ปมปลดหมอสุวัชพ้นอภ. ไม่จบ หมออำพล หนึ่งในบอร์ดอภ. และกรรมการสรรหาผอ.อภ.คนใหม่ โพสต์ Facebook เดือด ซัดสื่อมโนไปเอง หลังเขียนบทความวิเคราะห์การปลดหมอสุวัชเชื่อมโยงกับกระแสความขัดแย้งในสธ. แจงยิบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในสธ. ตัดสินตรงประสิทธิภาพของการทำงาน ชี้ วิเคราะห์ให้ร้าย มโนไปเอง ไม่มีความรับผิดชอบ ย้ำสื่อที่ดีต้องสร้างสรรค์
งานนี้ไม่จบแม้บอร์ดองค์การเภสัชกรรม(อภ.) จะมีมติเลิกจ้าง นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ออกจากผู้อำนวยการอภ.ไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่า การเลิกจ้างก่อนสัญญาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร ส่วนปัญหาความขัดแย้งก็เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องได้ผู้บริหารที่มีความสามารถจัดการได้
เมื่อรับคำตอบเช่นนี้ อดไม่ได้ที่จะมีการเชื่อมโยงว่า การเลิกจ้างนพ.สุวัช เป็นเพราะคนละขั้วการเมืองปัจจุบันหรือไม่ เนื่องจาก นพ.สุวัช มาแทน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล สมัยเป็นผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม แต่ถูกปัญหาวัตถุดิบยาพาราเซตตามอล และไม่สามารถเดินหน้าโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้สำเร็จ แม้โรงงานดังกล่าวจะมีปัญหามาแต่เก่าก่อนก็ตาม
ที่สำคัญมีการเชื่อมโยงว่า การเลิกจ้างครั้งนี้มาจากแรงกดดันจาก 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ได้แก่ ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และมูลนิธิเภสัชชนบท ออกมาโจมตีและร้องเรียนบอร์ด อภ.ให้พิจารณาการทำงานของนพ.สุวัช ถึงปัญหายาต้านไวรัสเอชไอวีขาดแคลน แต่ที่น่าสังเกตคือ มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นเพราะขั้วการเมืองเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากนพ.สุวัช มาในสมัยของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ เป็นปลัดสธ. และมี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธานบอร์ด อภ.ในสมัยนั้น ก่อนจะมีการสรรหาบอร์ด อภ.ชุดใหม่ ณ ปัจจุบัน
ล่าสุด หนึ่งในบอร์ด อภ. คือ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และบอร์ด อภ. โพสต์เฟซบุคส่วนตัว ประกาศลั่น ต่อว่า นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 28 ต.ค.57 ที่เขียนรายงานพิเศษเรื่อง “สมรภูมิองค์การเภสัชเชือด 'หมอสุวัช' วัดกำลังปลัดณรงค์” โดยมีเนื้อหาเชื่อมโยงว่า นพ.อำพล, นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. และ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ทั้งหมด ไม่อาจสลัดภาพออกจากทีมที่ปรึกษารมว.สธ. ได้
ถ้อยคำที่นพ.อำพล ชี้แจงในเฟซส่วนตัวนั้น ต้องถือว่าดุเดือดและรุนแรงทีเดียว นพ.อำพลขึ้นต้นว่า สื่อที่ดีควรสร้างสรรค์ ทั้งระบุว่า การเชื่อมโยงการทำงานของบอร์ด อภ.ว่า เป็นประเด็นการเมืองถือเป็นการดูถูกดูแคลน
“เศร้าที่เห็นสื่
หมายเหตุ ข้อความทั้งหมดสามารถดูได้จากท้ายข่าว
