"ไม่ต้องเรียกผมว่ารัฐมนตรีนะ...มันเขิน"เป็นคำทักทายหลังเจอหน้า "ทีมงานโพสต์ทูเดย์" ของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข
เราจึงขอใช้สรรพนาม "คุณหมอ" ระหว่างการสัมภาษณ์ในบรรยากาศสบายๆ ช่วงบ่ายแก่ๆ
นพ.ประดิษฐ เป็นรัฐมนตรีหนึ่งเดียวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ถูกข้าราชการประจำ "หักหน้า" ไม่เอาด้วยตั้งแต่เริ่มก้าวเข้าสู่กระทรวงหมอ ทว่าเขาไม่เคยตอบโต้ ไม่เคยเปิดปากบ่น ราวกับว่าไม่รู้สึกสะทกสะท้านอะไร
"ผมเดินหน้าทำงานอย่างเดียว หมอชนบทบุกมาในห้องประชุม ผมก็นั่งฟังเขาพูด"
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์
ต่อมาภายหลัง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงนำขบวนประชาคมสาธารณสุขตั้งโต๊ะแถลงจุดยืนทางการเมืองสนับสนุนการขับไล่ระบอบทักษิณ จนต้องตัดสินใจหอบข้าวของออกจากห้องทำงานชั้น 4 สำนักปลัดกระทรวงไปตั้งหลักที่เรือนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากอาคารเดิม
ตลอดการชุมนุมกดดันคณะรัฐมนตรีอย่างหนักหน่วงจากกลุ่ม กปปส. มีเพียงผู้ใกล้ชิด นพ.ประดิษฐ เท่านั้นที่รับรู้ว่าเขาอัดอั้น เป็นทุกข์ เสียความรู้สึก และกำลังถอดใจ
ถัดจากนี้คือการเปิดใจครั้งแรกของรัฐมนตรี...ประดิษฐ สินธวณรงค์
คุณหมอรับนัด "โพสต์ทูเดย์" ช่วงกลางเดือน มี.ค. ณ ร้านอาหารสไตล์บิสโตร ย่านสุขุมวิท ชายวัยกลางคนในเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีฟ้า กางเกงสแล็กส์ดำ เดินเข้ามาคนเดียวด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ก็แฝงด้วยท่าทีเกร็งๆ
"บ่ายๆ แบบนี้ ผมว่าเรานั่งจิบน้ำชา ทานของเบาๆ ดีกว่า"นพ.ประดิษฐ เริ่มบทสนทนา ก่อนจะยกแก้ว "Plum soda" ขึ้นดื่มตามด้วย "Afternoon Tea" เป็นรายการถัดไป "ขอเป็น Jasmine Tea นะครับ" เขาส่งเสียงผ่อนคลายที่สุดเท่าที่เคยเห็น
"การเมืองเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากครับ"คุณหมอเผยความในใจเปื้อนรอยยิ้มขื่นๆ"ผมไม่เคยชิน ผมไม่ได้เตรียมตัวมาเจอการเมืองแบบนี้เลย ที่ผ่านมาผมทำงานภาคธุรกิจไม่ต้องคิดอะไรที่ยอกย้อน ไม่ต้องมาถูกด่าถูกว่า พูดตรงๆ ผมทุกข์มาจนถึงทุกวันนี้ว่าเข้ามาทำไม แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องอดทนต้องไม่ทำให้ใครผิดหวัง
"ที่ผมเข้ามารับตำแหน่ง ผมไม่ได้เข้ามาในฐานะการเมืองนะ เรียกว่าเป็นเทคโนแครตดีกว่า ผมมีประสบการณ์และเห็นปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในเชิงระบบ การพัฒนาและงบประมาณ แต่เมื่อเข้ามาก็มีคนเรียกผมว่าเป็นนักธุรกิจผมไม่อยากให้มองว่าเป็นนักธุรกิจนะ มันเลวร้าย มีการตั้งประเด็นว่านักธุรกิจจะมาทำมาหากินในกระทรวง ผมไม่ชอบ"
