บุคลากรสาธารณสุขต่างเผชิญกับสภาวะหมดไฟเบื่องานไม่มากก็น้อย แม้จะเป็นความจริงที่ว่า หนทางในการลดหรือหยุดสภาวะนี้ อาจต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานเสียใหม่ แต่หากสภาวะดังกล่าวมาจากตัวเนื้องานหรือองค์กร องค์กรก็ต้องมีหน้าที่ช่วยบุคลากรของตัวเองให้หลุดพ้นจากสภาวะหมดไฟได้เช่นกัน
สภาวะหมดไฟเบื่องาน (burnout) เป็นประเด็นซึ่งถูกพูดถึงในทุกที่ ไม่ว่าจะวงการไหนก็ตาม อย่างไรก็ดี หากหันมามองวงการสายสาธารณสุขแล้ว บุคลากรกลุ่มดังกล่าวต่างเผชิญกับสภาวะนี้ไม่มากก็น้อย
เมื่อพวกเขาต้องพบปะกับความกดดัน ความเป็นความตาย ไหนจะภาระงานที่ล้นหลาม เรียกว่าหากนำอัตราส่วนผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมาหาค่าเฉลี่ยดูแน่นอนว่าสัดส่วนต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่นำไปสู่สภาวะดังกล่าว
อย่างไรดี ไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เหล่าบุคลากรทางการแพทย์รู้สึกเช่นนั้น แต่สำหรับผู้ที่พื้นเพลักษณะนิสัยดังต่อไปนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่จะหมดไฟได้ง่ายกว่าอีกด้วย
หมดไฟนั้นมีที่มา
เดรดีย์ อี. มายลอด (Deirdre E. Mylod) และนายแพทย์ โธมัส เฮช. ลี (Thomas H. Lee) จากรั้วมหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ได้ทำการออกแบบคำถามสำรวจเพื่อวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีสภาวะหมดไฟจาก 40 สถานพยาบาลทั่วสหรัฐ (แบ่งเป็น พยาบาลทั้งหมด 19,000 คน แพทย์ 5,000 คน และเจ้าหน้าที่ 60,000 คน)
พบว่าส่วนใหญ่แล้ว พวกเขาทั้งหมดมีลักษณะนิสัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการนำมาสู่สภาวะหมดไฟ ได้แก่ activation คือ ผู้ที่มีนิสัยผลักดันตัวเองให้ทำงานโดยใช้คำว่าคุณค่าหรือความหมายของชีวิต และลักษณะนิสัย decompression กล่าวคือ มีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากงาน สามารถรีชาร์ตแบตตัวเองได้ด้วยการทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ
“เราพบว่า บุคคลที่ยิ่งหยืดหยุ่นกับตัวเองเมื่อเผชิญกับความเครียดมากเท่าไร พวกเขาก็จะรู้สึกถึงสภาวะหมดไฟได้มากขึ้น โดยผลการศึกษาของเราชี้ว่า หมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่นั้นมีผลคะแนนเฉลี่ยที่ไล่เลี่ยกันในด้านของ activation แต่ส่วนของ decompression หมอจะมีน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความสามารถ (able) ในการปลดปล่อยความเครียดหรือชาร์ตแบตตัวเองได้ยากกว่า”
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าลักษณะนิสัยทั้ง 2 อย่างเป็นสิ่งที่ไม่ดี โดยทั้งสองกล่าวว่าหากสามารถทำให้ทั้ง 2 ลักษณะนิสัยมีความสมดุล พวกเขาก็จะมีความสุขกับการทำงานกล่าวคือ ต้องไม่ตึงหรือหย่อนกับตัวเองจนเกินไป
สภาวะหมดไฟไม่ใช่ความรับผิดชอบของตัวปัจเจกอย่างเดียว
แม้จะเป็นความจริงที่ว่า หนทางในการลดหรือหยุดสภาวะหมดไฟเบื่องาน อาจต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานเสียใหม่ อย่างไรก็ดีทั้งสองกลับมองว่า เมื่อความตึงเครียดหรือสภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากตัวเนื้องานหรือองค์กรเสียเอง ดังนั้น องค์กรหรือสังกัดต่างๆ จึงมีหน้าที่ ประสิทธิภาพและความสามารถมากพอจะช่วยบุคลากรของตัวเองให้หลุดพ้นจากสภาวะหมดไฟได้เช่นกัน
โดยเริ่มต้นด้วยวิธีเดียวกันคือ เปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนวิธีการถามของตัวเอง
“องค์กรสามารถช่วยลดความตึงเครียดของบุคลากรได้ ตัวอย่างเช่น ปัญหาการตรากตรำทำงานในวันหยุดหรือทำงานจนล่วงเลยเวลาพัก สิ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องหาคำตอบเพื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เพิกเฉยต่อตัวบุคลากรตัวเองและโทษว่าบุคลากรในองค์กรเป็นต้นตอของปัญหาดังกล่าว เช่น ‘เพราะอะไรพวกเขาถึงมีเวลาไม่เหมาะสมกับเนื้องาน?’ หรือ ‘พวกเขารู้สึกผิดที่ต้องหายไปในช่วงเวลาพักหรือวันหยุดหรือไม่?
“หรือเมื่อพบว่าบุคลากรทำงานหนักจนนำมาสู่ปัญหาสุขภาพหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไขไม่ใช่บอกว่าให้พวกเขาไปนอน แต่ควรเป็นการหาสาเหตุว่า ‘ทำไมสภาพแวดล้อมของที่ทำงานถึงส่งผลให้พวกเขาเป็นเช่นนั้น?’ หรือ ‘เราสามารถช่วยเหลือหรือจัดการกับอะไรได้บ้างเพื่อลดปัญหาดังกล่าว?’”
- 110 views