ประเด็นค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาล (รพ.) เอกชนราคาสูงเกินจริง ถูกจุดขึ้นโดยเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่เข้ารักษาในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่กลับถูกเรียกเก็บเงินในราคาสูงหลักแสนหลักล้าน โดยมีการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อควบคุมค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน และล่ารายชื่อผ่านทาง www.change.org ซึ่งปรากฎว่ามีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 33,000 คนในเวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
การเคลื่อนไหวในช่วงแรกไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานภาครัฐมากนัก แต่พลันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ขึ้นมา ทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ก็เข้ามาแทคแอคชั่นอย่างแข็งขัน
แน่นอนว่าการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลและค่ายา ย่อมมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย Hfocus จึงได้รวบรวมความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ว่ามีเหตุผลในการสนับสนุนหรือคัดค้านอย่างไร
ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา
สำหรับฝ่ายเรียกร้องให้ควบคุมค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชน ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ให้ความเห็นว่าประเทศไทยไม่มีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนโดยตรง มีเพียง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดให้โรงพยาบาลต้องแจ้งราคาค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น จึงควรให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา อย่างน้อยก็ปรับแก้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล เพื่อให้สามารถควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลให้เป็นธรรม ซึ่ง รพ.เอกชนที่ดีก็ควรสนับสนุนเรื่องนี้ไม่ควรต่อต้าน และควรมีหน่วยงานหรือคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบเพื่อดูว่าค่ารักษาสมเหตุสมผลหรือไม่
“เราไม่ได้ขอให้ รพ.เอกชนลดราคา คิดแพงได้แต่ห้ามโกง ห้ามโก่งราคา ห้ามค้ากำไรเกินควร แค่ขอให้ทำธุรกิจตรงไปตรงมา โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อสังคม แต่ที่ผ่านมากลับไม่เคยมีใครพูดว่าจะจัดการกับการโกงอย่างไร มีแต่ท้าทายประชาชนว่าถ้าแพงก็อย่าเข้า มันไม่ใช่การหาทางออกที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบได้” ปรียนันท์ กล่าว
เช่นเดียวกับ สารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มองว่า การรักษาพยาบาลเป็นสินค้าผูกขาด โดยเฉพาะกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิเลือกเพราะต้องนำส่งยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว จึงไม่มีสิทธิเปรียบเทียบราคาหรือเลือกที่จะไปโรงพยาบาลอื่นแทน ดังนั้นจึงต้องมีกลไกดูแลและควรมีราคากลางควบคุม เพราะเรื่องฉุกเฉินเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตจึงต้องไม่หากำไรจนเกินไป
สารี ยังเรียกร้องให้ รพ.เอกชนยอมรับเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาฉุกเฉินของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพราะเชื่อว่าเป็นราคาที่เป็นบรรทัดฐานและ รพ.เอกชนยอมรับได้ เพียงแต่อาจกำไรไม่มาก ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สธ. โดยเฉพาะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) น่าจะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะเชื่อว่าน่าจะมีข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปัญหาจากค่ารักษาของ รพ.เอกชนอยู่บ้างว่าเป็นการจัดเก็บที่แพงเกินไป ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวผลักดันกันเอง
ขณะที่ ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) มองว่า การควบคุมราคารักษาพยาบาลต้องแยกให้ชัด ปัญหาการเก็บค่ารักษาพยาบาลแพง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคายาสูงกว่าท้องตลาดจำนวนมาก ที่ผ่านมาได้เรียกร้องให้ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ บรรจุเรื่องการเปิดเผยโครงสร้างราคายาลงไปด้วยเพื่อให้ทราบต้นทุนที่แท้จริง แต่ถูกขัดขวางโดยอ้างว่าเหตุที่ยาแพงเป็นเพราะการลงทุนศึกษาวิจัย แต่ที่จริงมีการศึกษาพบว่าเหตุที่ยามีราคาแพงเป็นเพราะลงทุนส่งเสริมการขายมากกว่า ดังนั้นขอให้เร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ โดยเน้นในเรื่องการเปิดเผยโครงสร้างราคายา
