สธ.จัดทำคำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับนักกีฬาที่จะไปพื้นที่เสี่ยง และระบบเฝ้าระวังป้องกันโรค หลังกลับมาประเทศไทย ผู้ป่วยชาวโอมานอาการดีขึ้นตามลำดับ สถานการณ์ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2558 พบ ผู้ป่วย 1,338 ราย เสียชีวิต 475 ราย ส่วนประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2558 พบ ผู้ป่วย 179 ราย เสียชีวิต 27ราย
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมวอร์รูม และให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส ว่า ขณะนี้มีข้อกังวลในเรื่องที่มหาวิทยาลัยจะส่งนักศึกษาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ประเทศเกาหลี ในเดือนกรกฎาคม และนายกรัฐมนตรีได้กำชับผู้เกี่ยวข้องให้ดูแลนั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมจัดทำคำแนะนำการดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเอง รวมทั้งเฝ้าระวังโรคเมื่อกลับมาประเทศไทย ตามระบบที่ดำเนินการสำหรับผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ติดโรค เช่นเดียวกับการดูแลผู้แสวงบุญ ที่ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเฝ้าระวังโรค
สำหรับกรณีข้อสงสัยเรื่องการรับตัวบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรค(Person Under Investigation) ไว้สังเกตอาการ ขอชี้แจงว่า บุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคคือผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ และมีอาการไข้ ไอ ภายใน 14 วันหลังออกจากประเทศดังกล่าว ทุกรายจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับตัวไว้สังเกตอาการในห้องแยกจนครบ 14 วัน ส่วนผู้กลับจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ ที่ไม่มีอาการป่วยแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่นเป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
ส่วนผู้สัมผัสโรคที่ยืนยันการติดเชื้อแล้ว (Expose to Confirmed Case) จะมี 2 ส่วนคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ญาติผู้ป่วยชาวโอมาน ผู้โดยสารนั่งใกล้ผู้ป่วย 2 แถวหน้าหลัง จะรับตัวไว้สังเกตอาการจนครบ 14 วัน ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เช่นผู้โดยสารร่วมเที่ยวบิน จะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น เป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สชาวโอมานที่รักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร วันนี้อาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้ ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คนอาการปกติ และผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอาการปกติทุกราย
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานข่าวโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) ประจำวันที่ 25 มิถุนายน 2558
1.สถานการณ์ วันที่ 25 มิถุนายน 2558
พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศ 1 ราย
พบผู้สัมผัสโรค 160 คน
สถานการณ์ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วย 1,338 ราย เสียชีวิต 475 ราย ส่วนประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วย 179 ราย เสียชีวิต 27ราย
ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งต่อ และโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัย โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สธ.จัดทำคำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับนักกีฬาที่จะไปพื้นที่เสี่ยง และระบบเฝ้าระวังป้องกันโรค หลังกลับมาประเทศไทย
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมวอร์รูม และให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส ว่า ขณะนี้มีข้อกังวลในเรื่องที่มหาวิทยาลัยจะส่งนักศึกษาไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ประเทศเกาหลี ในเดือนกรกฎาคม และนายกรัฐมนตรีได้กำชับผู้เกี่ยวข้องให้ดูแลนั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมจัดทำคำแนะนำการดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเอง รวมทั้งเฝ้าระวังโรคเมื่อกลับมาประเทศไทย ตามระบบที่ดำเนินการสำหรับผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ติดโรค เช่นเดียวกับการดูแลผู้แสวงบุญ ที่ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเฝ้าระวังโรค
สำหรับกรณีข้อสงสัยเรื่องการรับตัวบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรค(Person Under Investigation) ไว้สังเกตอาการ ขอชี้แจงว่า บุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรคคือผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ และมีอาการไข้ ไอ ภายใน 14 วันหลังออกจากประเทศดังกล่าว ทุกรายจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับตัวไว้สังเกตอาการในห้องแยกจนครบ 14 วัน ส่วนผู้กลับจากประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วงปีนี้ ที่ไม่มีอาการป่วยแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่นเป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
