การตั้งไอซียูสนาม
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีการค้นหาเชิงรุกแล้วพบผู้ติดเชื้อ ว่า กทม.จะรับผิดชอบในการดูแล โดยปัจจุบันมีเฉลี่ยราว 120-140รายต่อวัน โดยหากเป็นผู้ป่วยสีเขียว จะรับเข้าดูแลในรพ.สนามที่มีการดูแลรักษาตามมาตรฐานสธ. ขณะนี้มีเตียงรพ.สนามอยู่ 1,656 เตียง มีการเข้าใจปัจจุบัน 1,275 เตียงเหลือว่าง 381 เตียง แต่กรณีที่ยังไม่ได้มาพักทั้งที่มีเตียงว่าง โดยมีผู้ตกค้างอยู่ที่บ้านราว 600 ราย เนื่องจาก ประชาชนส่วนหนึ่งไม่พร้อมเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลสนามปฏิเสธโรงพยาบาลสนาม อยากอยู่โรงพยาบาลหรือฮอสพิเทลมากกว่า และ เตียงโรงพยาบาลสนามมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพราะมีคนเข้าเข้า-ออกอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม จะมีการขยายเตียงรพ.สนามในวันที่ 20 เม.ย.อีก 1,100 เตียง.รวมในพื้นที่กทม.จะมีเตียงรพ.สนามรวม 2,756 เตียง และมีแผนเปิดเพิ่มที่จ.นนทบุรีและนครปฐมอีก 170 เตียง.จะรวมเป็น 2,926 เตียง ไม่รวมฮอสพิเทลที่กำลังประสาน นอกจากนี้ ในส่วนของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ได้มีการมอบหมายให้สำนักเทศกิจทั้ง50 เขตเข้าร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) คาดว่า 1-2 วันจะเคลียร์ผู้ป่วยตกค้างที่บ้านได้
เมื่อถามต่อว่าขณะนี้มีรายงานว่าผู้ติดเชื้อที่อยู่ในรพ.สนาม จำนวนหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรที่กำหนด เช่น ไม่ยอมวัดไข้ ไม่ยอมวัดระดับออกซิเจน ไม่ยอมออกกำลังกาย เป็นต้น จะดำเนินการอย่างไร นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า ในรพ.สนามจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ตลอด 24 ชม. เพื่อดูแลสถานการณ์ หากพบว่ามีการรวมกลุ่มมากเกินไป ก็จะเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแล ตักเตือน นอกจากนี้กล้องวงเรื่องความเปลี่ยนเกี่ยวกับอาการผู้ติดเชื้อด้วย ซึ่งกิจกรรมที่กำหนดขึ้นมาล้วนเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ดูแลอาการของผู้ติดเชื้อดังนั้นขอให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลในกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) กล่าวว่า รอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีคนไข้กลุ่มสีเขียวมาก แต่เพื่อเป็นการวางแผนรองรับสถานการณ์ถัดไปที่คนไข้สีเขียวอาการจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง สีแดง ดังนั้น กลุ่มรพ.ระดับตติยภูมิทุกสังกัด ทั้งสังกัดทหาร กลาโหม กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เดินหน้าร่วมกันจัดหาเตียงไอซียูเพิ่ม 50-100 % อาจจะมีการยกเลิกกิจการบางอย่างเพื่อนำเตียงไอซียูมาเสริม สามารถส่งบุคลาการมาช่วยเหลือกันได้ แล้วมีการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักไปดูแลต่อ
“หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นเรามีแผนถัดไป คือ การตั้งไอซียูสนาม ซึ่งเราเคยไปเอาไว้ตั้งแต่การระบาดระลอกแรก รวมทั้งการชักชวนเพื่อนๆชาวสาธารณสุขระดมสมอง ระดมพละกำลังเพื่อให้ผ่านวิกฤตไปอีกครั้ง ตอนนี้สถานการณ์เราเห็นว่ากราฟเริ่มลง แปลว่าทุกคนเริ่มตั้งการ์ดกันกลับมาดูแลตัวเองกันอีก ก็ขอให้ทำต่อไปอย่างเข้มข้น แล้วเมื่อเราได้วัคซีนจำนวนมาก เชื่อว่าอีกหนึ่งปีหน้าเราจะผ่านมันไปได้” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
(ข่าวเกี่ยวข้อง : กรมการแพทย์ร่วมทุกหน่วยแก้สารพัดปัญหาช่วยผู้ป่วยโควิด19)
(ข่าวเกี่ยวข้อง : สบส.แก้ปัญหาตรวจโควิดแล็บเอกชน ไม่ประสานหาเตียง ถือว่าผิดกฎหมาย)
(ข่าวเกี่ยวข้อง : แบ่งระดับสีผู้ป่วยโควิด19 “เขียว-เหลือง-แดง” เพื่อบริหารดูแลอย่างเป็นระบบ)
- 109 views