เดินหน้าตามแผนจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา” ไทยมีแล้วเบื้องต้น317,600 โดส แบ่งเป็นของซิโนแวค 200,000 โดส และของแอสตราฯ 117,600 โดส เริ่มต้น 18 จังหวัดของไทย
เป็นไปตามแผนสำหรับการจัดหาวัคซีนโควิด19 ของประเทศไทยในปี 2564 เบื้องต้น 2 ยี่ห้อ คือ “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา”
โดยวัคซีนโควิดของซิโนแวค ประเดิมเข้าไทยก่อนล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสในวันที่ 24 ก.พ. 2564 พร้อมฉีดให้กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2564 จากนั้นจะได้เข้ามาเพิ่มในเดือน มี.ค. อีกจำนวน 800,000 โดส และในเดือน เม.ย.เข้ามาอีก 1 ล้านโดส รวมทั้งสิ้น 2 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ในเดือน มี.ค.-พ.ค. 2564
วัคซีนซิโนแวค
ส่วนวัคซีนแอสตราเซเนกาอีก 61 ล้านโดส แบ่งเป็นรอบแรก 26 ล้านโดสในเดือน มิ.ย.-ส.ค.2564 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 6 ล้านโดส เดือน ก.ค.จำนวน 10 ล้านโดส และเดือน ส.ค. 10 ล้านโดส ส่วนรอบที่สอง จำนวน 35 ล้านโดส เดือน ก.ย.-ธ.ค.2564 แบ่งเป็น เดือนก.ย. 10 ล้านโดส เดือนต.ค. 10 ล้านโดส เดือนพ.ย.อีก 10 ล้านโดส และเดือน ธ.ค. 5 ล้านโดส โดยเบื้องต้นเข้ามาล็อตแรกแล้ว 117,600 โดสเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2564 หลังล็อตของซิโนแวค
วัคซีนแอสตราเซเนกา
ดังนั้น ณ ขณะนี้( 26 ก.พ.) มีวัคซีนโควิด19 ที่อยู่ในประเทศไทยแล้วประมาณ 317,600 โดส แบ่งเป็นของซิโนแวค 200,000 โดส และของแอสตราฯ 117,600 โดส โดยหลังจากผ่านการตรวจสอบวัคซีน รุ่นการผลิตต่างๆจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็จะพร้อมกระจายไปยังพื้นที่เป้าหมาย เพื่อฉีดให้แก่กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ทันที
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ว่า แผนในการกระจายวัคซีนโควิดขณะนี้มี 18 จังหวัดแรก ได้แก่ จ.สมุทรสาคร, กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก), ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, จ.ตาก (อ.แม่สอด), นครปฐม, สมุทรสงคราม, ราชบุรี, ชลบุรี, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) เชียงใหม่, กระบี่, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และเพชรบุรี โดยฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า อสม. บุคลากรด่านหน้า/เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย ประชาชนทั่วไปและแรงงานที่มีอายุ 18-59 ปี เน้นผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน โดยให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและคัดเลือกจากฐานข้อมูลการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
“ขณะนี้มีการดำเนินการเตรียมการวางแผนไว้ตามมาตรฐานที่กำหนด ขอให้ประชาชนมีความมั่นใจ ได้ว่าการฉีดวัคซีนมีการเตรียมความพร้อมและระบบตรวจสอบทุกขั้นตอนทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มฉีดให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มจังหวัดแรกได้ในเดือน มี.ค.นี้ โดยระดับจังหวัดจะมีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นคนจัดสรรและเห็นชอบว่าตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไปนั้น ควรเริ่มที่กลุ่มใดก่อน เพราะจะมีข้อมูลในระดับพื้นที่ที่รู้ว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงในการแพร่ระบาด” นพ.ธงชัย กล่าว
นพ.ธงชัย กล่าวอีกว่า ช่วงแรกนี้รพ.จะติดต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการฉีดวัคซีนก่อน แต่ช่วงหลังจึงจะบริหารจัดการผ่านไลน์ออฟฟิสเชียล “หมอพร้อม” ซึ่งหากกดไลน์หมอพร้อมตอนนี้ อาจจะขึ้นว่าท่านยังไม่ได้อยู่ในกลุ่มได้รับวัคซีน แต่ใน 1-2 วันจะมีการแสดงรายชื่อกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนในส่วนของคนที่อยู่ในจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรช่วงแรกนี้ 18 จังหวัด ถ้าพบว่าตัวเองจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับแต่ไม่มีรายชื่อให้ติดต่อรพ.ใกล้บ้านที่เคยรักษาพยาบาลและขอลงทะเบียนเพิ่มเติม ข้อนัดหมายวันเวลาการฉีด และไปตามนัดและขอให้ตอบไลน์หมอพร้อมในการติดตามผลข้างเคียงหลังการฉีดด้วย และไลน์หมอพร้อมจะส่งข้อความเตือนเมื่อถึงวันนัดฉีดเข็มที่ 2 ด้วย ส่วนคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถโทรศัพท์สอบถามรพ.ใกล้บ้านได้
“ส่วนวัคซีนของแอสตราเซนเนกา กำหนดให้ฉีดในผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปเป็นหลัก โดยการฉีดในสถานพยาบาลจะออกแบบให้มีการฉีดคนละวันกับวัคซีนของซิโนแวค โดยคนที่รับวัคซีนแอสตราฯฉีดวันเสาร์-อาทิตย์ และของซิโนแวคฉีดวันจันทร์-ศุกร์ เพื่อไม่ให้การมาฉีดวัคซีนไม่สับสน เพราะกลุ่มเป้าหมายคนละกลุ่ม” นพ.ธงชัย กล่าว