ส่วนผู้สัมผัสโรคที่ยืนยันการติดเชื้อแล้ว (Expose to Confirmed Case) จะมี 2 ส่วนคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ญาติผู้ป่วยชาวโอมาน ผู้โดยสารนั่งใกล้ผู้ป่วย 2 แถวหน้าหลัง จะรับตัวไว้สังเกตอาการจนครบ 14 วัน ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เช่นผู้โดยสารร่วมเที่ยวบิน จะแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการสังคมกับผู้อื่น เป็นเวลา 14 วันเช่นกัน โดยจะมีระบบขึ้นทะเบียนและติดตามทุกวัน
สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สชาวโอมานที่รักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร วันนี้อาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้ ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คนอาการปกติ และผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอาการปกติทุกราย
3.ผู้เดินทางกลับจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ เป็นบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรค
ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 24 มิถุนายน 2558 มีบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรค ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้เดินทางจากประเทศที่มีรายงานการเกิดโรคเมอร์สเข้ามาทั้งหมด 82 ราย ในจำนวนนี้มาจากเกาหลีใต้ 49 ราย จากตะวันออกกลาง 33 ราย สำหรับในวันที่ 24 มิถุนายน 2558 มีบุคคลผู้เข้าเกณฑ์การตรวจสอบโรครวม 10 ราย จากเกาหลีใต้ 3 ราย จากตะวันออกกลาง 7 ราย ทุกรายได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.สรุปผลการให้บริการสายด่วน 1422 ปรึกษาประชาชนเรื่อง โรคเมอร์ส
ในรอบ 24 ชั่วโมง วันที่ 24 มิถุนายน 2558 มีผู้โทรมาสอบถามที่สายด่วนกรมควบคุมโรค รวม 164 สาย เป็นเรื่องโรคเมอร์ส 77 สาย คำถามที่ถามมากที่สุดคือ ความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัว การป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วย ที่น่าสนใจคือ มหาวิทยาลัยจะส่งนักศึกษาไปแข่งขันกีฬาที่เกาหลี ควรปฏิบัติตัวยังไง
ทั้งนี้ กรมควบคุมได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 เรื่องรู้จักและเข้าใจโรคเมอร์สพบว่า ร้อยละ 60 เข้าใจโรค และเชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข โดยเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกร้อยละ 10
5. ผลการดำเนินงานที่ด่านควบคุมโรค ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
-ได้ตรวจคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2558 จำนวน 29,345 คน พบผู้มีไข้ 4 คน ไม่ได้เป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งเมอร์สและอีโบลา มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดตามอาการตามระบบการเฝ้าระวัง
-ขอความร่วมมือสายการบินประกาศเตือนบนเครื่องบินเรื่องมาตรการคัดกรองที่สนามบิน/ แจกคำแนะนำ (health beware card) บนเครื่อง 37 เที่ยวบินตรงจากพื้นที่เสี่ยง/ แนะนำการเข้มงวดทำความสะอาดเครื่องบิน
- ประสานงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ส่งผู้เดินทางจากเขตติดโรคให้เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคตรวจวัดไข้ทุกราย ก่อนอนุญาตให้เข้าเมือง
- ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ (Thermoscan) 4 จุด/ ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลกว่า 200 จุด ทั่วสนามบินแจกหน้ากากอนามัยที่จุดประชาสัมพันธ์
6. ข้อแนะนำประจำวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคเมอร์ส
ประชาชนคนไทยทั่วไปไม่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคเมอร์ส ยกเว้นผู้ที่เดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด สำหรับประชาชนทั่วไปมีข้อปฏิบัติดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม
2. ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่
3. ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เมื่อไอหรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากมีอาการดังกล่าวภายใน 14 วัน ให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง
4.ประชาชนที่ไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ไอ ไม่ต้องกังวล ไปพบแพทย์เพื่อรักษาหรือโทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมงหรือติดตามข่าวสารทางเฟสบุ๊ค “ไทยสู้เมอร์ส”
- 2 views