เมื่อถึงปลายปี 2020 (พ.ศ. 2563) สื่อและองค์กรระดับโลกเริ่มสรุปสถานการณ์ข่าวปลอมของปีนี้และส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าปีนี้คือปีแห่งการอาละวาดของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่แค่เพราะผู้ปล่อยข่าวปลอมอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาโนมน้าวเราให้เชื่อได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะโลกชของเราเกิดความวุ่นวายสับสนจากการระบาดใหญ่ของโรคควิด-19 ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสถานการณ์ที่เกิดข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จที่สุดครั้งหนึ่งไปแล้ว
ไม่น่าแปลกใจที่บางรายจะระบุชัดเลยว่าข่าวปลอมคือภัยคุกคามของปี 2563 ที่หนักมากขึ้นเรื่อยๆ วึ่งแน่นอนว่ามันจะไม่หยุดลงแค่นี้ เฉพาะในปีนี้ผู้เชี่ยวชาญได้สังเกตการณ์และเตือนถึงผลลัพธ์ที่เลวร้ายเอาไว้ค่อนข้างน่าวิตกมากแล้ว เช่น ดีเร็ก แบมบาวเออร์ (Derek Bambauer) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยแอริโซนา ผู้ร่วมเขียนรายงานที่ช่วยระบุข้อมูลหลอกลวง, การโฆษณาชวนเชื่อ, การหลอกล่อออนไลน์ และการเสียดสี แบมบาวเออร์กำลังอัปเดตการศึกษาของเขาโดยเน้นไปที่เหตุการณ์ในปี 2563 ซึ่งเขาเตือนว่าการเผยแพร่ข่าวปลอมนั้นยากที่จะหยุดยั้งได้ถึงแม้ว่าภาคส่วนออนไลน์ต่างๆ กำลังเร่งสกัดกั้นก็ตาม (1)
สาเหตุก็เพราข่าวปลอมก็รวดเร็วส่วนการเข้าสกัดกั้นนั้นช้ากว่า นอกจากนี้ผู้ที่แพร่กระจายข่าวปลอมยังพัฒนากลวิธีเพื่อทำให้เรื่องเท็จดูเป็นจริงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวปลอมยังส่งผลกระทบต่อการที่ผู้คนมีทัศนะต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและอาจส่งผลต่อความไว้วางใจต่อผู้คนเกี่ยวกับการใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19
ความเห็นของแบมบาวเออร์มีขึ้นในราวๆ เดือนก.ย. 2563 ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่มีเสียงเตือนข่าวปลอมเป็นภัยคุกคามสำคัญของปีนี้ หลังจากนั้นในเดือนต.ค. มูลนิธิ Lloyd’s Register Foundation ของบริษัท Lloyd’s Register ผู้ให้บริการระดับโลกในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เปิดเผยรายงาน World Risk Poll (โพลความเสี่ยงโลก) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคล 150,000 คนใน 142 ประเทศผลของรายงานระบุว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นหนึ่งในความกังวลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประชาชนทั่วโลกโดยข่าวปลอมติดอันดับสูงสุดในบรรดาความเสี่ยงดังกล่าว (2)
ผู้ตอบแบบสอบถาม 71% ระบุว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นหนึ่งในข้อกังวลที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งอาชญากรรมไซเบอร์มีหลายประเภทและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมดกลัวตางๆ กันไป สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือข่าวปลอม (57%) ตามด้วยการฉ้อโกงทางออนไลน์ (45%) และการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (30%) และจากการสำรวจพบว่าผลลัพธ์แตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้นโดยขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิภาคของผู้ตอบการสำรวจ
แต่มีข้อสังเกตคือ ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหราชอาณาจักรผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับข่าวปลอมกับการฉ้อโกงทางออนไลน์หรือบางประเทศ เช่น สเปน อาจกังวลกับการฉ้อโกงทางออนไลน์แล้วตามด้วยข่าวปลอม แต่ความกังวลเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตพบว่ามีมากที่สุดในประเทศที่มีรายได้น้อยเนื่องจากมีประชากรกลุ่มเยาวชนเป็นจำนวนมาก