นอกจากนี้แล้ว ปัญหาอีกส่วนหนึ่งยังมาจากปลายเหตุ เพราะหากพูดถึงค่ายา เป็นอำนาจของกรมการค้าภายใน เนื่องจากมี พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ยาเป็นวัตถุควบคุม แต่ที่ผ่านมา พณ.ไม่เคยบังคับใช้อย่างจริงจัง ละเลยต่อสิทธิของผู้บริโภค อีกทั้งการกำหนดให้ผู้ผลิตยาต้องแจ้งราคา แต่ก็ไม่เคยมีการตรวจสอบว่าราคาที่แจ้งกับต้นทุนเหมาะสมหรือไม่
ภญ.นิยดา กล่าวด้วยว่า ในส่วนของมาตรการให้ รพ.เอกชนแจ้งอัตราค่ารักษา ก็จะเกิดช่องโหว่ว่าเรื่องราคามีการกำหนดเป็นความจริงแค่ไหน เพราะต้องพิจารณาเทียบต้นทุน รวมทั้งต้องพิจารณาไปถึงบริษัทยาว่าราคาที่แจ้งจำหน่าย มีการคิดต้นทุนและบวกกำไรมากน้อยแค่ไหน ต้องบอกโครงสร้างราคายาที่แท้จริงและมีระบบตรวจสอบที่ดีด้วย
ด้าน ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีกฎหมายและกลไกตรวจสอบควบคุมค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาลเอกชนอย่างพอเหมาะ ไม่เกินเลยแบบที่เห็นในปัจจุบัน คนไข้ตกเป็นเหยื่อกับการตรวจรักษาที่เกินความจำเป็นมานาน ตั้งแต่ยา การส่งตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ต่างๆ เพราะนายทุนต้องการหากำไรให้มากที่สุด ขณะที่หมอก็ตกเป็นจำเลย ถูกมองว่าทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ค่าตรวจนั้นไม่ได้สูง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการเสริมความสะดวกสบายต่างๆซึ่งโขกราคาเกินต้นทุนไปถึง 3-5 เท่าโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อน
ผศ.นพ.ธีระ ให้ความเห็นต่อวาทกรรมที่ว่า รพ.เอกชนเป็นทางเลือกเท่านั้นเพราะไม่ได้งบจากรัฐ แต่คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รพ.เอกชนได้รับการดูแลสาธารณูปโภคพื้นฐานในการใช้ชีวิตจากรัฐและสังคมไม่มากก็น้อย จึงปฏิเสธไม่ได้เต็มปากเต็มคำว่าจะดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเองแต่เพียงฝ่ายเดียว และเชื่อว่าหากมีการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลเกิดขึ้น ปฏิกิริยาของ รพ.เอกชนจะออกมาใน 2 รูปแบบ คือ 1.ขึ้นค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ตั้งแต่ค่าโทรศัพท์ ค่าชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้า ค่าเก็บขยะ ค่าไว-ไฟ ฯลฯ และ 2.ขึ้นค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ
ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
อีกคนหนึ่งที่ออกมาตอกย้ำเรื่องค่าบริการแพง คือ ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน รพ.รามาธิบดี ซึ่งโพสต์เฟสบุ๊คเกี่ยวกับข้อมูลรายงานวิจัยพัฒนารูปแบบและอัตราการจ่ายเงินชดเชย การให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตร่วม 3 กองทุน ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2555- 30 ก.ย. 2556 โดยเก็บข้อมูลจาก รพ.เอกชน 353 แห่ง คนไข้ กว่า 22,000 ราย พบว่ารายการยาแพงกว่าโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ตั้งแต่ 60-400 เท่า อาทิ ไวตามินบีคอมเพล็กใน รพศ.หลอดละ 1.50 บาท ใน รพ.เอกชนกลายเป็น 600 บาท ยาฉีดแก้ปวดขนาด 50 มก.ใน รพศ.ราคา 6.50 บาท ใน รพ.เอกชนแพงถึง 450 บาท หรือรายการเวชภัณฑ์ก็มีราคาต่างกัน 16-44 เท่า เช่น ราคาท่อดูดเสมหะใน รพศ.ชิ้นละ 10 บาท เป็น 440 บาทใน รพ.เอกชน หรือ ไหมเย็บแผลสีดำใน รพศ.ชุดละ 28.5 บาท เป็น 460 บาทใน รพ.เอกชน
นอกจากราคาแพงกว่าแล้ว ยังมีข้อบ่งชี้การให้บริการเกินจำเป็น โดยในตัวอย่างคนไข้ 80 ราย พบว่า มีการให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด มีการตรวจวินิจฉัยเกินจำเป็น เช่น คนไข้มีอาการนิ่วเฉียบพลันแต่ส่งตรวจการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์และตรวจองค์ประกอบดีเอ็นเอ คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่ส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก คนไข้เป็นถุงลมพองกำเริบฉุกเฉินแต่มีการเรียกเก็บค่าสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งก็มีมุมมองจากฝ่ายที่กังวลต่อการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาล โดย นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา มองว่า เรื่องค่ารักษาพยาบาลแพงอาจสามารถตกลงว่าให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ แต่ถ้าจะบังคับทุกอย่างนั้น คงไม่น่าจะถูกต้อง เพราะ รพ.เอกชนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคารสถานที่ ค่าเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบุคลากร ต้องเข้าใจว่าการดำเนินกิจการของ รพ.เอกชน เป็นไปโดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนภาษีจากรัฐมาสนับสนุนแบบเดียวกับ รพ.รัฐ ซ้ำในการลงทุนยังต้องแบกรับภาระหนี้ ดังนั้นจึงมีต้นทุนที่ต้องรวมอยู่ในค่ารักษาพยาบาล
นอกจากนี้ ประเทศไทยมีระบบการรักษาฟรีอยู่แล้ว รพ.เอกชนเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งประชาชนมีสิทธิ์เลือกว่าจะรับบริการหรือไม่ และ รพ.เอกชนยังช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐให้ไม่ต้องลงทุนเองมาก คนที่มีฐานะสามารถเลือกมารักษา ไม่ต้องไปแย่งสิทธิของคนอื่นใน รพ.รัฐ ดังนั้นการคุมทั้งหมดอาจจะลำบาก
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าค่ารักษาที่สูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากค่ายา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะค่ายา พบว่า รพ.เอกชนบางแห่งสูงกว่าราคาท้องตลาด 100-200% ในกรณีนี้ยอมรับว่าควรทำให้มีมาตรฐานการคำนวณที่ไม่ค้ากำไรจนเกินควร แต่ต้องให้รพ.เอกชนอยู่ได้ด้วย
“ยอมรับว่าราคายาใน รพ.เอกชนมีราคาแพง เพราะต้องแฝงต้นทุนในการบริการต่างๆ สมมติ ในกรณียาแอสไพริน แม้ต้นทุนจะอยู่เม็ดละ 10 สตางค์ เมื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วย 10 เม็ด ก็ไม่สามารถคิดราคา 1 บาทได้ เพราะมีต้นทุนตั้งแต่ค่าซองยา ค่าเภสัชกรที่ต้องคิดรวม แต่ในกรณีที่มีการคิดค่ายาถึงเม็ดละ 200-500 บาท ยอมรับว่าเป็นราคาที่เกินไป”นพ.สมศักดิ์ กล่าว
“ส่วนค่าหัตการต่างๆ อาจจะคุมลำบาก เพราะแต่ละคน แต่ละโรค ดูแลไม่เหมือนกัน คนเราไอเหมือนกัน แต่เป็นคนละโรค การผ่าตัดโรคเดียวกัน แต่ใช้เครื่องมือแตกต่างกัน หรือห้องพักมีหลายระดับ จะบังคับให้คิดอัตราเดียวกันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก โดยหลักเกณฑ์แล้ว โรงพยาบาลจะต้องแจ้งราคาค่ารักษาให้กับประชาชนทราบก่อนการรักษา และแพทย์ต้องอธิบายให้คนไข้ทราบเรื่องค่ารักษา สอบถามความสมัครใจก่อน ส่วนตัวเห็นว่าที่เป็นปัญหาจริงๆ คือราคายาที่แพงมาก จึงเห็นด้วยในการทำเกณฑ์ควบคุมราคายา” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ รพ.เอกชนเก็บค่าบริการจากผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยว่า หากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายตามราคาต้นทุนของ รพ.เอกชนก็ไม่เป็นปัญหา แต่ที่ผ่านมาเป็นการจ่ายในราคาเดียวกับ รพ.รัฐ ซึ่ง รพ.เอกชนคงรับไม่ได้เพราะถูกคิดราคาจ่ายที่ต่ำกว่าต้นทุนอยู่มาก เรื่องนี้คงต้องพูดคุยให้ได้ราคาจ่ายค่ารักษาฉุกเฉินที่เหมาะสม ไม่เป็นการบีบ รพ.เอกชนจนเกินไป ส่วนที่เรียกร้องให้ รพ.เอกชน CSR ทำกุศลมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม ถามว่าหากให้ รพ.เอกชนดำเนินการ รัฐบาลจะยกเว้นภาษีได้บ้างหรือไม่
“การควบคุมราคาค่ารักษา รพ.เอกชน ต้องเป็นการควบคุมที่เหมาะสมตามต้นทุน เพราะไม่เช่นนั้น รพ.เอกชนก็จะอยู่ไม่ได้ เจ๊งต้องปิดกิจการหมด”นพ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ด้าน นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ ผู้ประสานงานคลินิกชุมชนอบอุ่น เขตกรุงเทพมหานคร มองว่า การดำเนินกิจการของ รพ.เอกชน นอกจากเรื่องต้นทุนแล้วยังต้องผูกกับเรื่องกำไรขาดทุนและตลาด อีกทั้งธุรกิจโรงพยาบาลยังต่างกับธุรกิจอื่น เพราะเมื่อผู้ป่วยเดินเข้ารับบริการรักษาโรค ไม่ใช่ว่าคนไข้จะเป็นผู้สั่ง แต่ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ต้องรักษาตามความเหมาะสมกับภาวะโรค
ปัญหาคือเมื่อมีการแทรกแซงควบคุมราคาค่ารักษา จะส่งผลให้ รพ.เอกชน ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาตามมาเพื่อไม่ให้เกินราคาที่กำหนด ส่วนแพทย์เองก็อาจไม่สั่งตรวจวินิจฉัยภาวะอาการที่สงสัยเพิ่มเติมเพื่อควบคุมค่ารักษา
