กรมควบคุมโรค เผยความคืบหน้าการหารือ สปสช.ขึ้นทะเบียนหน่วยงานในสังกัด เป็น หน่วยร่วมบริการสาธารณสุขในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ให้บริการได้ โดยให้กรมควบคุมโรคมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้ บริการสาธารณสุขและส่งเอกสารดังกล่าวให้ สปสช.เพื่อประกอบการพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อเย็นวานนี้ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมปรึกษาหารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประเด็นการขอขึ้นทะเบียนให้หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรคเป็นหน่วยบริการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม วินิจฉัย และรักษาโรค และภัยที่คุกคามสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ โดยให้บริการประชาชนทั้งการตรวจวินิจฉัยโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การตรวจวิเคราะห์และตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการให้บริการและการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่อ เช่น สถาบันบำราศนราดูร สถาบันราชประชาสมาสัย สำนักวัณโรค (สถานตรวจโรคปอด กรุงเทพฯ) และกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(โรงพยาบาลบางรัก) เป็นต้น รวมถึงการตรวจวินิจฉัยต่างๆ เช่น เอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีคลินิกให้บริการด้านโรคโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
นพ.อำนวย กล่าวต่อว่า ทาง สปสช.ได้แจ้งว่า กรมควบคุมโรคมีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขตามนิยาม “สถานบริการ” ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กรมควบคุมโรคจึงสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยร่วมบริการสาธารณสุขในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ให้บริการได้ โดยให้กรมควบคุมโรคมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้ บริการสาธารณสุขและส่งเอกสารดังกล่าวให้ สปสช.เพื่อประกอบการพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
กรมควบคมโรค ได้ร่วมหารือกับ สปสช.ถึงแนวทางการมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรคปฏิบัติหน้าที่ให้ บริการสาธารณสุขหรือจัดบริการในพื้นที่ และการได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ซึ่งจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณสะดวก ประชาชนได้ประโยชน์จากการบริการที่มีคุณภาพและรวดเร็ว
นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค และ สปสช.ยังได้ปรึกษาหารือในเรื่องของ “วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก” หรือวัคซีนเอชพีวีที่ สปสช.เป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณ ซึ่งจะประกาศใช้วัคซีนชนิดนี้ทั่วประเทศในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งนับเป็นวัคซีนที่มีความคุ้มทุน วัคซีนชนิดนี้สามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 9-15 ปี ถ้าเทียบกับอายุเด็กหญิงไทย เท่ากับกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5 ซึ่งถือเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในการได้รับวัคซีนตามคำแนะนำขององค์การ อนามัยโลก
- 418 views