เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำรวจ “ผัก ผลไม้” 509 ตัวอย่างในตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตหลายจังหวัด พบมีสารตกค้าง แม้ห้างจะไม่มากเท่าตลาด แต่ยังพบ จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 ธ.ค.) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai -PAN) จัดแถลงข่าวการเก็บตัวอย่างผักผลไม้ประจำปี 2563 เพื่อสุ่มตรวจและสะท้อนปัญหาในเรื่องของการตกค้างของสารเคมีทางการ เกษตรในอาหารของบ้านเรา โดยเป็นการสุ่มตรวจแบบสุ่มที่ปลายทางก่อนจะมาถึงจานอาหารของผู้บริโภคจาก แหล่งต่างๆ ที่สวนชีววีถี ต.ไทรม้าจ.นนทบุรี
น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai -PAN) กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการเฝ้าระวังในปี 2563 ถือว่าใกล้เคียงกับทุกปีที่ผ่านมา แต่ในปีจะมีการเก็บตัวอย่างมากกว่า โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 33 ชนิด ประกอบด้วย ผักไฮโดรโปนิกส์ 4 ชนิด คือ กรีนโอ๊คกับเรดโอ๊คและกรีนคอส เรสคอ รอล และบัตเตอร์เฮด ส่วนผักที่ปลูกบนดินมี 18 ชนิด ได้แก่ พริกแดง พริกขี้หนูมะเขือเทศผลเล็ก กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วฝักยาวข้าวโพดหวาน กระเพรา ผักชี ขึ้นฉ่าย คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง บร็อคโครี่ มะระ หัวไชเท้า มัน ฝรั่ง และแครอท ในปีนี้มีทั้งตัวอย่างที่ปลูกในประเทศไทยและนำเข้า ผลไม้ 9 ชนิด คือ พุทราจีน องุ่นแดงนอก ฝรั่ง ลองกอง ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มแมนเดอรินนำเข้า แก้วมังกร น้อยหน่า ส้มโอ และของแห้งมี 2 ชนิด คือ พริกแห้ง เห็ด หอมแห้ง
โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 509 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 9 ตุลาคม 2563 จาก 16 แหล่ง นอกจากนี้ ยังจัดเก็บมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ 6 แห่ง โดยตัวอย่างทั้งหมดถูกส่งไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการคอนเซ็ป ไลฟ์ไซแอนซ์ที่ สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นการวิเคราะห์เหมือนของ EU เมดดีไซน์สกรีนนิ่ง 500 สารพิษ ที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ครอบคลุมกับสารเคมีและทับซ้อนที่ไทยอนุญาตให้ใช้ในประเทศประมาณ ครึ่งหนึ่ง เมื่อทางห้องแลปส่งใบรายงานผลกลับมาก็จะมีการนำมาวิเคราะห์แปลผลโดยเปรียบเทียบกับค่า MRL ของไทย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 387 เป็นหลัก
จากการเก็บตัวอย่างพริกแห้งใน 16 แหล่งจำหน่าย พบว่า กลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตพบสารตกค้างทุกตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน และอีก 14 ตัวอย่าง เกินค่ามาตรฐาน โดยภาพรวมทั้ง 16 ตัวอย่างในพริกแห้งจะพบสารตกค้าง 58 ชนิด แต่ละตัวอย่างจะพบมากน้อย ต่างกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ส่วนเห็ดหอมแห้งจาก 16 ไม่พบสารพิษตกค้าง 1 ตัวอย่าง และพบสารพิษ 15 ตัวอย่าง เกินค่ามาตรฐาน ถ้าเทียบเป็นร้อยละของตัวอย่างพริกแห้งจะพบ 88% ที่เกินค่ามาตรฐานค่า MRL หรือค่าแม็กซิ มั่มเรสซิดิวลิมิตหรือค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่อย.