“อย่างกรณีคนไข้ปวดท้อง ในหลักการแพทย์ต้องแยกอาการปวดที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหารและโรคนิ่ว และหากผู้ป่วยปวดท้องขวาบนต้องทำอัลตร้าซาวด์ แต่ต้องบวกค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3,500 บาท แต่เมื่อควบคุมค่ารักษาไม่ให้สูงเกินไป ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับบริการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาโรคตรงนี้ ซึ่งจะกระทบต่อผู้ป่วยเอง จึงควรปล่อยให้การรักษาเป็นไปตามหลักวิชาการแพทย์โดยเสรี” นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ หากจะดูว่าค่ารักษาแพงไปหรือไม่ ควรเปรียบเทียบกับ รพ.ภาครัฐที่ออกนอกระบบและบริหารแบบเอกชน เช่น รพ.บ้านแพ้ว และ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ว่าราคาบริการต่างกันหรือไม่ ส่วนการกำหนดราคากลางค่ารักษามีได้ แต่ไม่ควรบังคับหรือควบคุม แต่ควรปล่อยให้เป็นทางเลือกของประชาชน บางคนเลือกที่จะจ่ายเพื่อแลกกับความสะดวก นัดพบแพทย์ได้เลยและไม่ต้องรอคอย ดังนั้นแทนที่รัฐจะทำเรื่องนี้ ควรหันเพิ่มประสิทธิภาพในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า
ในฝั่งของผู้บริหารรพ.เอกชน อย่าง ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รพ.วิภาวดี จำกัด (มหาชน) ก็ให้ความเห็นว่า ประชาชนและหน่วยงานหลายแห่งยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจของโรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ค่าเครื่องมือแพทย์ ค่าบำรุงรักษา และค่าบุคลากรค่อนข้างสูง ซึ่งกำไรส่วนใหญ่จะมาจากค่ายา ค่าห้อง และค่าแล็บ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก และโรงพยาบาลพยายามควบคุมกำไรในส่วนนี้ให้ไม่เกิน 10%
ขณะที่ นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิภาราม กล่าวว่า เรื่องการแจ้งอัตราค่าบริการนั้นเป็นกฎหมายที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว อย่างการตั้งจุดสอบถามค่าบริการจัดทำแล้วเช่นกัน ส่วนจะให้แจ้งค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากค่ายาต่างๆ นั้น อาจแจ้งอัตราได้ไม่ละเอียดมากนัก เพราะผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน และต้นทุนแต่ละแห่งก็จะต่างกันอีก
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์
ปิดท้ายที่ความเห็นของ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า รพ.เอกชนมีหลายระดับทำให้ค่ารักษาและค่ายาแตกต่างกัน ที่สำคัญจะเอาไปเปรียบเทียบกับ รพ.รัฐไม่ได้ เพราะเอกชนลงทุนเองทั้งหมด ส่วน รพ.รัฐ เงินเดือนบุคลากร 60% ก็เอามาจากภาษีประชาชน นอกจากนี้ ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลของ รพ.เอกชนในประเทศไทยยังถูกกว่าสิงคโปร์ถึง 25-35% และอย่าลืมว่า รพ.เอกชนเป็นเพียงทางเลือกที่ประชาชนตัดสินใจเองว่าจะไปรับบริการหรือไม่
ส่วนกรณีที่จะตั้งราคายาโดยให้บวกกำไรเพิ่มได้ไม่เกินเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดนั้น นพ.เฉลิมมองว่าโรงพยาบาลมีการประกอบโรคศิลปะ ไม่ใช่ร้านขายยา การจ่ายยามีความเสี่ยง ดังนั้นต้องมีมาตรการกำกับควบคุมเฝ้าระวังการแพ้ยาอย่างเข้มงวด ตรงนี้ถือเป็นต้นทุนที่มีผลต่อราคายาทั้งสิ้นไม่ใช่แค่เอาราคากลางมาขีดเส้นกำหนด
ขณะเดียวกัน ในส่วนของโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็ต้องออกระเบียบวิธีปฏิบัติให้ชัดเจนว่าฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตหมายถึงอะไร เพราะหมอกับผู้ป่วยเข้าใจไม่ตรงกัน ที่สำคัญต้องพัฒนาระบบรองรับการส่งตัวผู้ป่วยกลับไปรักษาตามสิทธิด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาจะมีปัญหาเรื่องเตียงเต็มตลอด
ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา “เราไม่ได้ขอให้ รพ.เอกชนลดราคา คิดแพงได้แต่ห้ามโกง ห้ามโก่งราคา ห้ามค้ากำไรเกินควร แค่ขอให้ทำธุรกิจตรงไปตรงมา โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อสังคม การท้าทายประชาชนว่าถ้าแพงก็อย่าเข้า มันไม่ใช่ทางออกที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้"
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ “เปรียบเทียบกับ รพ.รัฐไม่ได้ เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ส่วน รพ.รัฐ เงินเดือน 60% ก็เอามาจากภาษีประชาชน ปัจจุบันค่ารักษา รพ.เอกชนในไทยยังถูกกว่าสิงคโปร์ถึง 25-35% และอย่าลืมว่า รพ.เอกชนเป็นเพียงทางเลือกที่ประชาชนตัดสินใจเองว่าจะไปหรือไม่่"