แรกทีเดียว นพ.ประดิษฐ รู้สึกน้อยใจที่ภาพออกสู่สาธารณะถูกสร้างภาพให้เป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน มีธุรกิจบริษัทยาทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
"ที่สำคัญผมไม่เคยคิดเลยว่าเมื่อมาเป็นรัฐมนตรีแล้วจะต้องมารับผิดชอบอะไรที่มันอยู่นอกเหนือจากตัวเอง บางเรื่องผมก็ไม่รู้เรื่องด้วยเช่น 2 ล้านล้านมาบอกว่ารัฐมนตรีต้องมีความผิดด้วยนะ ผมฟังก็เอ๊ะ ทำไมผมต้องโดนทุกเรื่องเลย"
ภายใต้ทิศทางการบริหารของ นพ.ประดิษฐ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา หลายนโยบายแตกต่างไปจากยุคก่อน โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง การแบ่งเขตสุขภาพ การเปลี่ยนระบบจ่ายค่าตอบแทน แต่ดูแล้วทุกนโยบายล้วนเรียกก้อนอิฐสู่อ้อมแขนเขาอย่างเต็มรัก
"ตอนนั้นผมก็ทุกข์ หมอกับหมอทะเลาะกันจนไม่รู้เรื่องมันก็ลามไปถึงหมอ ไปถึงพยาบาล เจ้าหน้าที่ ทะเลาะกันหมด"
ทว่า ความขัดแย้งในขณะนั้นเทียบไม่ได้เลยกับสถานการณ์ที่ร้าวลึกในปัจจุบัน และพัฒนาการมาจนถึงจุดที่มองไม่เห็นทางออก "ที่ทุกข์ใจที่สุดคือผมจะบริหารอย่างไรดี ในขณะที่ฝั่งหนึ่งก็แรง อีกฝั่งหนึ่งก็บอกว่าทำไมผมเงียบ ไม่ยอมทำอะไร ผมเรียนตรงๆ ผมตั้งใจไม่อยากจะทำอะไร ไม่เช่นนั้นก็แรงกับแรงทำออกมาแล้วก็จะเหลือแต่ซากของกระทรวง
"ยิ่งสาวไส้สาวอะไรกันไปเรื่อยมันไม่จบส่วนตัวผมไม่มีปัญหาอะไรนะ เวลาหมอมาคุยตัวต่อตัวกับผมก็ปกติ ไปเจอท่านคณบดีศิริราชก็คุยกันปกติ เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกัน คืออย่าไปจับเรื่องการเมืองก็ไม่มีปัญหา"
นอกจากปัญหาการบริหารในกระทรวงแล้ว ผลพวงความขัดแย้งยังพุ่งเข้าใส่ครอบครัวด้วย "ตอนแรกผมรับได้นะ ถูกแพทย์ชนบทหลายร้อยคนมาบุกถึงห้องประชุมแล้วก็มาพูดล่อผม ผมก็ไม่เคยโต้ตอบ แต่ครั้งนี้ผมไม่รู้ว่าผมจะโดนอะไรวันก่อนผมไปเดินเอ็มโพเรียมกับลูก ผมบอก...เฮ้ย เรากลับดีกว่า เพราะในนั้นเขาเดินโพกหัว เป่ากันอะไรต่อมิอะไรมากมาย เราก็ไม่สบายใจ อย่างลูกผมก็โดนที่โรงเรียนมีคนมา
ถามลูกผมว่าทำไมพ่อถึงมาทำงานรับใช้คนแบบนี้ มันกระเทือนในครอบครัวไปหมด
"บางทีก็ชวนลูกผมไปเป่านกหวีด พอลูกผมไม่ไปก็ว่า พอไปก็ถูกถ่ายรูปแล้วมาบอกว่าดูสิ ขนาดลูกรัฐมนตรียังไล่พ่อของตัวเอง มันทำให้ซับซ้อนไปหมด ลูกผมถามว่าทำไมเราต้องโดนแบบนี้ ผมก็บอกได้แค่ว่าโตขึ้นแล้วจะเข้าใจเอง
"ผมไม่เคยบอกใคร เพราะเดี๋ยวก็หาว่าผมดราม่าเรียกร้องความสนใจอีก แต่ในใจผมคิดนะ ถ้ายังเป็นอยู่อย่างนี้ก็อาจต้องย้ายโรงเรียน ผมไม่อยากให้เด็กมันโตบนความรู้สึกแบบนี้เด็กก็ควรจะเป็นเด็ก"