ต่อเรื่องนี้ นพ.อำพล ซึ่งนอกจากจะสวมหมวกของ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และบอร์ดอภ.แล้ว ยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) รวมถึงเป็นกรรมการสรรหาผู้อำนวยการ อภ.คนใหม่ แทน นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงเรื่องนี้ว่า ไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดจึงไปเชื่อมโยงกันว่า การเลิกจ้างนพ.สุวัช เกี่ยวข้องกับการเมือง ขอย้ำว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แต่อย่างใด เนื่องจากบอร์ด อภ.มีมติพิจารณาจากภาพรวมการทำงาน และการเลิกจ้างก่อนสัญญาก็เป็นไปตามสัญญาที่ว่า หากเลิกจ้างก่อนจะต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 30 วันและจ่ายค่าตอบแทน 6 เดือน ส่วนที่เลิกจ้างครั้งนี้มีเหตุผลว่าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนความขัดแย้งภายในองค์กรก็ต้องมีผู้บริหารที่ดีที่สามารถจัดการได้ สำหรับการประเมินผลการทำงานของผู้อำนวยการ อภ. ต้องบอกว่า ยังไม่เสร็จ เนื่องจากต้องใช้เวลา ซึ่งคนละเรื่องกัน ต้องแยกประเด็นให้ดี เพราะเรื่องการบริหารต้องมองภาพรวมทั้งประเทศ ยิ่งการบริหารจัดการยาให้ผู้ป่วย จะมีปัญหาไม่ได้
"ผมไม่เข้าใจว่าไปคิดเองได้อย่างไร ว่า การเลิกจ้างนพ.สุวัช ไปเชื่อมโยงกับผู้อำนวยการอภ.คนเก่า และยังไปเชื่อมกับการเมืองภายในกระทรวงสาธารณสุข คนละเรื่องโดยสิ้นเชิง อย่างนพ.สุวัช ก็นับเป็นน้องผม รู้จักกัน ส่วนการสรรหาผู้อำนวยการ อภ.คนใหม่ ยังไม่มีการประชุมอะไรเลย เรื่องนี้ต้องเป็นไปตามขั้นตอน" นพ.อำพล กล่าว
ขณะที่ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ หนึ่งใน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ กล่าวว่า การที่เครือข่ายฯ ไปเรียกร้องเพื่อให้ตรวจสอบการบริหารของ นพ.สุวัชนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่เครือข่ายฯ มองถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงานที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อย่างที่ร้องเรียนคือ ปัญหาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ พบปัญหายาต้านไวรัสเอชไอวีไม่เพียงพอ ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน เนื่องจากมีปัญหาในกระบวนการผลิต การบริหารวัตถุดิบต่างๆ โดยผู้อำนวยการ อภ.ไม่สามารถบริหาร จัดสรร หรือคำนวนเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การนำเข้า การผลิตว่าจะเพียงพอต่อผู้ป่วยหรือไม่ ทั้งๆ ที่อภ.เป็นผู้สนับสนุนยารายใหญ่ของรัฐ ไม่น่าจะมีปัญหาลักษณะนี้ ที่สำคัญยังไปลดการผลิตยาเพื่อปรับปรุงสายการผลิต และหันไปซื้อจากภาคเอกชน ตรงนี้ก็ทำให้รายได้อภ.ลดลงด้วย ทั้งหมดจึงต้องมองภาพรวม ไม่ใช่ว่าทุกอย่างไปโยงการเมืองเสียหมด สำหรับการสรรหาผู้อำนวยการ อภ.คนใหม่นั้น ขอให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ หากเป็นไปได้อยากให้เป็นเภสัชกรมาบริหารงาน เพราะน่าจะเข้าใจระบบยาได้ดี แต่ต้องเป็นเภสัชฯที่มีฝีมือ บริหารระบบยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ ข้อความเต็มจากเฟซบุค นพ.อำพล จินดาวัฒนะ
สื่อที่ดี ควรสร้างสรรค์
เช้าวันนี้ (28 ต.ค.57)
ผมอ่านเจอข่าวนี้ในสื่อสิ่งพิ
เขาวิเคราะห์ข่าวการเลิกจ้างผอ.
"บุคคลสำคัญที่ควรกล่าวถึ
ทั้งหมดไม่อาจสลัดภาพทีมที่ปรึ
คำถามคือ คุณวิเคราะห์และเขียนอย่างนี้
คุณมโนไปเองไช่ไหม ?
คุณรู้ไหมว่าคุณดูแคลนคนอื่น คุณมีสำนึกการเคารพในคุณค่าศั
คุณมีความรับผิดชอบหรือไม่ ?
หรือเขียนให้สนุกเร้าใจ เอาทุกเรื่องไปปนกันให้เป็
ผมขอเรียนว่า
1.ประธาน(พลโทศุภกร)ท่านเป็
2.ผมทำงานปฏิรูประบบสุขภาพมากว่
รมต.สธ.ชุดนี้ก็เหมือนชุดอื่
3.นพ.สุรเชษฐ์ เป็นข้าราชการประจำระดับสู
4.นพ.บุญชัย เลขาอย.เป็นข้าราชการประจำ เป็นกรรมการชุดเก่าขององค์
ทั้งสี่คนที่คุณเขียนว่าสลั
ผมขอเรียนว่า อำนาจการดูแลการบริหารองค์
คุณเขียนลากเอาคนอื่นและเอาเรื่
คุณกำลังดูถูกดูแคลนกรรมการองค์
- 30 views