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา “30 บาท หรือ 0 บาทนี่ ทุกคนมีสิทธิหมด จะเสียสละไหม ไม่ใช้ได้ไหม เพื่อจะเอาเงินตรงนี้ตัดยอดออกไป แล้วไปให้กับคนจนจริงๆ ที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษี...ถ้าท่านเสียสละแบบนี้ ผมว่าเป็นกุศลนะ ผมเองก็พร้อมจะสละนะ”
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล "ยังมีความคิดตื้นเขินอย่างที่สุด ไม่เข้าใจหลักการการประกันสิทธิพื้นฐานสุขภาพให้กับประชาชน มองเห็นคนไม่เท่ากัน ต้องการลดทอนสวัสดิการพื้นฐานของประชาชนให้เหลือเพียงการสังคมสงเคราะห์อนาถาเท่านั้น"
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน “มาตรการดังกล่าว คำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเป็นหลัก ประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับอันตรายหากรถพยาบาลวิ่งช้า เนื่องจากอุปกรณ์กู้ชีพภายในรถพยาบาลมีเพียงพอ สามารถดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยได้เต็มที่”
นพ.อัจฉริยะ แพงมา “ควรพิจารณา response time เป็นสำคัญ และการใช้ความเร็วรถ ก็ต้องพิจารณาตามระดับความหนักเบาของอาการ ไม่ใช่กำหนดไว้ที่ 80 กม./ชม. ทั้งหมด ทำให้ response time ที่จะไปถึงตัวผู้ป่วยก็ช้าตามไปด้วย”
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ “เรียกร้องนายกฯ พิจารณาว่าควรให้ นพ.รัชตะ-นพ.สมศักดิ์ ทำงานต่อหรือไม่ เพราะเมื่อมาเป็น รมต.แล้วไม่ช่วยผลักดันงานต่างๆ ก็ไม่มีความหมาย รมต.ทั้ง 2 คน ตั้งแต่เข้ามาไม่เคยทำประโยชน์เลย มีแต่เข้ามาล้วงลูกเล่นการเมืองตลอด”
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน “สาเหตุที่โยกย้ายนั้น เพราะไม่สนองนโยบาย ทำให้มีปัญหาในการขับเคลื่อน ก่อนหน้านี้ก็เคยเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังมีปัญหาเกิดขึ้นอีก หลังจากนี้ก็อยากให้ยุติการเคลื่อนไหว ให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันไปข้างหน้า รัฐบาลมีเวลาจำกัด”
นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ “ในบางครั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากความพยายามภายใต้สถานการณ์บีบคั้นและเต็มไปด้วยข้อจำกัด แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้กลับตีตราไปก่อนว่าเป็นผู้ผิดไม่ว่าจะจงใจหรือประมาท นี่จึงเป็นเหตุสำคัญที่แพทย์พยาบาลในสนามจริงจึงคัดค้านอย่างถึงที่สุด”
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย “พ.ร.บ.นี้ ช่วยแพทย์ทุกมาตรา สร้างความสมานฉันท์ด้วย อยากให้ผู้คัดค้าน ไตร่ตรอง ใช้เหตุและผล คำนึงประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก เมื่อแพทย์รู้ว่าผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากการรักษา จะไม่ดีกว่าหรือที่แพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับการเยียวยาเป็นธรรม"
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ “เมื่ออำนาจพิเศษเกิดขึ้น สาธารณสุขมีแนวโน้มดีขึ้นทุกครั้ง เพราะมีแนวคิดปฏิรูป กระจายอำนาจ กระจายการบริการ และสร้างความเสมอภาค มุ่งสู่ชนบท ซึ่งในภาวะปกติมีแรงต้าน แต่พอมีอำนาจพิเศษการออกกฎหมายให้ทิศทางรัฐไปชนบทเพื่อคนส่วนใหญ่ทำได้ง่าย"
นพ.กิตติภูมิ จุฑาสมิต “รัฐประหารไม่ส่งผลดีต่อสาธารณสุข เราไม่ต้องลงทุนทำรัฐประหารเพื่อให้เกิดนโยบายดีๆ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่นพ.สงวนเสนอ ก็ได้รับการตอบรับช่วงเลือกตั้งปี 44 จากไทยรักไทย แม้แต่การคุมยาสูบก็ถูกผลักดันช่วงรัฐบาลชวนที่มาจากการเลือกตั้ง"
ประชาคมสธ. "เน้นการทำงานระบบเขตสุขภาพ กระจายงาน มอบอำนาจในเขตบริหารจัดการร่วม ปรับระบบการเงินการคลังให้สอดคล้อง อ้างเหตุสปสช.ส่งงบไม่เต็มทำรพ.ขาดสภาพคล่อง แถมตัดงบให้กองทุนย่อยถึง 50 % จี้เพิ่มธรรมาภิบาล แต่งตั้งโยกย้ายต้องไม่ถูกแทรกแซงจากการเมือง"
ชมรมแพทย์ชนบท "ยกเลิกเขตสุขภาพ เสนอ GIS เพิ่มศักยภาพรพช.ให้มีแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคยากระดับต้น ลดการส่งต่อรพ.จังหวัด หลังถูกใช้เป็นข้ออ้าง สถานที่แออัด แล้วต้องขยายสถานที่ให้ใหญ่ขึ้น ชี้เขตสุขภาพแอบแฝงรวบอำนาจ ดึงทรัพยากรกระจกส่วนกลาง"
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา “เราไม่ได้ไปครอบใคร เพราะมันไม่มีโครงสร้าง ไม่มีการตั้งหน่วยใดที่จะมาใช้อำนาจตรงนี้ ถ้าจะมีการบอกให้ทำอะไรคือการมาคิดร่วมกัน โดยเอาปัญหา ความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง ดังนั้นไม่มีคนอื่นเข้ามาชี้นิ้ว”