คุณหมอประดิษฐ กล่าวอย่างถอดใจ "ต้นทุนชีวิตก่อนเข้าสู่การเมืองมันหายไปหมดแล้ว หลังจากนี้ชีวิตผมก็คงไม่เหมือนเดิม มีคนชอบถามผมว่าจะเป็นรัฐมนตรีต่อหรือไม่ ผมว่ามันเป็นเรื่องDestiny คือไม่ใช่อยากเป็นแล้วจะได้เป็นเสมอไปนะถ้าเป็นแบบตอนนี้แล้วใครจะอยากเป็น ประชุม ครม.ทีหนึ่งต้องไปถึงไหน เดี๋ยวม็อบก็ไปรอปิด บรรยากาศนี้มันไม่ใช่เรื่องสนุก"
ได้คุยเปิดใจกับนายกฯ บ้างหรือไม่?... "ท่านนายกฯ ก็ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมก็ยอมรับตรงๆ ว่าเครียดจริงๆ ท่านก็ถามว่าแล้วยังไง ผมก็บอกว่าก็ยังจะทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่รัฐบาลนี้จะอยู่ตามกฎหมาย ผมละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ มันเป็นคำมั่นสัญญาของผมต่อท่านนายกฯ ต่อรัฐธรรมนูญ และต่อคำปฏิญาณกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ถ้ามีการตัดสินให้ผมพ้นสภาพ ผมก็ไปด้วยช่องทางนั้น แต่อยู่ดีๆ จะมาให้ผมละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ และผมก็อยากให้คำตัดสินเหล่านั้นเป็นไปเพื่อให้ได้ข้อยุติและเป็นธรรมไม่ใช่สร้างปมให้ทะเลาะกันต่อไป ใน ครม.ไม่มีใครดื้ออยากจะอยู่ต่อหรอก อยู่ต่อไปแล้วมันได้อะไร มีความเสี่ยงทุกชนิด
"จะทำอะไรก็ต้องขอ กกต. จะอนุมัติอะไรก็มีคนบอกว่าเดี๋ยวมีความผิดนะ แต่เราทุกคนทำตามกฎหมาย ท่านนายกฯ ก็คิดอย่างนี้ ใครเป็นนายกฯ ตอนนี้มีความสุขเหรอ ไม่สนุกหรอกและใครมาเป็นรัฐบาลชุดต่อไป ผมอยากจะบอกเลยว่านรกมีจริง"
แล้วจะเอาอย่างไรกับอนาคตการเมือง?... "มี 2 คนเขาพูด คนหนึ่งพูด never again ผมก็หวังว่าผมจะเป็นแบบนั้น ไม่อยากเหมือนหนังเจมส์ บอนด์ Never say never แต่ผมนั้น never again ก่อน เพราะเจอบรรยากาศการเมืองแบบนี้ผมปรับตัวตามไม่ได้"
แทบไม่ต้องสรุป...ชัดเจนว่า นักธุรกิจด้านตกแต่งบ้านที่ผันตัวมาลิ้มลองสนามการเมืองขอโบกมือลา...หากการเมืองยังขัดแย้งรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่
'หมออย่าทำตัวเป็นแม่เหล็ก...'
"ผมก็หวังว่าท่านปลัดจะเป็นผู้ใหญ่พอที่จะทำให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ต่อไปได้เมื่อทุกอย่างจบลง"เป็นคำกล่าวถึง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ปลัดกระทรวงที่ออกตัวแรงเป็นหัวหน้าส่วนราชการคนแรกลุกขึ้นไล่รัฐบาล
"ผมไม่ได้ตั้ง" รัฐมนตรีบอกที่มา "เขาตั้งมาในสมัยท่านวิทยา (บุรณศิริ อดีต รมว.สาธารณสุขคนก่อน) นายกฯ ก็คงตั้งจาก shot list ที่เลือกมาตามความเหมาะสม"
"ถ้าผมมีโอกาสคุยกับท่านตัวต่อตัว" หมอประดิษฐเว้นวรรคหายใจ "ผมก็จะบอกว่าท่านคิดให้ดีนะ กระทรวงสาธารณสุขจบแล้วหมอกับประชาชนต้องคุยกันได้ ตอนนี้ประชาชนเจอหมอแล้วมีความสุขที่ไหน เอาแค่ชาวบ้านไปประท้วงหมอหน้าโรงพยาบาล หรือยิงอาวุธสงครามใส่โรงพยาบาล ผมก็พูดอย่างแฟร์ๆ ว่าต่อให้เราเป็นคนไข้ที่เป็นพวกเดียวกับหมอแล้วไปนอนโรงพยาบาล เราก็ยังไม่ปลอดภัย เพราะไม่รู้ว่าจะถูกยิงเมื่อไรนี่เรายังไม่พูดถึงคนไข้ที่เป็นคนละขั้วกับหมอนะ
