สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่ 1 มกราคม- 1 มีนาคม 2558 พบป่วยแล้ว 3,735 ราย เสียชีวิต 3 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากสุด 15-24 ปี รองลงมา 10-14 ปี และ 25-34 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด ได้แก่ ระยอง รองลงมา สมุทรสงคราม กระบี่ นครปฐม และเพชรบุรี
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่ 1 มกราคม- 1 มีนาคม 2558 พบป่วยแล้ว 3,735 ราย เสียชีวิต 3 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากสุด 15-24 ปี รองลงมา 10-14 ปี และ 25-34 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด ได้แก่ ระยอง รองลงมา สมุทรสงคราม กระบี่ นครปฐม และเพชรบุรี โดยโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ มียุงลายบ้านตัวเมียเป็นพาหะสู่คน ซึ่งจะออกหากินในช่วงกลางวันเมื่อกัดผู้ป่วยและไปคนอื่นอีกก็เป็นการปล่อยเชื้อ ซึ่งยุงชนิดนี้พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝนและวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขังและขณะนี้อากาศเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นพร้อมมีฝนตกในบางพื้นที่ทำให้ยุงลายที่เก็บตัวในช่วงอุณหภูมิต่ำไม่ได้ออกหากินมานาน จะออกหากิน อุณหภูมิที่มักจะพบยุงลายจะเริ่มที่ 20 องศา
หากผู้ที่ถูกยุงกัดได้รับเชื้อ 5-8 วันจะปรากฏอาการได้ เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นเอง ผู้ดูแลสามารถใช้วิธีปฏิบัติได้ง่ายคือ เช็ดตัวไม่ให้มีอุณหภูมิร้อนจัด รับประทานยาตามแพทย์สั่ง รับประทานอาหารอ่อน ดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ พักผ่อนมากๆ และเฝ้าสังเกตอาการการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ได้ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อสม. ร่วมภาคีเครือข่าย ชุมชน ครู นักเรียนแประชาชน ร่วมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุก 6-7 วัน ได้แก่ เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ไม่มีมุมอับทึบ ตรวจสอบมุ้งลวด เก็บภาชนเก็บน้ำให้เรียบร้อย เก็บขยะ เศษภาชนะ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ให้ดี รวมถึงป้องกันตนเองด้วยการทายากันยุง หรืออื่นๆ ทั้งนี้สัญญาณอันตรายของไข้เลือดออก ได้แก่ไข้สูงเกิน 2 วันอุณหภูมิร่างกายเกิน 38.5 องศาเซลเซียส เบื่ออาหาร อาเจียน ไข้ไม่ลดแม้กินยา หรือลดชั่วคราวและกลับมาสูงอีก ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาวินิจฉัยโรค
- 5 views