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ “การที่ คสช.ให้สช.รับผิดชอบตรงนี้ก็เหมือนทำแท้งเขตบริการสุขภาพสธ.อยู่แล้ว แต่ก็ยังดื้อทำออกมาในรูปแบบนี้อีก สธ.ต้องยอมเปลี่ยนชื่อ เพราะ คสช.ทุบโต๊ะ วันนี้เขตสุขภาพของสธ.ยังมีหลักการเหมือนเดิมทุกอย่างซึ่งแพทย์ชนบทไม่ยอมรับ"
ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา “ระหว่างนี้อยากบอกว่าฉุกเฉินอย่าเข้ารพ.เอกชน จนกว่ารัฐบาลหรือสปสช.จะประกาศออกมาว่าได้รับความร่วมมือจากรพ.เอกชนทุกแห่งแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นคุณมีสิทธิหมดตัว และเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต อาจจะหายจากโรคแต่ช็อคเพราะค่ารักษาพยาบาล”
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ “โดยเจตนารมณ์ของนโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีปัญหาเชิงปฏิบัติ มันต้องการมาตรการที่มากกว่า 1 ถึงจะทำได้ สปสช.ไม่มีอำนาจไปบังคับรพ.เอกชน ที่พยายามแก้คือให้กองประกอบโรคศิลป์ออกประกาศแนบท้ายไปบังคับไม่ให้เรียกเก็บเงิน”
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา “หลักเกณฑ์จัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพลงพื้นที่ ควรจัดสรรตามจำนวนรายหัวประชากรในแต่ละเขตบริการสุขภาพ เพื่อให้มีความเชื่อมโยงกัน ไม่ควรแยกเป็นส่วนๆ เหมือนที่ผ่านมา”
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข “สปสช.แยกงบกองทุนย่อยเพื่อที่จะกระจายความเสี่ยงไว้ที่ระดับประเทศไม่ให้หน่วยบริการที่มีผู้ป่วยกลุ่มโรคค่าใช้จ่ายสูงจำนวนมากต้องล่มจม เรียกว่าเป็นการปกป้องความเสี่ยง”
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ "ชาวบ้านก็ใช้สิทธิไม่บันยะบันยัง เพราะไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่จำกัดจำนวนเงิน เงินที่จะให้ควรช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีเงินจริงๆ ฟรี อันนั้นเราโอเค แต่คนที่ใส่สร้อยทองเส้น 5 บาท ถือบัตรทองควรร่วมจ่าย เสนอมา 10 ปี แต่ไม่มีใครกล้า"
นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ "คำถามที่สำคัญคือทำไปทำไม เพราะหลักการสำคัญคือการร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ได้ทำระบบให้เฉพาะคนจน เราทำระบบให้ทุกคน ประเด็นเลยไม่มีความจำเป็นต้องแยกว่าใครรวย ใครจน"
นายชัยณรงค์ สังข์จ่าง "แม้ว่า สปสช.จะระบุว่าไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ สปสช.เป็นหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากการบันทึกดังกล่าวโดยตรงเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้ สธ.กำหนด จึงเป็นที่มาของการบันทึกข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายเงิน”
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ "ข้อมูลที่สปสช.ให้รพ.สต.บันทึกมีเพียงเรื่องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เท่านั้น และเฉพาะใน รพ.สต.ที่มีแพทย์ออกหน่วยบริการ 985 แห่งจาก 9,794 แห่ง เรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยปรับปรุงพัฒนา ออกแบบเพื่อส่งกลับไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้มากที่สุด"
พญ.ประชุมพร บูรณเจริญ “เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขระเบียบตรงนี้ แต่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามคุณสมบัติอย่างเข้มข้น มีคุณภาพ ไม่ใช้เส้นสายเข้ามา มีการเรียนหลักสูตรการเป็นผอ.รพ. ถ้าไม่จบหลักสูตรก็ไม่ควรมาเป็น เรื่องนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร"
ดร.กฤษดา แสวงดี “ยิ่งขาดแคลนแพทย์มากเท่าใด พยาบาลก็ยิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น ทำงานแทนแพทย์ได้ แต่ก้าวหน้าไม่ได้ ระบบความก้าวหน้าไม่ได้เป็นไปตามความรู้ความสามารถ พยาบาล จบปริญญา โท เอก เพิ่มขึ้น ก็ยังคงเป็นระดับชำนาญการ"
ทัศนีย์ บัวคำ "ทุกคนต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงานอยู่แล้ว แต่มั่นใจแล้วหรือว่าทุกคนจะมีความสุขเหมือนกัน จะมีความเท่าเทียม เสมอภาคกันหรือไม่ ปลัดต้องตอบให้ได้ วันนี้เรายังไม่เห็นพิมพ์เขียว ไม่เห็น road map อะไรเลย เห็นแค่คำเดียวว่าจะออกจาก ก.พ."