"เพราะเราไปทำตัวเป็นแม่เหล็กล่ออยู่แบบนี้ เพราะคุณไปทำให้โรงพยาบาลเป็นจุดที่จะดึงดูดความรุนแรง ผมพยายามบอกว่าท่านอย่าทำอะไรเลย เพราะถ้าทำอะไรไปแล้วโรงพยาบาลจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของความรุนแรง
"ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสเจอท่านปลัดตัวต่อตัว คุยผ่านคนกลางก็ไม่ได้อะไรมาก ผมก็ไม่กล้าไปเตือนท่านว่ากระทรวงต้องเหลืออยู่ ชาวบ้านกับหมอต้องอยู่กันได้เกียรติภูมิของหมอต้องมี ไม่ใช่คนมาด่าหมอเหมือนทุกวันนี้ผมหนักใจนะ
"เราปล่อยให้อยู่อย่างนี้กันได้อย่างไร ท่านเป็นหัวหน้าทีม ผมอยากให้ท่าน Lead พวกข้าราชการให้ไปในทางที่ถูกที่ควรหน่อยก็แค่นั้น" รัฐมนตรีกระทรวงหมอ ระบุท่าที อย่างไรก็ดี ย้ำว่าส่วนตัวไม่ได้มีปัญหากัน เพราะยอมรับ
ได้กับจุดยืนทางการเมือง "ประชุมกันก็ไม่มีปัญหากัน ท่านยังบอกว่าใจมีรัฐมนตรีชื่อประดิษฐเพราะไม่เคยมีปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งหมดเป็นเพียงแค่จุดยืนทางการเมือง แต่ว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการแสดงออกด้วยวิธีนี้" นพ.ประดิษฐ พูดชัด "ผมก็พยายามเตือนสติในหลายๆ เรื่องถ้าได้อ่านบันทึกหรือคำสั่งต่างๆ ผมก็พยายามให้สติว่าสิ่งที่ถูกต้องควรทำอะไร
"อย่างการติดป้ายหน้าโรงพยาบาล ผมบอกว่าก็อย่าไปติดป้ายทั้งสองฝั่งปัญหาก็จบ มันก็ไม่มีใครมาล้อม คุณติดแบบหนึ่ง กปปส.ก็มาล้อม ติดอีกแบบหนึ่งเสื้อแดงก็มาล้อม แล้วจะไปทำทำไม ไม่มีประโยชน์ ผมก็เตือนสติไปว่าอย่าไปทำแบบนั้นทั้งคู่ แต่สุดท้ายผมก็ถูกตีความว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นการกระทำเพื่อรับใช้การเมืองซึ่งผมก็เสียใจที่ไม่เข้าใจเจตนารมณ์
"แต่ท่านปลัดได้ตัดสินใจแล้ว ท่านมาคุยกับผม บอกกับผมว่าท่านก้าวข้ามไม่พ้นจริงๆ แล้วก็ขออภัยผมด้วย ผมก็บอกว่าโอเค แต่อยากให้กลับไปคิดใหม่ให้ดีนะ แต่ท่านปลัดคงคิดใหม่และตัดสินใจแล้วเลยเดินออกมาในลักษณะนี้ตอนนั้นผมก็เตือนไปว่า ท่านอย่าให้การเมืองมายุ่งอะไรในกระทรวงของเราเลย
"นายกฯ เองก็สนับสนุนการปฏิรูป ท่านก็บอกว่าถ้าได้รับเลือกตั้งเข้ามาก็จะปฏิรูปให้เสร็จภายใน 1 ปี ท่านก็ได้ตามที่ต้องการแล้วไม่ใช่หรือ เขาก็บอก...ครับๆๆๆ ตอนไปเขาค้อด้วยกัน ตอนนั้นท่านนายกฯ อธิบายก็เหมือนจะเข้าใจแล้ว แต่พอกลับมาเป็นอีกแบบ ผมก็ไม่ทราบ"
สำหรับจุดยืนที่คุณหมอชัดเจนว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่จนวันสุดท้ายจนหลัง ครม.ชุดนี้พ้นสภาพตามกฎหมาย "นี่เป็นจุดยืนของผม ผมต้องไปตามกฎหมาย ฉะนั้นไม่ต้องมาพูดกับผมด้วยเหตุผลอื่น"