โพลปล่อยออกมาในช่วงใกล้ปลายปี 2563 ซึ่งน่าจะสะท้อนทัศนะของชาวโลกต่อข่าวปลอมอย่างน้อยก็ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้แต่คาดว่าในช่วงปีที่เหลือทัศนะของผู้คนก็คงไม่ต่างกันมากนักโดยอ้างอิงจากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเช่น ดีเร็ก แบมบาวเออร์ที่ชี้ว่าข่าวปลอมคือภัยคุกคามแห่งปี 2563
ในเดือน พ.ย. บริษัท Avast ผู้นำระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยดิจิทัล ตั้งข้อสังเกตว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อประโยชน์ของตนด้วยการปล่อยข้อมูลเท็จเพื่อล่อลวงและการโจมตีแบบฟิชชิ่ง (phishing) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของผู้คนที่กำลังตกอยู่ในห้วงเวลาที่ยากลำบากและยังมีโจมตีสถาบันทางการแพทย์อย่างไร้ความปรานีจนกระทั่งทำให้ชีวิตผู้คนต้องตกอยู่ในอันตรายโดยใช้แรนมซัมแวร์เรียกค่าใช้สถาบันการแพทย์ (3)
Avast เผยว่านอกเหนือจากข่าวปลอมแล้ว ยังมีวิวัฒนาการไปอีกขั้นนั่นคือร้านค้าปลอมและมัลแวร์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวปัญหาใหญ่ของปี 2563 การหลอกลวงออนไลน์หลากหลายวิธีถูกมิจจฉาชีพนำมาใช้แสวงหาประโยชน์จากผู้ที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น หน้ากากอนามัยและเครื่องช่วยหายใจ มีการตรวจพบร้านค้าปลอมและผลิตภัณฑ์ปลอมโดยแฝงมัลแวร์เอาไว้ เช่นการรักษาและยาสำหรับไวรัสโรคโควิด-19 ที่ถูกขายทางออนไลน์โดยใช้ชื่อและโลโก้ขององค์การอนามัยโลกเพื่อหลอกลวงผู้คนให้ดาวน์โหลดมัลแวร์โดยไม่ได้ตั้งใจใน
กรณีที่ไม่เกี่ยวกับข่าวปลอมแต่น่าจะสะท้อนถึงภัยคุกคามอีกด้านหนึ่งของมิจฉาชีพออนไลน์ต่อวงการแพทย์ คือกรณีของการโจมตีโดยอาสัยแรมซัมแวร์ (ransomware) หรือมัลแวร์ที่แทรกซึมแล้วยึดข้อมูลของเป้าหมายเอาไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ ปรากฎว่าแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนแรกๆ ที่ที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยเพิ่มขึ้น 20% ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน (ช่วงที่โควิด-19 แพร่ไปทั่วโลกแล้ว) เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ของปีนี้
มีการใช้แรนซัมแวร์โจมตีโรงพยาบาลหลายแห่งในปีนี้โดย Avast มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือโรงพยาบาลและธุรกิจอื่นๆ ที่ถูกโจมตีรวมถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเบอร์โน (Brno) ในสาธารณรัฐเช็กซึ่งเป็นศูนย์ตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาแต่สถาบันนี้กลับติดเชื้อแรนซัมแวร์ที่ชื่อ Defray777
นอกจากนี้ยังมีสถาบันด้านการดูแลสุขภาพถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ชื่อ Maze ซึ่งขโมยข้อมูลก่อนเข้ารหัสและขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลตัวประกันหากไม่ได้รับเงินค่าไถ่ และในปีนี้ยังพบในกรณีแรกที่มีผู้เสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับการโจมตีของแรนซัมแวร์ โดยผู้ป่วยรายหนึ่งเสียชีวิตเนื่องจากต้องย้ายไปโรงพยาบาลอื่นหลังจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลในเมืองดุสเซลดอร์ฟประเทศเยอรมนี
อีกหนึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นในปีนี้คือเทคโนโลยี Deepfakes ซึ่งทำให้การแพร่ข้อมูลเท็จน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นซึ่งมันคือสื่อสังเคราะห์แบบหนึ่งเกิดขึ้นจากการนำเอาภาพบุคคลในรูปภาพหรือวิดีโอที่มีอยู่เดิมไปแทนที่ด้วยภาพเหมือนของคนอื่นจนมีความแนบเนียนและให้ภาพเคลื่อนไหวนั้นพูดด้วยเสียงของบุคคลที่ต้องการ ในแง่หนึ่ง Deepfakes มีประโยชน์ในด้านการกระตุ้นการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) แต่มันก็มีศักยภาพสูงในการสร้างคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาหลอกลวง
ปัญหา Deepfakes ที่มีต่อวงการสาธารณสุขในช่วงการระบาดใหญ่มีผู้พูดถึงอย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ โดยในเดือน มิ.ย. บริษัท GlobalSign ได้เตือนว่าเทคโนโลยีอาจถูกใช้ในการแพร่ข้อมูลเท็จที่เป็นอันตรายโดยตัวมันเองอยู่แล้วและยังมีผู้ที่อาจใช้มันเพื่อโฆษณาชวนเชื่อแบบผิดๆ ทำให้ควารมเชื่อผิดๆ ปั่นหัวให้คนทำเรื่องผิดๆ ได้ เช่น การรวมตัวกันไปปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่การแพทย์เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ กรณีแบบนี้เกิดขึ้นจากการแพร่ความเชื่อผิดๆ อยู่ก่อแล้ว แต่อาจมีผู้ใช้ Deepfakes เพื่อปลุกระดมขึ้นมาอีกในอนาคต (4)
ในเวลานั้น GlobalSign ยังเตือนว่าอาชญากรกำลังใช้ Deepfakes เป็นเหยื่อล่อให้เป้าหมายคลิกเข้าเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยมัลแวร์ และชี้ว่าคลิปวิดีโอปลอมๆ มีพลังในการเป็นไวรัลหรือกระแสนิยมที่รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ทุกคนตื่นตระหนกเกี่ยวกับไวรัส และตอนนี้อาชญากรไซเบอร์กำลังควบคุมพลังของเทคโนโลยีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคำเตือนนี้ยังสะท้อนให้เห็นกันอีกในช่วงปลายปีเมื่อผู้เชี่ยวชาญอีกบริษัทหนึ่งคือ Avast ออกมาเตือนอันตรายของการใช้ข่าวปลอมอำพรางแรนซัมแวร์เพื่อเข้าไปเรียกค่าไถ่สถาบันด้านสาธารณสุข
รายงานของ Avast ยังสรุปสถานการณ์ของปีนี้ด้วยว่า การแพร่ระบาดไม่ได้ทำให้อาชญากรไซเบอร์ชะลอลง แต่อาชญากรกลับฉวยโอกาสที่ผู้คนใช้เวลาออนไลน์มากขึ้น (เนื่องจากการล็อคดาวน์) เพื่อปรับใช้กลอุบายเก่าๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องปลอม, เรื่องหลอกลวง และการหาประโยชน์จากแรนซัมแวร์ Avast จึงแนะนำว่า "แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเยี่ยมสำหรับเราทุกคนในการเชื่อมต่อและติดตามการสื่อสารและการทำงาน เรา (Avast) ขอแนะนำให้ทุกคนมีสติและระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับสิ่งที่พวกะเราเห็นทางออนไลน์ หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบเนื้อหาที่คุณพบไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร, แอปลิงก์, ข้อเสนอการขาย หรือเนื้อหาวิดีโอ เนื่องจากเนื้อหาดิจิทัลทุกประเภทสามารถบงการขึ้นมาได้" (3)
ดังนั้นสรุปสถานการณ์ข่าวปลอมในปีนี้ เราจะพบว่าสถานการณ์ถูกปั่นให้น่าวิตกมากขึ้นเพราะมีการฉวยโอกาสใช้การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เพื่อสร้างความวุ่นวาย ทั้งที่มีเจตนาเพื่อดิสเครดิตหน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือประเทศหนึ่งๆ และที่มีเจตนาเพื่อแพร่ Fake news รวมถึง Deepfakes เพื่อหวังผลในด้านอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งที่น่าสลดใจก็คืออาชญากรเหล่านี้้กรณีโควิด-19 มาล่อลวง และในหลายกรณีโจมตีหน่วยงานด้านสาธารณสุขจนกระทั่งมีผู้เสียชีวิต
อ้างอิง
1. Perkins, Tony. (September 24, 2020) "Fake news a growing threat in 2020". AZPM News. Retrieved December 19, 2020 from https://news.azpm.org/p/news-articles/2020/9/24/180738-fake-news-a-growing-threat-in-2020/
2. Muncaster, Phil (October 9, 2020) "Fake News Named Biggest Global Cybercrime Concern". Infosecurity Magazine. Retrieved December 19, 2020 from https://www.infosecurity-magazine.com/news/fake-news-named-biggest-global/
3. Avast. (November 25, 2020) "2020: The Year of Fake News, Covid-related Scams and Ransomware The year Covid-19 took over the". Retrieved December 19, 2020 from https://www.prnewswire.com/news-releases/2020-the-year-of-fake-news-covid-related-scams-and-ransomware-301180568.html
4. Akhmedova, Kamilla. (June 25, 2020). "How Deepfakes Could Further Burden the Healthcare Industry During COVID-19". GlobalSign. Retrieved December 19, 2020 from https://www.globalsign.com/en/blog/how-deepfakes-could-further-burden-healthcare-industry-during-covid-19
ภาพ Mike MacKenzie - Fake News - Person Reading Fake News Article / CC BY 2.0
- 111 views