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา "เกิดความคล่องตัวในการจัดบริการให้ประชาชน นี่คือประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ การวางกำลังคนได้อย่างเหมาะสม ความก้าวหน้าของคนทำงานก็สอดคล้องกับภาระงาน มีกลไกตรวจสอบ ถ้าไม่ถูกก็มีการปรับปรุงได้ เพราะมีกฎหมายเฉพาะ"
นพ.วิชัย โชควิวัฒน “รพ.ตอนนี้มีสภาพเหมือนตลาดสด เตียงล้น คนไข้ต้องมานอนที่ระเบียง ล้นมาทางเชื่อม หน้าบันได นี่คือปัญหา ถ้าปล่อยอย่างนี้เรื่อยๆ ต่อให้พัฒนาระบบมากเพียงใดก็มีข้อจำกัด เพราะสถานที่จำกัด คนจำกัด งบประมาณจำกัด แต่ความต้องการเพิ่มขึ้น"
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล “เราต้องดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อย คนที่มีรายได้เยอะ มีกำลังก็ไปอยู่ในระบบประกันชีวิต หรือโรงพยาบาลเอกชนอยู่แล้ว เรามี 2 ระบบอยู่แล้วจะออกไปทำให้ปนๆ กันทำไม”
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา “บทบาทที่สสจ.เป็นผอ.สปสช.สาขาจังหวัด คิดว่าจะต้องเข้าใจการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการ ที่เรามองการแยกบทบาทตรงนี้คือที่ระดับเขต แต่การทำงานในระดับพื้นที่นั้นเป็นการบริหารจัดการหน่วยบริการทั้งในส่วน คน เงิน ของ”
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ “ข้อเสนอของสธ.เป็นข้อเสนอที่ผิดพลาด แทนที่ตัวเองจะได้เปรียบ สปสช.กลับได้เปรียบ เพราะสามารถทำข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรไหนก็ได้ให้มาเป็นผอ.สปสช.จังหวัด... แทนที่สธ.จะสามารถคุมทุกอย่างได้ อาจจะต้องสูญเสียไปหมด”
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ “เมื่อสตง.ทักท้วง เรามีข้อสรุปว่าจะขอให้สปสช.ปรับอะไรบางอย่าง นี่เป็นภาพของปี 57 ในครึ่งปีหลัง...ข้อเสนอเรื่องของเขตสุขภาพซึ่งน่าจะเป็นคำตอบการปฏิรูประบบสุขภาพได้ มาปฏิรูปกลไกการเงินการคลังให้สอดคล้องกับเขตสุขภาพ”
นพ.วินัย สวัสดิวร “การออกและสร้างกติกาการจ่ายเงิน approve โดยคณะกรรมการ ไม่ได้ทำโดยสปสช. เรามีหน้าที่รับฟังความเห็น ข้อเสนอแล้วเอามาบอกคณะกรรมการ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงกติกาการจ่ายเงินก็เป็นเรื่องที่ต้องเสนอกรรมการ”
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ “การปรับความเห็นไม่ยากถ้าเราร่วมกันทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ...แต่เขาไม่เคยฟัง มีแต่เสนอไปข้างหน้า ไม่เคยฟังฟีดแบ็คจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหลาย ที่สำคัญคือหมอย้ำว่าไม่ได้บอกว่ายุบตระกูล ส. แต่ควรมีการทบทวนการทำงานของบาง ส.”