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 6 เมษายน 2557"ไม่ต้องเรียกผมว่ารัฐมนตรีนะ...มันเขิน"เป็นคำทักทายหลังเจอหน้า "ทีมงานโพสต์ทูเดย์" ของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข
เราจึงขอใช้สรรพนาม "คุณหมอ" ระหว่างการสัมภาษณ์ในบรรยากาศสบายๆ ช่วงบ่ายแก่ๆ
นพ.ประดิษฐ เป็นรัฐมนตรีหนึ่งเดียวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ถูกข้าราชการประจำ "หักหน้า" ไม่เอาด้วยตั้งแต่เริ่มก้าวเข้าสู่กระทรวงหมอ ทว่าเขาไม่เคยตอบโต้ ไม่เคยเปิดปากบ่น ราวกับว่าไม่รู้สึกสะทกสะท้านอะไร
"ผมเดินหน้าทำงานอย่างเดียว หมอชนบทบุกมาในห้องประชุม ผมก็นั่งฟังเขาพูด"
ต่อมาภายหลัง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงนำขบวนประชาคมสาธารณสุขตั้งโต๊ะแถลงจุดยืนทางการเมืองสนับสนุนการขับไล่ระบอบทักษิณ จนต้องตัดสินใจหอบข้าวของออกจากห้องทำงานชั้น 4 สำนักปลัดกระทรวงไปตั้งหลักที่เรือนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากอาคารเดิม
ตลอดการชุมนุมกดดันคณะรัฐมนตรีอย่างหนักหน่วงจากกลุ่ม กปปส. มีเพียงผู้ใกล้ชิด นพ.ประดิษฐ เท่านั้นที่รับรู้ว่าเขาอัดอั้น เป็นทุกข์ เสียความรู้สึก และกำลังถอดใจ
ถัดจากนี้คือการเปิดใจครั้งแรกของรัฐมนตรี...ประดิษฐ สินธวณรงค์
คุณหมอรับนัด "โพสต์ทูเดย์" ช่วงกลางเดือน มี.ค. ณ ร้านอาหารสไตล์บิสโตร ย่านสุขุมวิท ชายวัยกลางคนในเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีฟ้า กางเกงสแล็กส์ดำ เดินเข้ามาคนเดียวด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ก็แฝงด้วยท่าทีเกร็งๆ
"บ่ายๆ แบบนี้ ผมว่าเรานั่งจิบน้ำชา ทานของเบาๆ ดีกว่า"นพ.ประดิษฐ เริ่มบทสนทนา ก่อนจะยกแก้ว "Plum soda" ขึ้นดื่มตามด้วย "Afternoon Tea" เป็นรายการถัดไป "ขอเป็น Jasmine Tea นะครับ" เขาส่งเสียงผ่อนคลายที่สุดเท่าที่เคยเห็น
"การเมืองเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากครับ"คุณหมอเผยความในใจเปื้อนรอยยิ้มขื่นๆ"ผมไม่เคยชิน ผมไม่ได้เตรียมตัวมาเจอการเมืองแบบนี้เลย ที่ผ่านมาผมทำงานภาคธุรกิจไม่ต้องคิดอะไรที่ยอกย้อน ไม่ต้องมาถูกด่าถูกว่า พูดตรงๆ ผมทุกข์มาจนถึงทุกวันนี้ว่าเข้ามาทำไม แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องอดทนต้องไม่ทำให้ใครผิดหวัง
"ที่ผมเข้ามารับตำแหน่ง ผมไม่ได้เข้ามาในฐานะการเมืองนะ เรียกว่าเป็นเทคโนแครตดีกว่า ผมมีประสบการณ์และเห็นปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในเชิงระบบ การพัฒนาและงบประมาณ แต่เมื่อเข้ามาก็มีคนเรียกผมว่าเป็นนักธุรกิจผมไม่อยากให้มองว่าเป็นนักธุรกิจนะ มันเลวร้าย มีการตั้งประเด็นว่านักธุรกิจจะมาทำมาหากินในกระทรวง ผมไม่ชอบ"