อนุญาตเอาไว้ส่วนเห็ดหอมพบ 94% โดยสรุปผลไม้ 9 ชนิด หากดูเฉพาะเปอร์เซ็นต์ที่เกินค่ามาตรฐานจะพบว่า ส้ม โอไม่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ส้มแมนเดอรินนำเข้าพบการตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 13% ลองกอง 14% น้อยหน่า 43% แก้วมังกร 56% ฝรั่ง 60% ส้มสายน้ำผึ้ง 81% พุทราจีนและองุ่นแดงนอก 100 % ของตัวอย่าง ส่วนผักที่ปลูกบนดิน พบว่าข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง ไม่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทั้ง 16 ตัวอย่าง ส่วน หน่อไม้ ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พบการตกค้างเกินค่า MRL 6% แครอท 19% ถั่วฟักยาว 44% บร็อคโครี่ 50% หัวไชท้าว 56% ผักบุ้ง,มะระ 62% กระเพรา,กวางตุ้ง 81% ผักชี 88% มะเขือเทศผลเล็ก คะน้าขึ้นฉ่าย พริกแดง พริกขี้หนู 100% ของตัวอย่าง
“ส่วนผลวิเคราะห์ผักไฮโดรโปนิกส์ ยังพบว่า มีสารตกค้างทั้งการกำจัดแมลงและกำจัดโรคพืช ซึ่งผักกลุ่มนี้ยังผ่านการรับรองมาตรฐานมีบางตัวอย่างรระบุว่ามีการรับรองมาตรฐานการผลิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานที่รับรองว่า เป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์หรือว่าออแกนิก ซึ่งจะมีทั้งออแกนิกไทยแลนด์และก็ออแกนิกที่รับรองจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น USDA หรือสหภาพยุโรปและPGS นอกจากนี้ยังมีการรับรองแบบ GAP ส่วนใหญ่รับรองจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นตัว Q และบางตัวอย่างที่เป็นไทย GEP” ผู้ประสานงานเครือข่าย Thai -PAN กล่าว
ติดตามผลการตรวจสอบได้ผ่านทาง https://www.thaipan.org/highlights/2283
น.ส.ปรกชล กล่าวอีกว่า ถ้าเปรียบเทียบระหว่างห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ตกับตลาดจะ พบว่าปี 2563 ห้าง พบการตกค้างเกินค่า MRLเล็กน้อย ห้างอยู่ที่ 56.7% ตลาด 60.1% ตั้งแต่ที่เคยตรวจมาตั้งแต่ ปี 2555 จะพบว่าห้างนั้นพบสูงกว่าตลาดเล็กน้อย หากลงรายละเอียดเรื่องสารพิษตกค้างจาก 509 ตัวอย่างนั้น พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 159 ชนิด ใน จำนวนนี้จะมีทั้งสารกำจัดไร สารจำกัดโรคพืช สารกำจัดวัชรพืชซึ่งครั้งนี้ไม่รวมไกลโฟเซต กับ พาราควอต ที่ค่อนข้างน่ากังวล คือมี 5 ชนิด ที่พบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่มีการยกเลิกไปแล้วในประเทศ ซึ่งสาร 5 ตัว ได้แก่ คลอไพริฟอส ที่เพิ่งแบนและไม่อนุญาตให้ครอบครอง ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯและบก.ปคบ.ต้องเข้มงวดมากขึ้น และการเปิดเผยผลตรวจแต่ละครั้ง อย.ค่อนข้างหนักใจ ดังนั้นเราต้องช่วย อย.ขับเคลื่อนให้เกิดระบบเฝ้าระวังที่เป็นจริงและมีงบประมาณเพียงพอ
น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหา คือ สารที่พบเป็นสารที่ห้ามใช้การตรวพบสารแบบแพร่กระจายแสดงว่าต้องใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นต้องดำเนินการ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตร ที่กำกับดูแลและต้องตอบคำถามว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้อย่างไร รวมทั้งต้องถาม อย.ว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้อย่างไร การตรวจเช็คน่าจะเป็นภาระกิจของอย.สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ องุ่นแดงนอก และพุทราจีน เรื่องผลไม้นำเข้าต้องมาหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร และสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ จากการดำเนินการตรวจมา 7-8 ปีก็มีการตรวจพบมาตลอด สะท้อนว่าสถานการณ์ยังทรงตัวตลอด ประเด็นที่เป็น
- 1042 views