นพ.วิชัย โชควิวัฒน “ไม่ต้องปรับ มันแล้วแต่จุดยืน ไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ การจะยุบอะไรก็ต้องเป็นเรื่อง พ.ร.บ. ต้องเข้าสภา ไม่ต้องคุยกันแล้ว เพราะวิธีการมันถอยหลังเข้าคลอง"
ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ข้าราชการต้องเข้าใจว่าประชาชนตื่นตัวในสิทธิมากขึ้น การไปประท้วงถอดป้ายที่รพ. สะท้อนว่าในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี รพ.เป็นของรัฐ เขาก็เป็นเจ้าของรพ.ด้วย เขาไม่ได้มองว่าหมอ เป็นเจ้าของ ดังนั้นก็มีสิทธิเรียกร้องให้ดูแลประชาชนเป็นกลาง
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ เป็นเรื่องใหม่ของสังคมที่ประชาชนลุกขึ้นแสดงจุดยืนมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ว่าเครือข่ายฯตัดสินใจและไปขอผู้มีอำนาจบริหารสถานที่ เขาก็ติดไป ผู้ไม่เห็นด้วยก็เอาลงมาคนที่ยังมีจุดยืนก็เอาขึ้นใหม่เป็นเรื่องปกติของสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน
นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ "ข้อเสนอวิชาการเพื่อลดค่าใช้จ่ายสุขภาพของกรมบัญชีกลางจะเน้นเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายแต่ไม่ลิดรอนสิทธิ ข้าราชการต้องได้รับสิทธิรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อะไรที่ไม่สมควร หรือไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพก็จะไปปรับลดตรงนั้น"
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข “ข้าราชการควรจะมีสิทธิที่สูงกว่าสปสช. เพราะเขาตั้งใจมารับราชการเพื่อที่จะได้รับสิทธินี้ แต่กลายเป็นว่าสิทธิเขาไม่ได้เต็มที่ตามที่ควรจะได้ แต่ก็แล้วแต่มุมมอง อย่างหมอเมื่อคุยกับคนไข้นั้นอยากจะได้รับสิ่งที่ได้ประโยชน์มากที่สุด”
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี การปฏิรูประบบรักษาพยาบาล โครงการ 30 บาท เริ่มจากการปฏิรูปงบประมาณการเงินการคลังก่อน ด้วยการจ่ายงบเหมาจ่ายรายหัวที่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบปฐมภูมิ การปฏิรูปการส่งต่อผู้ป่วย
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นำปฏิรูปประเทศไปเปรียบเทียบกับปฏิรูประบบสุขภาพที่ต้องใช้เวลายาวนานไม่ได้ เพราะปฏิรูปภายใต้ข้อจำกัด ต่างจากครั้งนี้ หากได้มาซึ่งอำนาจรัฐ มีรัฐบาล สภานิติบัญญัติที่พูดคุยได้ จะเอื้อต่อการปฏิรูป และสามารถเดินหน้าได้เร็ว
นพ.ภีศเดช สัมมานันท์ “เราต้องดำรงความเป็นกลางไว้ ถ้าจะแสดงออกก็ต้องแสดงออกในลักษณะส่วนตัว เป็นลักษณะที่ทำได้ คือจะมี 2 อย่าง ไม่อยากให้แสดงออกในรูปแบบขององค์กร และไม่อยากให้แสดงออกไปในทางที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ”
นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโนทัย “เนื่องจากมีความสูญเสีย คณบดีก็เห็นว่าต้องแสดงอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเป็นกลางขึ้นมา กลุ่มที่จะเป็นกลางเป็นกลุ่มที่ประเทศต้องการ ระยะเวลาไม่สามารถถึงขั้นหารือได้ทุกคน เนื่องจากเร่งด่วน แต่ตรงนี้ออกมาในนามของคณบดี"
แม้มีพรฏ.ยุบสภาไปแล้ว แต่การประท้วงยังยืดเยื้อไม่จบสิ้น เกิดความเห็นต่างทางการเมืองที่ต่างกันสุดขั้ว คือขั้วที่สนับสนุนให้เลือกตั้งตามกำหนด 2 ก.พ. 57 กับอีกขั้วที่สนับสนุนให้ปฏิรูปประเทศ ขณะที่แวดวงสาธารณสุขต่างรวมพลออกแถลงการณ์สถานการณ์การเมือง
ไม่ว่าจะเป็นชมรมแพทย์ชนบทที่ออกหน้าเต็มตัว หนุนเสริมกปปส.เต็มที่ ยังมีกลุ่มประชาคมสาธารณสุขที่หนุนปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง และกลุ่มผู้บริหารกรมสาธารณสุขที่มีแถลงการณ์เดินหน้าเลือกตั้ง เช่นเดียวกับความเห็นของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข
ในรอบปี 2556 แวดวงสาธารณสุขมีเรื่องร้อนๆ ให้ต้องติดตามกันแทบวันต่อวัน คู่ความคิดเห็นไม่ตรงกันหลักๆมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพใหญ่ ปะทะกับเจ้าประจำอย่างกลุ่มแพทย์ชนบท ขณะที่แพทย์ชนบทเองก็มีเหตุพัวพัน ความคิดเห็นไม่สอดคล้องกับกลุ่มวิชาชีพอื่นๆเช่นกัน
รวมถึงฝ่ายนโยบายอย่างกระทรวงสาธารณสุขที่ออกนโยบายหลายเรื่องที่สร้างความขัดแย้งไม่เห็นด้วยต่อมาอีกเนืองๆ สำนักข่าว Hfocus : เจาะลึกระบบสุขภาพ จึงขอรวบรวมประเด็นความขัดแย้งและความคืบหน้าในรอบปี 2556 ตอนที่ 2 (จบ) มานำเสนอดังนี้
- 31 views