แรกทีเดียว นพ.ประดิษฐ รู้สึกน้อยใจที่ภาพออกสู่สาธารณะถูกสร้างภาพให้เป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน มีธุรกิจบริษัทยาทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
"ที่สำคัญผมไม่เคยคิดเลยว่าเมื่อมาเป็นรัฐมนตรีแล้วจะต้องมารับผิดชอบอะไรที่มันอยู่นอกเหนือจากตัวเอง บางเรื่องผมก็ไม่รู้เรื่องด้วยเช่น 2 ล้านล้านมาบอกว่ารัฐมนตรีต้องมีความผิดด้วยนะ ผมฟังก็เอ๊ะ ทำไมผมต้องโดนทุกเรื่องเลย"
ภายใต้ทิศทางการบริหารของ นพ.ประดิษฐ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา หลายนโยบายแตกต่างไปจากยุคก่อน โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง การแบ่งเขตสุขภาพ การเปลี่ยนระบบจ่ายค่าตอบแทน แต่ดูแล้วทุกนโยบายล้วนเรียกก้อนอิฐสู่อ้อมแขนเขาอย่างเต็มรัก
"ตอนนั้นผมก็ทุกข์ หมอกับหมอทะเลาะกันจนไม่รู้เรื่องมันก็ลามไปถึงหมอ ไปถึงพยาบาล เจ้าหน้าที่ ทะเลาะกันหมด"
ทว่า ความขัดแย้งในขณะนั้นเทียบไม่ได้เลยกับสถานการณ์ที่ร้าวลึกในปัจจุบัน และพัฒนาการมาจนถึงจุดที่มองไม่เห็นทางออก "ที่ทุกข์ใจที่สุดคือผมจะบริหารอย่างไรดี ในขณะที่ฝั่งหนึ่งก็แรง อีกฝั่งหนึ่งก็บอกว่าทำไมผมเงียบ ไม่ยอมทำอะไร ผมเรียนตรงๆ ผมตั้งใจไม่อยากจะทำอะไร ไม่เช่นนั้นก็แรงกับแรงทำออกมาแล้วก็จะเหลือแต่ซากของกระทรวง
"ยิ่งสาวไส้สาวอะไรกันไปเรื่อยมันไม่จบส่วนตัวผมไม่มีปัญหาอะไรนะ เวลาหมอมาคุยตัวต่อตัวกับผมก็ปกติ ไปเจอท่านคณบดีศิริราชก็คุยกันปกติ เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกัน คืออย่าไปจับเรื่องการเมืองก็ไม่มีปัญหา"
นอกจากปัญหาการบริหารในกระทรวงแล้ว ผลพวงความขัดแย้งยังพุ่งเข้าใส่ครอบครัวด้วย "ตอนแรกผมรับได้นะ ถูกแพทย์ชนบทหลายร้อยคนมาบุกถึงห้องประชุมแล้วก็มาพูดล่อผม ผมก็ไม่เคยโต้ตอบ แต่ครั้งนี้ผมไม่รู้ว่าผมจะโดนอะไรวันก่อนผมไปเดินเอ็มโพเรียมกับลูก ผมบอก...เฮ้ย เรากลับดีกว่า เพราะในนั้นเขาเดินโพกหัว เป่ากันอะไรต่อมิอะไรมากมาย เราก็ไม่สบายใจ อย่างลูกผมก็โดนที่โรงเรียนมีคนมา
ถามลูกผมว่าทำไมพ่อถึงมาทำงานรับใช้คนแบบนี้ มันกระเทือนในครอบครัวไปหมด
"บางทีก็ชวนลูกผมไปเป่านกหวีด พอลูกผมไม่ไปก็ว่า พอไปก็ถูกถ่ายรูปแล้วมาบอกว่าดูสิ ขนาดลูกรัฐมนตรียังไล่พ่อของตัวเอง มันทำให้ซับซ้อนไปหมด ลูกผมถามว่าทำไมเราต้องโดนแบบนี้ ผมก็บอกได้แค่ว่าโตขึ้นแล้วจะเข้าใจเอง
"ผมไม่เคยบอกใคร เพราะเดี๋ยวก็หาว่าผมดราม่าเรียกร้องความสนใจอีก แต่ในใจผมคิดนะ ถ้ายังเป็นอยู่อย่างนี้ก็อาจต้องย้ายโรงเรียน ผมไม่อยากให้เด็กมันโตบนความรู้สึกแบบนี้เด็กก็ควรจะเป็นเด็ก"
