ในยุคที่กำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในหลายประเทศเขาได้เตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน แต่สำหรับประเทศไทยที่ปัญหาการเมืองยังไม่มั่นคง กระทรวงสาธารณสุขหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องที่ว่าด้วยสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนในประเทศเกิดความหมาดหมางขัดแย้งอย่างรุนแรงจนลามไปถึงระดับปฏิบัติการ และเมื่อถึงปี 58 ที่ไทยจะต้องก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เกิดผลกระทบอย่างไรกับบุคลากรสาธารณสุขในบ้างเรา
นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรานกระต่าย
นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมอปสข.กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพในวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นการประชุมที่มีประโยชน์ เพราะเป็นการพบปะกับตัวแทนเครือข่าย และได้รับฟังความเห็นในส่วนรับบริการโดยตรง ในส่วนของเราเวลาให้บริการ การได้พูดคุยมันจะเป็นช่องทางในการเสนอช่องทางการร้องเรียนหรือวาเป็นการติชมต่างๆ แต่ในระดับภาคใหญ่เวทีตรงนี้มีประโยชน์ เวทีใหญ่ระดับนี้ไม่สามารถจัดได้ง่ายๆปีหนึ่งเท่าที่ทราบจะจัดได้หนึ่งครั้ง ซึ่งต้องใช้ทั้งงบประมาณ แล้วคิดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดว่าจะเป็นการเสนอผลงาน การหาจุดร่วมร่วมกัน ในแต่ละพื้นที่ แต่ละเขตจะมีสภาพร่วมที่แตกต่างกัน
“เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถมองเห็นภาพรวมได้ และแก้ปัญหาร่วมกัน ผู้รับบริการก็คงมีความสุขเพราะเป้าหมายอยู่ที่ผู้รับบริการไม่ใช่กระทรวงสธ. กระทรวงสธ.อาจจะมีขัดแย้งบางส่วน ซึ่งตอนนี้เราไม่ทราบว่าแท้จริงคืออะไร สิ่งที่เรากังวลคืออย่าให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับบริการ การแสดงออกโดยไม่เข้าประชุมทั้งที่มีผู้รับบริการมากมายอาจไม่ใช้สิ่งที่ดีนัก เราไม่ได้มาเพื่อสลายความขัดแย้งหรือมาเพื่อเพิ่มความขัดแย้ง เวลามองว่ามันเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะมองว่าตรงไหนขัดแย้งกว่าตรงไหน แต่ว่าการมองว่าการมาตรงนี้ผิด ก็คงต้องไปตอบคำถามว่ามันผิดตรงไหน ก็อย่างที่บอกในการขอร้องแต่คงไม่เป็นหนังสือ แต่คงเป็นลักษณะการสัมพันธ์ในระดับผู้บังคับบัญชา”
เมื่อกล่าวถึงระบบสาธารณสุขในอนาคต นพ.บัลลังก์ กล่าวว่า เราต้องมาประเมินจุดอ่อน จุดแข็งทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เช่น ถ้าอยู่ในพื้นที่ เราต้องอาศัยจุดแข็งของภาคเอกชนที่สะดวกรวดเร็ว มาตรฐานของการบริการ สุดท้ายมันก็เดินไปด้วยกัน เพราะว่าถ้าเขาจะแข่งกับเราจริงๆ เราก็อาจจะสู้เขาไม่ได้ แต่ว่ารัฐกล้าพอไหมที่จะเปิด ให้เอกชนมาแข่งขันกับเรา 100% แล้วถามว่า สปสช.ไม่แย่หรือ อาจจะไม่เหลือใครก็ได้สุดท้ายเขาก็ไปเลือกข้างเอกชน ซึ่งผมมองว่าตรงนี้ ไม่น่าจะเกิน 5-6 ปีข้างหน้าอาจจะต้องเป็นลักษณะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือก คือเป็นการสามารถเลือกแผนบริการได้เลย เพราะเป็นสิทธิของผู้รับบริการที่สามารถที่จะเลือกสรรโดยตรง ไม่ใช่เราไปบังคับว่า ถ้าท่านเข้าพรานกระต่ายท่านต้องไปเข้าพรานกระต่ายอีก เพราะเป็นการแข่งขันที่เสรีจริง
“ถามว่า AEC จะกระทบไหม กระทบ อย่างน้อยหมอจะต้องถูกดึง เพราะว่าด้านบริการทางการแพทย์ของไทยค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพดีที่สุดและเป็นมิตรมากที่สุด เพราฉะนั้นหลายๆอย่างจึงจะเกิดขึ้น สิ่งที่อยากให้เตรียม คือ แพทย์ของกระทรวงที่ให้บริการในพื้นที่ สิ่งแรกคือเราต้องตรึงบุคลากรให้อยู่ สามารถเข้าไปอยู่พื้นที่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี บุคลากรทั้งกระทรวงประมาณสามแสน อาจจะไม่เกิดปัญหา แต่ถ้าไหลไปซัก 5 หมื่น แล้วเอกชนจะไปดึงจากไหนถ้าไม่ใช่จากเรา เขาคงไม่ไปดึงจากสาขาใหญ่กรุงเทพ เขาต้องหาคน แผนสุขภาพไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นแค่การรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาและเชื่อมงานบริการไม่ใช่องค์ประกอบของการบริหาร
สุดท้ายที่ นพ.บังลังก์อยากจะฝากไปถึงผู้บริหารกระทรวงที่ยังความขัดแย้งกันว่า ตนไม่ได้ประโยชน์ใดๆจากเรื่องนี้ พูดง่ายๆ คือ ไร้สาระ เอาเวลามาทำงานดีกว่า โดยทั่วไปมีเขตอยู่แล้ว เขตสามารถทำได้อยู่แล้ว ยังไม่อยากมาล้วงเต็มตัวไม่เช่นนั้น สสจ.จะไม่เหลือเลย สิ่งที่ทำให้รัฐมนตรีกับปลัดขัดแย้งกัน คือ อำนาจ ใครก็อยากได้อำนาจ เขตสุขภาพจะดีมากๆ ถ้าเน้นการเชื่อมต่อ ปรับปรุงระบบการบริการ โดยไม่มีโครงสร้างการบริหารมาเกี่ยว ผู้ตรวจมีอำนาจอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ ณ ปัจจุบัน ต่างคนต่างทำ ไม่เคยเชื่อมต่อ สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขทำตอนนี้ ตนมองว่าไม่ใช่แนวทางปฏิรูปเพียงแต่ทำให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ถ้าปฏิรูปจริงๆคือต้องหลุดจากกรอบเดิมไปเลย ถ้าในมุมตนกล้าหรือไม่ที่ให้โรงพยาบาลทุกแห่งเป็นอิสระนั้นแหละมันน่าจะตอบโจทย์การปฏิรูป
“กระทรวงสาธรณสุขไปดูแลป้องกันส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลทุกแห่งแข่งขันกันเองเพื่อความอยู่รอด ต้องพัฒนาการอำนวยการ ถ้ายังฟัดกันเองยังนี้ก็ยังไม่จบ สุดท้ายสิงคโปร์ก็เข้ามา การขัดแย้งอย่างนี้ถ้าจะจบลงต้องมีคนไป แต่ถึงยังไงตนก็ไม่เห็นเห็นด้วยกับการที่โรงพยาบาลระดับล่างมาตอบสนองความขัดแย้งตรงนั้น จบแน่ไม่ต้องบอกไม่เกิน 5 เดือน ไม่เกินตุลาจบแน่" นพ.บัลลังก์กล่าวทิ้งท้าย
- 184 views