หลังจากเมื่อช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักประสานราชวิทยาลัยการแพทย์แห่งอังกฤษ (Academy of Medical Royal Colleges: AMRC) เรียกร้องแพทย์ทบทวนสั่งการรักษา (ดู ที่นี่)
ซึ่งกลุ่มแพทย์ดังกล่าวเตือนว่า ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (NHS) ให้การรักษาหลายสิบรายการทั้งที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ซึ่งการรักษาที่แทบไม่มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์เลยดังกล่าวทำให้ต้องสูญค่าใช้จ่ายถึงปีละ 2 พันล้านปอนด์ หรือราว 88,029 ล้านบาท และบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ด้วย
ในการนี้ AMRC อันเป็นตัวแทนราชวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 22 แห่งจึงได้ออกมาเตือนว่า “การรักษาที่มากขึ้นใช่ว่าจะดีเสมอไป” พร้อมกับรายงานบัญชีการรักษา “ไร้ประโยชน์” อันเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมการสั่งจ่ายยาและการรักษาในกลุ่มแพทย์
The Independent สื่อมวลชนประเทศอังกฤษ ได้รายงาน List การรักษาที่ AMRC จี้ให้แก้ไข อาทิเช่น
1.เอ็กซ์เรย์สำหรับอาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเอ็กซ์เรย์หากไม่พบภาวะแทรกซ้อนหรืออาการอื่นที่น่ากังวล
2.ให้เลือด จำเป็นต้องให้เลือดเฉพาะกรณีเลือดออกรุนแรง เลือดจากรุนแรง การเสริมธาตุเหล็กสามารถบรรเทาอาการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้อง
3.เข้าเฝือกปูนปลาสเตอร์ กระดูกหักชิ้นเล็กกรณีกระดูกเท้าสามารถรักษาด้วยรองเท้าพยุงชนิดถอดออกได้ซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกับเฝือกปูนปลาสเตอร์ เช่นเดียวกับกระดูกข้อมือหักในเด็กซึ่งรักษาได้ด้วยเฝือกอ่อน
4.ตรวจแคลเซียม ตรวจเมื่อพบอาการนิ่วในไต โรคกระดูก หรือความผิดปกติที่สัมพันธ์กับระบบประสาท แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจในผู้ป่วยวิกฤติโดยเฉพาะผู้ป่วยในช่วงวาระสุดท้าย
5.ฉีดยากันชัก สามารถเปลี่ยนวิธีให้ยากันชักแบบยาฉีดเป็นยารับประทานซึ่งสะดวกกว่าสำหรับเด็กที่เป็นโรคลมชัก
6.รักษาหลอดลมอักเสบ มักทำกันในเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากแต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน
7.แอสไพริน ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหลังแท้งเพื่อลดความเสี่ยงการแท้งครรภ์ต่อไป รวมถึงระหว่างตั้งครรภ์เพื่อลดการเกิดลิ่มเลือด
8.ตรวจอัลตราซาวด์ ไม่ควรตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินว่าตัวอ่อนมีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือไม่
9.ตรวจระดับโปรตีน ไม่จำเป็นต้องตรวจระดับโปรตีน Ca-125 กรณีเป็นซิสต์รังไข่ชนิดไม่ร้ายแรง มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 เซนติเมตร และยังคงมีประจำเดือน
10.ตรวจภาวะสมองเสื่อม ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองสมองเสื่อม โดยสามารถปรึกษาแพทย์ถึงปัญหาหรืออาการที่พบ
11.รักษาเชื้อรา อาจไม่จำเป็นสำหรับอาการตกขาว แพทย์ควรตรวจช่องคลอดเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริง เช่น อาการแพ้ หรือระดับฮอร์โมนต่ำ
12.หมวกรักษาภาวะศีรษะแบนในเด็ก การรักษาด้วยหมวกอาจไม่ได้ผล ผู้ป่วยหรือพ่อแม่ของผู้ป่วยควรปรึกษาทางเลือกการรักษาอื่นร่วมกับแพทย์
13.ยาแก้ท้องผูก สำหรับเด็กแล้วการเปลี่ยนอาหารและการดำเนินชีวิตสามารถรักษาอาการท้องผูกได้ดีกว่าการใช้ยา น้ำเกลือ น้ำเปล่าก็ใช้ล้างแผลบาดเล็กน้อยได้ดีไม่ต่างจากน้ำเกลือ
14.สแกนศีรษะหลังการบาดเจ็บไม่รุนแรง การบาดเจ็บไม่รุนแรงส่วนใหญ่ไม่ต้องตรวจสแกนศีรษะ
15.การรักษาความดันโลหิตสูง อาจไม่จำเป็นในกรณีที่พบปัจจัยเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น
16.ตรวจระดับโคเลสเตอรอล ไม่จำเป็นต้องตรวจระดับโคเลสเตอรอลระหว่างที่ใช้ยาสเตติน ยกเว้นกรณีมีภาวะผิดปกติอยู่เดิม เช่น หัวใจวาย หรือสโตรก
17.ดมยาสลบ การบาดเจ็บบางกรณีสามารถใช้การทำให้ซึมแทนการดมยาสลบได้
18.ตรวจเลือดเพื่อตรวจวัยทอง ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็น โดยสามารถประเมินจากอาการอื่น เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อแตก หรือวิงเวียน และประจำเดือนมาผิดปกติ
19.ตรวจการทำงานของหัวใจทารกระหว่างคลอด ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่สูงผิดปกติ
20.ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจไม่จำเป็นในกรณีที่พบปัจจัยอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า รวมถึงชาติพันธ์หรือประวัติครอบครัว
21.สแกนศีรษะเพื่อวินิจฉัยโรคจิต มีประโยชน์เฉพาะในผู้ป่วยบางราย
ทั้งนี้ พึงระลึกไว้เสมอว่าควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับการรักษา
หมายเหตุ ค้นหาลิสต์รายการรักษาที่ไม่จำเป็นได้ที่เว็บไซต์ของ AMRC
เรียบเรียงจาก Routine NHS treatments doctors warn may be 'useless or harmful'- read the full list – The Independent
- 6 views