1.งานเชิงรุกในชุมชน

รู้หรือไม่ว่า การทำงานของพยาบาลจิตเวชและพยาบาลยาเสพติด ในส่วนของการทำงานเชิงรุกด้านงานยาเสพติดในชุมชน เป็นอย่างไร

พวกเราต้องใช้ความเชี่ยวชาญของตัวเองที่เรียนมา บวกกับภาคีเครือข่าย ที่เข้มแข็ง

พยาบาลจิตเวช และพยาบาลยาเสพติด ทำหน้าที่วิทยากรค่าย วิทยากรในชุมชน ร่วมกับ วัด, โรงเรียน และสถานประกอบการในการค้นหาผู้เสพยาเพื่อนำพามาบำบัด

ในการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หน้าที่ของพวกเธอคือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประเมินอาการทางจิต

การทำงานที่ผ่านมาของพยาบาลจิตเวชและยาเสพติด น้อยคนจะรู้และเข้าใจว่า ตลอดที่ผ่านมาเธอผู้นี้คือพวกปิดทองหลังพระตัวจริง

เล่าโดย ‘แก้มยุ้ย’

2.สภาพการทำงาน ทั้งตั้งรับใน รพ.และเชิงรุกสู่ชุมชน

การทำงานในชุมชนของพยาบาลจิตเวช พยาบาลยาเสพติด ทำอย่างไร

หลายคนอาจจะงงและไม่เคยรับรู้ว่า แท้จริงแล้วพยาบาลจิตเวช พยาบาลยาเสพติด ในโรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ทำงานกันแบบไหน

เราทำทั้งงานเชิงรับ คือ ผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาล ก็ให้การบำบัดทางจิตวิทยา โดยทีมจิตแพทย์, พยาบาลจิตเวช, พยาบาลยาเสพติด และนักจิตวิทยา

ขณะที่การทำงานเชิงรุกในชุมชน ทีมผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งงานจิตเวชและงานยาเสพติดเหล่านี้ จะมีกิจกรรมทั้งการเยี่ยมติดตามดูแลฟื้นฟูสภาพ, ประสานงานกับ อปท.ในการช่วยเหลือเรื่องความเป็นอยู่ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชิวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเวช

เล่าโดย ‘กิ๊บเก๋’

ขอบคุณภาพการดำเนินงานของพยาบาลจิตเวช รพ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

3.บำบัดรักษาเพื่อคืนผู้ป่วยสู่ครอบครัวและสังคม

การทำงานของพยาบาลจิตเวชและยาเสพติดต่อการจัดการกรณีผู้ป่วยโรคจิตที่มีความเสี่ยงสูงในชุมชน กรณีถูกทิ้ง ไร้ญาติ

ยกตัวอย่างการทำงานที่ รพ.ระยองร่วมให้การรักษาต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ในการดูแล ติดตามการรักษาและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด เมื่ออาการทุเลาผู้ป่วยสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ ผู้รับผิดชอบงานใน อปท.สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามญาติ หลังจากที่เร่ร่อนนาน 7 ปี ประสานญาติรับกลับไปดูแล

ซึ่งนี่อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยผู้ป่วยกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้

เล่าโดย ‘แก้มบุ๋ม’