คุณหมอประดิษฐ กล่าวอย่างถอดใจ "ต้นทุนชีวิตก่อนเข้าสู่การเมืองมันหายไปหมดแล้ว หลังจากนี้ชีวิตผมก็คงไม่เหมือนเดิม มีคนชอบถามผมว่าจะเป็นรัฐมนตรีต่อหรือไม่ ผมว่ามันเป็นเรื่องDestiny คือไม่ใช่อยากเป็นแล้วจะได้เป็นเสมอไปนะถ้าเป็นแบบตอนนี้แล้วใครจะอยากเป็น ประชุม ครม.ทีหนึ่งต้องไปถึงไหน เดี๋ยวม็อบก็ไปรอปิด บรรยากาศนี้มันไม่ใช่เรื่องสนุก"
ได้คุยเปิดใจกับนายกฯ บ้างหรือไม่?... "ท่านนายกฯ ก็ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมก็ยอมรับตรงๆ ว่าเครียดจริงๆ ท่านก็ถามว่าแล้วยังไง ผมก็บอกว่าก็ยังจะทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่รัฐบาลนี้จะอยู่ตามกฎหมาย ผมละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ มันเป็นคำมั่นสัญญาของผมต่อท่านนายกฯ ต่อรัฐธรรมนูญ และต่อคำปฏิญาณกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ถ้ามีการตัดสินให้ผมพ้นสภาพ ผมก็ไปด้วยช่องทางนั้น แต่อยู่ดีๆ จะมาให้ผมละทิ้งหน้าที่ไม่ได้ และผมก็อยากให้คำตัดสินเหล่านั้นเป็นไปเพื่อให้ได้ข้อยุติและเป็นธรรมไม่ใช่สร้างปมให้ทะเลาะกันต่อไป ใน ครม.ไม่มีใครดื้ออยากจะอยู่ต่อหรอก อยู่ต่อไปแล้วมันได้อะไร มีความเสี่ยงทุกชนิด
"จะทำอะไรก็ต้องขอ กกต. จะอนุมัติอะไรก็มีคนบอกว่าเดี๋ยวมีความผิดนะ แต่เราทุกคนทำตามกฎหมาย ท่านนายกฯ ก็คิดอย่างนี้ ใครเป็นนายกฯ ตอนนี้มีความสุขเหรอ ไม่สนุกหรอกและใครมาเป็นรัฐบาลชุดต่อไป ผมอยากจะบอกเลยว่านรกมีจริง"
แล้วจะเอาอย่างไรกับอนาคตการเมือง?... "มี 2 คนเขาพูด คนหนึ่งพูด never again ผมก็หวังว่าผมจะเป็นแบบนั้น ไม่อยากเหมือนหนังเจมส์ บอนด์ Never say never แต่ผมนั้น never again ก่อน เพราะเจอบรรยากาศการเมืองแบบนี้ผมปรับตัวตามไม่ได้"
แทบไม่ต้องสรุป...ชัดเจนว่า นักธุรกิจด้านตกแต่งบ้านที่ผันตัวมาลิ้มลองสนามการเมืองขอโบกมือลา...หากการเมืองยังขัดแย้งรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่
'หมออย่าทำตัวเป็นแม่เหล็ก...'
"ผมก็หวังว่าท่านปลัดจะเป็นผู้ใหญ่พอที่จะทำให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ต่อไปได้เมื่อทุกอย่างจบลง"เป็นคำกล่าวถึง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ปลัดกระทรวงที่ออกตัวแรงเป็นหัวหน้าส่วนราชการคนแรกลุกขึ้นไล่รัฐบาล
"ผมไม่ได้ตั้ง" รัฐมนตรีบอกที่มา "เขาตั้งมาในสมัยท่านวิทยา (บุรณศิริ อดีต รมว.สาธารณสุขคนก่อน) นายกฯ ก็คงตั้งจาก shot list ที่เลือกมาตามความเหมาะสม"
"ถ้าผมมีโอกาสคุยกับท่านตัวต่อตัว" หมอประดิษฐเว้นวรรคหายใจ "ผมก็จะบอกว่าท่านคิดให้ดีนะ กระทรวงสาธารณสุขจบแล้วหมอกับประชาชนต้องคุยกันได้ ตอนนี้ประชาชนเจอหมอแล้วมีความสุขที่ไหน เอาแค่ชาวบ้านไปประท้วงหมอหน้าโรงพยาบาล หรือยิงอาวุธสงครามใส่โรงพยาบาล ผมก็พูดอย่างแฟร์ๆ ว่าต่อให้เราเป็นคนไข้ที่เป็นพวกเดียวกับหมอแล้วไปนอนโรงพยาบาล เราก็ยังไม่ปลอดภัย เพราะไม่รู้ว่าจะถูกยิงเมื่อไรนี่เรายังไม่พูดถึงคนไข้ที่เป็นคนละขั้วกับหมอนะ