นพ.ธงชัย กล่าวด้วยว่า ส่วนแผนการรับวัคซีนในระยะต่อไปหลังเดือนพ.ค.-มิ.ย.2564 ที่จะมีการทยอยฉีดวัคซีนในคนไทยกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ระบบไลน์หมอพร้อมจะมีความสมบูรณ์มากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าไปลงทะเบียนเลือกวัน เวลา สถานที่ที่จะฉีดวัคซีนได้ รวมถึง การรายงานผลข้างเคียง และการแจ้งเตือนการรับวัคซีนเข็มที่ 2 ด้วย ส่วนคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนจะใช้กลไกของอสม.ในการแจ้งข่าวสารต่างๆไปยังคนในพื้นที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับวัคซีนซิโนแวคที่มาถึงประเทศไทยแล้ว 2 แสนโดส จะกระจายไปยัง13 จังหวัด เป้าหมายฉีดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 1 จังหวัด และ พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด โดยเพิ่มให้กลุ่มจังหวัดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและจังหวัดมีสถานกักกันโรครองรับผู้เดินทางจากต่างประเทศด้วย 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ โดยให้อำนาจกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เป็นผู้พิจารณาผู้ที่เหมาะสมในการฉีด
ทั้งนี้ การกระจายวัคซีนแบ่งเป็น 1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส ฉีดใน 4 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 8,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โดส ผู้มีโรคประจำตัว 46,000 โดส และประชาชนทั่วไป/แรงงานต่างด้าว 10,000 โดส
2.พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด แบ่งเป็น
กรุงเทพมหานคร(กทม.) 66,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 12,400 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,600 โดส ผู้มีโรคประจำตัว 47,000 โดส และประชาชนทั่วไป/แรงงานต่างด้าว 5,000 โดส
ปทุมธานี 8,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 3,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส ผู้มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไป/แรงงานต่างด้าว 1,000 โดส
นนทบุรี 6,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 2,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไป/แรงงานต่างด้าว 1,000 โดส
สมุทรปราการ 6,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 2,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไป/แรงงานต่างด้าว 1,000 โดส
ตาก อ.แม่สอด 5,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 3,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส
นครปฐม 3,500 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 2,500 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส
สมุทรสงคราม 2,000 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 1,500 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส
ราชบุรี 2,500 โดส ให้กับบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 2,000 บาท เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส
3.พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 จังหวัด โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้พิจารณากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะส แบ่งเป็น ชลบุรี 4,700 โดส ภูเก็ต 4,000 โดส สุราษฎร์ธานี ใน อ.เกาะสมุย 2,500 โดสและเชียงใหม่ 3,500 โดส
โดยกลุ่มเป้าหมายจะฉีดเข็มที่ 1 ห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ฉีดล็อตแรก 183,700 โดส และสำรองอีก 16,300 โดส สำหรับการควบคุมการระบาดในพื้นที่รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ส่วนเดือน เม.ย. 2564 วัคซีนจำนวน 8 แสนโดสกระจายให้กลุ่มเป้าหมายใน 18 จังหวัด จำนวน 707,000 โดส ได้แก่ สมุทรสาคร 60,000 โดส , กทม. (ฝั่งตะวันตก) 150,000 โดส , ปทุมธานี 64,000 โดส , นนทบุรี 64,000 โดส , สมุทรปราการ 36,000 โดส , ตาก (อ.แม่สอด) 24,000 โดส , ชลบุรี 50,000 โดส , ภูเก็ต 16,000 โดส , สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 16,000 โดส , เชียงใหม่ 32,000 โดส , กระบี่ 16,000 โดส , ระยอง 28,000 โดส , จันทบุรี 24,000 โดส , ตราด 24,000 โดส , นครปฐม 28,000 โดส , สมุทรสงคราม 20,000 โดส , ราชบุรี 25,000 โดส และเพชรบุรี 30,000 โดส โดยให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับโควิด 19 รวม 217,000 โดส ประชาชน 490,000 โดส และสำรองไว้สำหรับควบคุมการระบาดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 93,000 โดส
ส่วนในเดือนพฤษภาคม 2564 วัคซีนอีกจำนวน 1 ล้านโดส กระจายให้กลุ่มเป้าหมายใน 18 จังหวัด จำนวน 888,000 โดส ได้แก่ สมุทรสาคร 100,000 โดส , กทม. (ฝั่งตะวันตก) 200,000 โดส , ปทุมธานี 60,000 โดส , นนทบุรี 60,000 โดส , สมุทรปราการ 60,000 โดส , ตาก (อ.แม่สอด) 48,000 โดส , ชลบุรี 48,000 โดส , ภูเก็ต 48,000 โดส , สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 16,000 โดส , เชียงใหม่ 48,000 โดส , กระบี่ 16,000 โดส , ระยอง 32,000 โดส , จันทบุรี 24,000 โดส , ตราด 24,000 โดส , นครปฐม 32,000 โดส , สมุทรสงคราม 24,000 โดส , ราชบุรี 32,000 โดส และเพชรบุรี 16,000 โดส โดยให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับโควิด 19 รวม 62,000 โดส ประชาชน 846,000 โดส และสำรองไว้สำหรับควบคุมการระบาดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 112,000 โดส
อย่างไรก็ตาม ต้องขอย้ำว่า แม้วัคซีนโควิด19 เริ่มทยอยเข้าไทยแล้ว แต่สิ่งสำคัญวัคซีนประจำตัวยังไม่ควรทิ้ง โดยยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ยังต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- 20 views