สธ.ออกประกาศเมอร์ฉบับ 2 การปฏิบัติตัวของประชาชน ที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงและสัมผัสกับผู้ป่วยที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ต้องไป รพ.ทันที ขณะที่เจ้าบ้านต้องแจ้งรายละเอียดผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วยต่อ สธ. หากฝ่าฝืนปรับ 2 พันบาท ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 ขณะที่สถานการณ์ในไทย ยังพบผู้ป่วยยืนยัน 1 คน ผู้สัมผัสโรค 160 คน ผู้ป่วยชาวโอมานอาการดีขึ้นตามลำดับ
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมวอร์รูม และให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส ว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศฯ ให้สถานพยาบาลทุกแห่งปฏิบัติ เมื่อมีผู้ป่วยสงสัยต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขทันที ห้ามปฏิเสธการรับผู้ป่วย และถ้าต้องส่งต่อเพื่อรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ห้ามส่งผู้ป่วยเดินทางไปเองด้วยรถสาธารณะ ให้ส่งด้วยรถพยาบาลที่มีการป้องกันการติดเชื้อแล้วนั้น ในวันนี้ได้ออกประกาศเพิ่มเติมในเรื่องการปฏิบัติตัวของประชาชน เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคแล้วป่วยเป็นไข้ ไอ และผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ ไอที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ว่าต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ให้เกิดการแพร่กระจายโรคในประเทศ
ทั้งนี้ประกาศเจ้าพนักงานสาธารณสุข ฉบับที่ 2/2558 เรื่อง ข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 กรณีโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส โดยระบุให้
1.ให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจจะป่วย หรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่ รพ.โดยด่วนที่สุด เพื่อรับการตรวจหรือรับการรักษาในทางการแพทย์
2.ในกรณีที่มีการป่วยเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมแลบ้าน แจ้งชื่อและที่อยู่ของตน ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ป่วย รพ.หรือคลินิกที่ผู้ป่วยรับการรักษา วันที่เริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย ให้แก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เริ่มมีการป่วยเกิดขึ้นหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยเกิดขึ้น
3.กรณีผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจจะป่วย หรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 หรือกรณีเจ้าของบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน ไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 17 แห่งพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2523 แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ขณะนี้มีนักเรียนไทยที่ไปศึกษาที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทยอยเดินทางกลับบ้านช่วงถือศีลอดและเทศกาลปีใหม่ ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ ตรวจสอบข้อมูล และติดตามดูแลเฝ้าระวังโรค นักเรียนไทยทุกคนเมื่อกลับถึงประเทศไทย ในระบบเดียวกับการเฝ้าระวังโรคแก่ผู้แสวงบุญที่ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปี
สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สชาวโอมานที่รักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร วันนี้อาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้ ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คนอาการปกติและผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอาการปกติทุกราย
ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข รายงานข่าวโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome : MERS) ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2558
1.พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศ 1 ราย พบผู้สัมผัสโรค 160 คน
สถานการณ์ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วย 1,338 ราย เสียชีวิต 475 ราย ส่วนประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วย 175 ราย เสียชีวิต 27ราย
ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งต่อ และโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัยโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สธ.ออกประกาศเพิ่มเติม การปฏิบัติตัวของประชาชน ที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงและสัมผัสกับผู้ป่วยที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมวอร์รูม และให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส ว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศฯ ให้สถานพยาบาลทุกแห่งปฏิบัติ เมื่อมีผู้ป่วยสงสัยต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขทันที ห้ามปฏิเสธการรับผู้ป่วย และถ้าต้องส่งต่อเพื่อรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ห้ามส่งผู้ป่วยเดินทางไปเองด้วยรถสาธารณะ ให้ส่งด้วยรถพยาบาลที่มีการป้องกันการติดเชื้อแล้วนั้น ในวันนี้จะออกประกาศเพิ่มเติมในเรื่องการปฏิบัติตัวของประชาชน เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคแล้วป่วยเป็นไข้ ไอ และผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ ไอที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ให้เกิดการแพร่กระจายโรคในประเทศ
นอกจากนี้ ขณะนี้มีนักเรียนไทยที่ไปศึกษาที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทยอยเดินทางกลับบ้านช่วงถือศีลอดและเทศกาลปีใหม่ ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ ตรวจสอบข้อมูล และติดตามดูแลเฝ้าระวังโรค นักเรียนไทยทุกคนเมื่อกลับถึงประเทศไทย ในระบบเดียวกับการเฝ้าระวังโรคแก่ผู้แสวงบุญที่ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปี
3.สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สชาวโอมานที่รักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร วันนี้อาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้ ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คนอาการปกติและผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอาการปกติทุกราย
4.ผู้เดินทางกลับจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ที่อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรค
ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 23 มิถุนายน 2558 มีผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้เดินทางจากประเทศที่มีรายงานการเกิดโรคเมอร์สเข้ามาทั้งหมด 72 ราย ในจำนวนนี้มาจากเกาหลีใต้ 46 ราย จากตะวันออกกลาง 26 ราย สำหรับในวันที่ 23 มิถุนายน 2558 มีผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรครวม 14 ราย จากเกาหลีใต้ 11 ราย จากตะวันออกกลาง 3 ราย ทุกรายได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สรุปผลการให้บริการสายด่วน 1422 ปรึกษาประชาชนเรื่อง โรคเมอร์ส ในรอบ 24 ชั่วโมง วันที่ 23 มิถุนายน 2558 มีผู้โทรมาสอบถามที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 126 สาย เป็นเรื่องโรคเมอร์ส 59 สาย คำถามที่ถามมากที่สุดคือ ความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัว การป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วย
5.ผลการดำเนินงานที่ด่านควบคุมโรค ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
-ได้ตรวจคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2558 จำนวน 29,345 คน พบผู้มีไข้ 4 คน ไม่ได้เป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งเมอร์สและอีโบลา มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดตามอาการตามระบบการเฝ้าระวัง
-ขอความร่วมมือสายการบินประกาศเตือนบนเครื่องบิน เรื่องมาตรการคัดกรองที่สนามบิน/ แจกคำแนะนำ (health beware card) บนเครื่อง 37 เที่ยวบินตรงจากพื้นที่เสี่ยง/ แนะนำการเข้มงวดทำความสะอาดเครื่องบิน
- ประสานงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ส่งผู้เดินทางจากเขตติดโรคให้เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคตรวจวัดไข้ทุกราย ก่อนอนุญาตให้เข้าเมือง
- ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ (Thermoscan) 4 จุด/ ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลกว่า 200 จุดทั่วสนามบิน แจกหน้ากากอนามัยที่จุดประชาสัมพันธ์
6.ข้อแนะนำประจำวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคเมอร์ส
ประชาชนคนไทยทั่วไปไม่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคเมอร์ส ยกเว้นผู้ที่เดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด สำหรับประชาชนทั่วไปมีข้อปฏิบัติดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม
2. ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่
3. ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เมื่อไอหรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากมีอาการดังกล่าวภายใน 14 วัน ให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง
4.ประชาชนที่ไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ไอ ไม่ต้องกังวล ไปพบแพทย์เพื่อรักษาหรือโทรปรึกษา สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมงหรือติดตามข่าวสารทางเฟสบุ๊ค “ไทยสู้เมอร์ส”
- 3 views