"เพราะเราไปทำตัวเป็นแม่เหล็กล่ออยู่แบบนี้ เพราะคุณไปทำให้โรงพยาบาลเป็นจุดที่จะดึงดูดความรุนแรง ผมพยายามบอกว่าท่านอย่าทำอะไรเลย เพราะถ้าทำอะไรไปแล้วโรงพยาบาลจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของความรุนแรง
"ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสเจอท่านปลัดตัวต่อตัว คุยผ่านคนกลางก็ไม่ได้อะไรมาก ผมก็ไม่กล้าไปเตือนท่านว่ากระทรวงต้องเหลืออยู่ ชาวบ้านกับหมอต้องอยู่กันได้เกียรติภูมิของหมอต้องมี ไม่ใช่คนมาด่าหมอเหมือนทุกวันนี้ผมหนักใจนะ
"เราปล่อยให้อยู่อย่างนี้กันได้อย่างไร ท่านเป็นหัวหน้าทีม ผมอยากให้ท่าน Lead พวกข้าราชการให้ไปในทางที่ถูกที่ควรหน่อยก็แค่นั้น" รัฐมนตรีกระทรวงหมอ ระบุท่าที อย่างไรก็ดี ย้ำว่าส่วนตัวไม่ได้มีปัญหากัน เพราะยอมรับ
ได้กับจุดยืนทางการเมือง "ประชุมกันก็ไม่มีปัญหากัน ท่านยังบอกว่าใจมีรัฐมนตรีชื่อประดิษฐเพราะไม่เคยมีปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งหมดเป็นเพียงแค่จุดยืนทางการเมือง แต่ว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการแสดงออกด้วยวิธีนี้" นพ.ประดิษฐ พูดชัด "ผมก็พยายามเตือนสติในหลายๆ เรื่องถ้าได้อ่านบันทึกหรือคำสั่งต่างๆ ผมก็พยายามให้สติว่าสิ่งที่ถูกต้องควรทำอะไร
"อย่างการติดป้ายหน้าโรงพยาบาล ผมบอกว่าก็อย่าไปติดป้ายทั้งสองฝั่งปัญหาก็จบ มันก็ไม่มีใครมาล้อม คุณติดแบบหนึ่ง กปปส.ก็มาล้อม ติดอีกแบบหนึ่งเสื้อแดงก็มาล้อม แล้วจะไปทำทำไม ไม่มีประโยชน์ ผมก็เตือนสติไปว่าอย่าไปทำแบบนั้นทั้งคู่ แต่สุดท้ายผมก็ถูกตีความว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นการกระทำเพื่อรับใช้การเมืองซึ่งผมก็เสียใจที่ไม่เข้าใจเจตนารมณ์
"แต่ท่านปลัดได้ตัดสินใจแล้ว ท่านมาคุยกับผม บอกกับผมว่าท่านก้าวข้ามไม่พ้นจริงๆ แล้วก็ขออภัยผมด้วย ผมก็บอกว่าโอเค แต่อยากให้กลับไปคิดใหม่ให้ดีนะ แต่ท่านปลัดคงคิดใหม่และตัดสินใจแล้วเลยเดินออกมาในลักษณะนี้ตอนนั้นผมก็เตือนไปว่า ท่านอย่าให้การเมืองมายุ่งอะไรในกระทรวงของเราเลย
"นายกฯ เองก็สนับสนุนการปฏิรูป ท่านก็บอกว่าถ้าได้รับเลือกตั้งเข้ามาก็จะปฏิรูปให้เสร็จภายใน 1 ปี ท่านก็ได้ตามที่ต้องการแล้วไม่ใช่หรือ เขาก็บอก...ครับๆๆๆ ตอนไปเขาค้อด้วยกัน ตอนนั้นท่านนายกฯ อธิบายก็เหมือนจะเข้าใจแล้ว แต่พอกลับมาเป็นอีกแบบ ผมก็ไม่ทราบ"
สำหรับจุดยืนที่คุณหมอชัดเจนว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่จนวันสุดท้ายจนหลัง ครม.ชุดนี้พ้นสภาพตามกฎหมาย "นี่เป็นจุดยืนของผม ผมต้องไปตามกฎหมาย ฉะนั้นไม่ต้องมาพูดกับผมด้วยเหตุผลอื่น"
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 6 เมษายน 2557
- 373 views